Digital Video Measurements (unit 6)
คาบจังหวะเวลาของแอนะลอกวิดีโอ
มีการกำหนดมาตรฐานรูปแบบแอนะลอกวิดีโอที่ใช้สัญญาณแบบคอมโพสิตวิดีโอในโทรทัศน์ระบบ
PAL
, NTSC , SECAM อันมีความแตกต่างกันบ้างในเรื่องของการกำหนดข้อมูลการส่องสว่างและข้อมูลความแตกต่างของสีแต่ในส่วนใหญ่แล้วล้วนมีความคล้ายกัน สัญญาณวิดีโอในห้องผลิตรายการเป็นข้อมูลข่าวสารที่ต่อเนื่องอันอาจถูกนำไปใช้งานตามที่มันปรากฏขึ้นในแต่ละชั่วขณะ อันอาจเกิดความล่าช้าไปบ้างเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับแหล่งกำเนิดสัญญาณภาพอื่นๆ
หรือว่าในกรณีที่ทำการบันทึกไว้เพื่อสำหรับนำมาเล่นกลับในภายหลัง ในขณะที่สัญญาณวิดีโอเป็นภาพความเคลื่อนไหวมันจะเคลื่อนไหวไปตามเวลาที่เป็นจริงและมันจำเป็นต้องนำเอาข้อมูลข่าวสารทั้งหมดเท่าที่จำเป็นเพื่อสร้างสรรค์ภาพให้ปรากฏขึ้นมาที่ปลายทาง สัญญาณวิดีโอนั้นจำเป็นต้องบรรจุข้อมูลที่เป็นภาพและข้อมูลจังหวะเวลาที่มีคุณสมบัติถูกต้องและสมบูรณ์เพื่อที่ว่าสามารถนำไปผลิตภาพที่ถูกต้องออกมาได้ ข้อมูลของจังหวะเวลาประกอบด้วยรูปแบบของความสม่ำเสมอที่ปรากฏขึ้นของซิงก์พัลส์ทางแนวนอน
(Horizontal Sync Pulse) หรือเป็นคำสั่งข้อมูลสำรองที่ระบุบ่งชี้การเกิดภาพของวิดีโอแต่ละเส้น
การขัดจังหวะโดยมีความถี่น้อยกว่าคือการปรากฏขึ้นของข้อมูลข่าวสารที่เป็นซิงก์ทางแนวตั้ง
(Vertical Sync Pulse) และนั่นคือคำสั่งให้มีการแสดงผลเริ่มต้นของให้ทำการเขียนภาพที่ด้านบนของจอภาพอีกครั้งหนึ่ง
ในรูปแบบของคอมโพสิตวิดีโอแล้วการสังเกตข้อมูลที่เป็นฐานเวลาและตัวข้อมูลวิดีโอทำได้โดยง่าย
ตัวอุปกรณ์ เวฟฟอร์มมอนิเตอร์ (Waveform Monitor) มีส่วนประกอบที่ทำหน้าที่กำหนดการกวาดให้เป็นไปตามค่าที่ถูกปรับตั้งเอาไว้แล้วเพื่อแสดงผลของเส้นวิดีโอทางแนวนอนและช่วงจังหวะของคาบเวลาการแบล้งค์กิ้งแนวนอน
(Horizontal Blanking)
การตรวจสอบช่วงเวลาของกวาดภาพทางแนวตั้งหรือแค่เพียงช่วงเวลาเฉพาะเส้นของการแบล้งกิ้งแนวตั้ง
(Vertical Blanking) มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องคิดคำนึงถึงการแสดงผลสัญญาณวิดีโอในรูปแบบเหล่านี้ ความแตกต่างที่บังเกิดขึ้นเมื่อสัญญาณถูกแสดงให้เห็นและสำหรับว่าการกวาดภาพแต่ละเส้นใช้เวลาเท่าไรในแต่ละครั้ง
ตามความหมายของคำจำกัดความในปัจจุบันนี้มีอยู่ว่า
วิดีโอแบบคอมโพสิตแอนะลอกคือการการนำเอาข้อมูลของการสอดประสานและข้อมูลวิดีโอที่เป็นการส่องสว่างมารวมกันตามการแบ่งช่วงของเวลา
(time-division multiplex) ในขณะที่ข้อมูลอันเป็นค่าความแตกต่างของสีทั้งสองเป็นการผสมตามการแบ่งช่วงความถี่
(frequency-division multiplex)
ภาพที่
18. ช่วงของการแบล้งกิ้งทางแนวนอนในระบบ NTSC
ภาพที่
19. ช่วงเวลาการแบล้งกิ้งแนวนอนในระบบ PAL
คาบจังหวะเวลาทางแนวนอน
จากภาพที่
18. และ ภาพที่ 19.
