การจัดแสงไฟสำหรับการถ่ายวิดีโอ (Video Lighting Technique)


Lighting for Video

          บ่อยครั้งทีพบว่าความแตกต่างระหว่างการแสดงที่ดีและการแสดงที่น่าประทับใจเกิดจากการจัดแสงหรือองค์ประกอบของแสง  การจัดแสงที่ดีสามารถส่งผ่านความรู้สึกเป็นอันมากและส่งผลกระทบไปยังผู้ชมไม่ว่าจะเป็นฉากที่สำคัญหรือยิ่งใหญ่เพียงใดย่อมจำเป็นต้องใช้แสงทั้งนั้น
            การมีแสงสว่างที่เพียงพอย่อมทำให้กล้องสามารถบันทึกภาพที่มีคุณภาพดีไปด้วยและมีผลกระทบต่อการเพิ่มหรือลดความชัดลึกของภาพที่ปรากฎบนจออีกด้วย  แต่ทว่าอย่างไรก็ดีแสงย่อมมีผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้ชมเป็นอย่างมาก  ดวงตาของมนุษย์จะให้ความสำคัญกับส่วนที่สว่างมากที่สุดเสมอ  นี่ย่อมหมายความว่าผู้ชมสามารถตัดสินใจได้เองว่าภาพที่ปรากฎบนจอในบริเวณส่วนไหนหรือวัตถุใดเป็นสิ่งสำคัญที่สุด  การจัดแสงยังสามารถใช้ประโยชน์ในการทำให้ภาพในฉากนั้นๆเกิดมิติและยินยอมให้ผู้กำกับระบายสีสรรเข้าไปเพื่อสร้างสรรค์อารมณ์และช่วงเวลาได้อีกด้วย

ต่อไปนี้เป็นการทำความรู้จักกับอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับแสง
            Barn doors เป็นแผ่นโลหะสีดำจำนวนสี่แผ่นทีติดอยู่ที่ด้านหน้าของโคมไฟทำหน้าที่กำหนดทิศทางและควบคุมรูปแบบของแสง
            Diffusion material ใช้ติดตั้งเอาไว้ที่ด้านหน้าของโคมไฟเพื่อลดความเข้มของลำแสง
            Ellipsoidal เป็นแสงชนิดที่ปรับโฟกัสให้เกิดทิศทางและรวมกลุ่มเป็นจุดแคบ
            Floodlighting เป็นแสงประเภทที่สว่างกระจายเป็นวงกว้างแบบไร้ทิศทาง
            Fresnel เป็นแสงชนิดที่ให้แสงสว่างเฉพาะจุดแบบปรับโฟกัสและลำแสงได้ มีน้ำหนักเบา
            Gel แผ่นพลาสติกชนิดทนความร้อนมีหลายสีใช้ปรับแต่งให้เกิดสีสันตามต้องการ
            Grip clamps เป็นชิ้นส่วนที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้จับยึดโคมไฟเข้ากับสิ่งต่างๆ
            LED light panel เป็นหลอดไฟขนาดเล็กจำนวนหลายหลอดที่นำมาเรียงต่อกัน
            Scoop เป็นโคมไฟอย่างง่ายๆและมีราคาถูก ตามปกติไม่มีส่วนปรับแต่งใดๆ
            Soft light การให้แสงเป็นบริเวณกว้างแบบไม่ค่อยมีทิศทาง
            Spotlight การให้แสงแบบเฉพาะจุดและมีทิศทางเป็นอย่างมาก
            Three-point lighting เป็นเทคนิคการจัดแสงให้กับวัตถุขั้นพื้นฐานที่ประกอบด้วย  
          ไฟหลัก ไฟเสริม และไฟด้านหลัง (key,fill,back)
การจัดแสงในฉาก