แสดงความคล้ายคลึงกันของรูปแบบการสะแกนที่ได้รับการพัฒนาด้วยข้อจำกัดของกล้องวิดีโอและจอแสดงภาพจากในอดีต แสดงให้เห็นถึงคาบเวลาของการแบล้งกิ้งที่ปรากฏเพียงครั้งเดียวของข้อมูลวิดีโอและสามารถทำการปรับแต่งเพื่อให้เกิดเป็นช่วงเวลาของแบล้งกิ้งทางแนวตั้งด้วย
จากขอบด้านหน้าของรูปคลื่นนี้เป็นตัวกำหนดเวลาสำหรับจุดสิ้นสุดของวิดีโอในแต่ละเส้นเท่ากับว่าเป็นการสิ้นสุดการปล่อยลำแสงไปยังจอภาพด้วยเช่นกัน ที่จุดระดับ 50 เปอร์เซ็นต์ของขอบขาลงของรูปคลื่นเป็นฐานเวลาอ้างอิงของระบบที่สามารถกระตุ้นการเริ่มต้นกวาดภาพเส้นต่อไปของลำแสงบนจอภาพ จากยอดของปลายซิงก์จนกระทั่งหมดช่วงของการแบล้งค์กิ้งเป็นการรับประกันได้ว่าสัญญาณวิดีโอจะยังไม่เริ่มต้นการเปล่งแสงของจอภาพในจังหวะที่ลำแสงอยู่ในช่วงของการสะบัดกลับไปยังจุดเริ่มต้นใหม่
ที่จุดอ้างอิงของระดับของสีขาวและระดับของสีดำเป็นการกำหนดเพื่อเป็นการรับประกันว่าในทุกรายการอันที่ปรากฏบนจอภาพจะมีความสว่างสูงสุดและต่ำสุดเท่าเทียมกันสำหรับกำหนดเป็นค่าของความแตกต่างระดับแสง โดยที่ผู้ชมไม่จำเป็นต้องทำการปรับแต่ง รูปคลื่นช่วงสั้นๆเป็นคลื่นตัวพาหนะย่อยของข้อมูลสีเพื่อทำหน้าที่เป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับเครื่องรับนำไปผลิตสร้างความถี่เพื่อใช้ถอดระหัสเอาข้อมูลความแตกต่างของสีออกมา
ถึงแม้ว่าตัวของคลื่นย่อยนี้จะมีเพียงรูปคลื่นตัวอย่างเพียงแค่จำนวน 8-10
ลูกของความถี่ตัวอย่างอันคงที่ก็ตาม
เครื่องเวฟฟอร์มมอนิเตอร์จะทำการตรวจจับช่วงเวลาของซิงก์พัลส์แนวนอนเพื่อใช้อ้างอิงในขณะที่ส่วนประกอบทั้งหมดของช่วงคาบเวลาทางแนวนอนก็จะปรากฏขึ้นบนจอของเวฟฟอร์มมอนิเตอร์ดังภาพที่
18. และภาพที่ 19.
ภาพที่
20. ช่วงเวลาของเส้นในแบบความคมชัดสูง
ภาพที่
21. แผนผังการจัดตำแหน่งกรอบของวิดีโอ
แต่ละเส้นของวิดีโอแบบแอนะลอกนั้นเริ่มต้นที่ตำแหน่งจุดระดับ
50 เปอร์เซ็นต์ขอบขาลงของซิงก์พัลส์และมีจุดสิ้นสุดอยู่ที่ตำแหน่งเดียวกันของเส้นวิดีโอถัดไป
ในระบบของวิดีโอความคมชัดสูงแบบแอนะลอกอาจใช้วิธีการแบบของซิงก์ที่มีสามระดับ
(tri-level sync pulse) ที่เริ่มต้นจากการให้มีค่าลดต่ำลงก่อนแล้วต่อมาให้มีระดับสูงกว่าค่าของการแบล้งกิ้ง
ส่วนเรื่องของจังหวะเวลาอ้างอิงนั้นกำหนดให้จุดกึ่งกลางช่วงการเปลี่ยนแปลงขาขึ้นตามภาพที่
20.
จากแผนผังความเชื่อมโยงของสัญญาณจังหวะเวลาไปยังสัญญาณวิดีโอดังแสดงในภาพที่
21. สำหรับรูปแบบของการสะแกนแบบก้าวหน้า (progressive) เป็นการสะแกนภาพจากบนลงล่างให้มีความสมบูรณ์ทุกเส้นในหนึ่งเฟรม แต่ถ้าเป็นรูปแบบของการสะแกนแบบแทรกสอด
(interlaced) แล้วเป็นการสะแกนจากบนลงล่างจำนวนสองฟิลด์ที่เป็นเส้นคี่ก่อนแล้วจึงทำการสะแกนเส้นคู่เมื่อรวมกันจากทั้งสองฟิลด์จึงเป็นการสร้างภาพที่สมบูรณ์จำนวนหนึ่งเฟรม
ตารางที่
5. จังหวะเวลาในการสุ่มค่าตัวอย่าง
คาบจังหวะเวลาทางแนวตั้ง
ข้อมูลของคาบจังหวะเวลาทางแนวตั้งเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปทรงแบบสม่ำเสมอในช่วงที่จังหวะเวลาของการกวาดภาพทางแนวนอนครบเสร็จแล้วและเพิ่มด้วยรูปคลื่นชดเชย ชุดขบวนของรูปคลื่นทางแนวตั้งตามภาพที่ 22.