          คนส่วนใหญ่มีความรู้สึกกังวลเรื่องการจัดแสง  เพราะพวกเขาเหล่านั้นเกรงว่าอาจกระทำในสิ่งที่ผิดๆแล้วอาจถูกการดูหมิ่นจากผู้อื่น  ในขณะที่คนบางส่วนอาจคิดว่าการจัดแสงเป็นเรื่องไม่จำเป็นโดยเฉพาะกับการทำงานกับทีมงานกลุ่มเล็กๆ  โดยคิดเอาเองว่าจำเป็นต้องใช้เครื่องมือและแรงงานเป็นจำนวนมาก  ซึ่งแน่นอนถ้าเป็นการทำงานที่เกี่ยวกับละครในห้องสตูดิโอขนาดใหญ่  แต่ทว่าอย่างไรก็ดีมันย่อมมีประโยชน์เป็นอันมากถ้าเราให้เวลากับการจัดแสงเพื่อให้ได้ภาพที่ดีออกมา
            ในหลายกรณีที่เพียงแค่เราเพิ่มแสงไฟสักดวงหรือวางแผ่นสะท้อนแสงที่ตำแหน่งอันถูกต้องแล้วก็สามารถทำให้ภาพนั้นมีชีวิตชีวาขึ้นมาได้  หรือแม้ว่าในการผลิตรายการที่มีรูปแบบใหญ่โตแค่ไหนก็ตามการคาดเดาและจินตนาการอย่างผิดๆก็อาจทำให้การจัดแสงทั้งหมดไม่บรรลุเป้าหมายได้เช่นกัน  ทั้งนี้มันเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างแท้จริงที่จะต้องทำความเข้าใจว่าอะไรคือเป้าหมาย  อะไรที่ต้องให้ความสำคัญและอะไรที่สามารถทำได้เพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น
            แล้วทำไมถึงไม่ถ่ายทำตามแสงที่มีอยู่จริงล่ะ  ใช่แล้วเราสามารถทำได้แน่นอนถ้าเป็นวันที่มีแสงในสภาพแวดล้อมเป็นใจให้  และก่อให้เกิดภาพที่แจ่มใสสวยงามน่าสนใจ  แต่มันก็ยังมีบางวันที่สภาพแสงไม่เอื้ออำนวยทำให้ภาพขาดชีวิตชีวาหรือภาพขาดความคมชัดสมจริงรวมทั้งรายละเอียดที่พึงมี
            ดังนั้นทั้งหมดนี้ย่อมขึ้นอยู่กับว่าสถานที่และช่วงเวลาของการถ่ายทำ รวมไปถึงว่าเป็นการถ่ายทำภายในหรือภายนอกอาคาร  กลางวันหรือกลางคืน  สภาพแวดล้อมมีแสงสว่างหรือเต็มไปด้วยเงาบดบังหรือไม่  การถ่ายทำใช้เวลานานเท่าใด  สุดท้ายทั้งหมดนี้ยังขึ้นอยู่กับว่าผู้กำกับต้องการนำเสนอบรรยากาศเช่นไรกับผู้ชมเช่น  ความสมจริงหรือฉากละครที่ให้อารมณ์ความรู้สึก
ในกรณีที่กล้องไม่สามารถชดเชยให้ได้
            สิ่งหนึ่งที่เป็นความสำคัญอย่างสูงสุดและควรระลึกอยู่เสมอในการจัดแสงก็คือความแตกต่างระหว่างดวงตาของมนุษย์และสมองในการเรียงลำดับฉาก    กับข้อจำกัดที่มีอยู่ตามความเป็นจริงของกล้องว่าไม่เท่าเทียมกัน  ดวงตาและสมองของมนุษย์สามารถชดเชยต่อในสภาพแวดล้อมของแสงได้หลายวิธี  ดูเสมือนว่าดวงตาของเราสามารถมองเห็นรายละเอียดในเงามืดได้และยังแปรเปลี่ยนตามปริมาณของสีได้  เรายังสามารถที่จะเห็นจำนวนที่เป็นเหตุเป็นผลได้แม้ว่าเมื่ออยู่ในที่ปริมาณของแสงมีจำกัด