และภาพที่ 23. คือช่วงเวลาของของเส้นวิดีโอตั้งแต่จำนวน 20 เส้นถึง 25 เส้น ที่แสดงให้เห็นตรงกลางจอภาพของเครื่อง Waveform
Monitor ชนิดแสดงผลแบบจำนวนสองฟิลด์ ช่วงจังหวะเวลาอันยาวนานของ Vertica
Blanking เมื่อเทียบกับจังหวะเวลาทางแนวนอนก็เพื่อรองรับต่อการเริ่มต้นทำการกวาดลำแสงของลำอิเล็กตรอนที่ด้านบนของจอภาพ
จากภาพทั้งสองแสดงถึงความแตกต่างของรูปแบบระบบทั้งสองนี้ การตัดสินเลือกเอาความถี่นี้ก็เพื่อลดการปรากฏขึ้นของข้อมูลที่เป็นคลื่นพาห์รอง
(Sub Carrier) ซึ่งกำลังทำงานแบบไม่ปรากฏตัวให้เห็นซ่อนอยู่กับความถี่ของวิดีโอ
มันต้องใช้เวลาเป็นจำนวนแปดฟิลด์สำหรับให้ทุกสิ่งกลับมาจุดอันเป็นเฟสเดิมสำหรับในระบบของโทรทัศน์
PAL และถ้าเป็นระบบ NTSC จะใช้เวลาจำนวนสี่ฟิลด์
ภาพที่
22. ช่วงเวลาของแบล้งค์กิ้งแนวตั้งของระบบ NTSC
ภาพที่
23. ช่วงเวลาแบล้งค์กิ้งแนวตั้งของระบบ PAL
จากภาพที่ 22. แสดงให้เห็นการเปลี่ยนฟิลด์จำนวนสี่ครั้งเฟสของ Sub
Carrierในระบบขอ NTSC. ถึงจะกลับมาที่ตรงตำแหน่งเดิมอีกครั้งหนึ่งแต่ในกรณีของระบบ
PAL. ตามภาพที่ 23. เฟสของ Sub Carrier จะกลับมาตำแหน่งเดิมต่อเมื่อมีการเปลี่ยนฟิลด์ครั้งที่แปดเนื่องจากมีค่า
offset กันอยู่ 25 Hz.
ความสัมพันธ์ของคาบจังหวะแนวตั้งของทั้งสองระบบนี้เป็นตัวบ่งชี้ถึงฟิลด์ที่ถูกต้องและเฟสของ
Sub Carrier อันเป็นเรื่องความสำคัญมากเมื่อทำการนำเอาแหล่งจ่ายของสัญญาณวิดีโอไปใช้งานร่วมกันหรือในกรณีเมื่อมีการนำไปทำการตัดต่อหรือทำเทคนิคภาพพิเศษ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญอันเนื่องจากจากหมายถึงเป็นค่าของ
Sub carrier-to-Horizontal phase (SCH) สำหรับในกรณีของวิดีโอแบบ Component
แล้วสิ่งที่จำเป็นต้องกระทำเพียงแค่การเชื่อมต่อสายของสัญญาณวิดีโอทั้งสามเส้นในตำแหน่งที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดข้อมูลภาพสีขึ้นมาโดยไม่จำเป็นต้องนำเสนอด้วยวิธีการเอา
Sub Carrier ผสมไปด้วย
การเรียงจำนวนเส้นในระบบของ
NTSC. เริ่มต้นด้วยอันดับแรกสุดคือรูปคลื่นชดเชยทางแนวตั้งภายหลังจากเสร็จสิ้นของวิดีโอเส้นสุดท้ายและต่อเนื่องกันในแต่ละฟิลด์
(จำนวน 263 เส้นในฟิลด์ที่หนึ่งและฟิลด์ที่สาม จำนวน 262 เส้นในฟิลด์ที่สองและฟิลด์ที่สี่) ส่วนในระบบของ PAL. และชนิดรูปแบบความคมชัดสูงแบบแอนะลอกส่วนใหญ่แล้วเริ่มต้นด้วยรูปคลื่นแบบกว้างๆภายหลังจากวิดีโอเส้นสุดท้ายจำนวนครึ่งเส้นและการนับแบบต่อเนื่องจนกระทั่งเต็มเฟรม
(จำนวน 625 เส้น)
ในระบบความคมชัดสูงที่มีทั้งการสะแกนแบบก้าวหน้า (progressive scan)
และการสะแกนแบบแทรกสอด (interlaced scan) ดังแสดงในภาพที่
24. รูปคลื่นแบบกว้างๆจำนวนห้าเส้นค่อนข้างแตกต่างจากประเภทความคมชัดมาตรฐานเพราะว่าการใช้สัญญาณซิงก์พัลส์แบบสามระดับ
(tri-level sync pulse)
ภาพที่
24. ช่วงเวลาแบล้งค์กิ้งแนวตั้งของแอนะลอกวิดีโอแบบความคมชัดสูง
หมายเหตุ บทต่อไปเป็นเรื่องของ รูปแบบการสะแกนภาพระบบดิจิตอลในห้องผลิตรายการ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น