            แต่ทว่าอย่างไรก็ดีตัวกล้องไม่ได้มีความสามารถเช่นนั้นได้  มันสามารถตอบสนองต่ออะไรก็ตามที่มีอยู่ตามข้อจำกัดของมัน  ถ้าในกรณีที่พื้นผิวของวัตถุสะท้อนแสงมากเกินไปแล้วภาพที่ปรากฏในระบบวิดีโอย่อมสูญเสียรายละเอียดในส่วนที่มืดกว่าไปไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า  เครื่องเรือน  หรือส่วนประกอบอื่นในฉากนั้นๆ   ถ้าหากว่าเราอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนั้นแล้วจ้องมองด้วยดวงตาของเราเองแล้วเราจะไม่รู้สึกถึงปัญหาที่ว่ามากนัก  ดังนั้นหมายความว่าผู้กำกับและช่างกล้องจำเป็นต้องดูว่าสิ่งที่กล้องจับได้จะปรากฎภาพบนจอออกมาเป็นอย่างไร
            การสูญเสียรายละเอียดและรูปทรงในบางส่วนของภาพอาจไม่เป็นเรื่องสำคัญนักถ้าส่วนนั้นเป็นส่วนที่ผู้ชมไม่ได้คาดหวังต้องการดู  แต่ในส่วนสำคัญแล้วเช่น  รายละเอียดของผ้าลูกไม้ชุดแต่งงานหรืออาจเป็นลวดลายบนผ้ากำมะหยี่สีดำดังนั้นช่างกล้องย่อมจำเป็นที่จะต้องนำสิ่งที่ปรากฎในฉากให้อยู่ในข้อจำกัดของกล้องและนำเสนอต่อ สายตาผู้ชมให้ดีที่สุด
ปัจจัยสำคัญ
          การจัดแสงไม่ได้เป็นเพียงแค่การทำให้มีแสงสว่างพอเพียงในบริเวณรอบพื้นที่ถ่ายทำเพื่ออนุญาตให้ตัวกล้องมองเห็นว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างเท่านั้น   แสงสว่างทำหน้าที่ก่อให้เกิดกฎเกณฑ์ในการมองเห็นวัตถุว่าควรเป็นเช่นไร  รวมไปถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้ชมเกี่ยวกับสิ่งที่มองเห็นและอะไรที่ควรดึงดูดความสนใจของพวกเขาเหล่านั้น  นี่หมายความว่าเราไม่ได้มีความจำเป็นเพียงแค่จะต้องคิดถึงตำแหน่งที่วางโคมไฟเท่านั้นยังมีเรื่องของรูปแบบการส่องสว่างที่ได้จากโคมไฟเหล่านั้นอีกด้วย  ทั้งหมดนี้เพื่อให้มีผลโดยรวมต่อคุณภาพของภาพที่เราต้องการถ่ายทำ
            การใช้แสงสว่างหรือการจัดแสงให้ประสบผลสำเร็จนั้นเราจำเป็นต้องพิจารณาถึงคุณลักษณะที่น่าสนใจบางประการเหล่านี้ คือ
            ก)ความเข้มของแสงหรือกำลังส่องสว่าง
            ข)คุณภาพของแสงที่หมายถึงรูปแบบของเงาว่าเป็นแบบแข็งกระด้างหรืออ่อนนุ่มเพียงใด
            ค)การจัดแสงก่อให้เกิดความแตกต่างของระดับแสงบริเวณมืดสุดกับระดับแสงบริเวณสว่างสุด  
               มากน้อยเพียงใด         
            ง)ทิศทางของแสงมีผลกระทบต่อรูปทรงของวัตถุอย่างไร
            จ)อุณหภูมิสีของแสงหมายถึงคุณภาพโดยรวมของคุณภาพสีที่ต้องการซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับสิ่ง
            ต่อไปนี้ สีที่เกิดจากแม่สี ความอิ่มตัวของสี และอัตราส่องสว่าง(hue,sat,lumi)
            ความเข้าใจที่จะควบคุมหรือชดเชยสำหรับปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นเหล่านี้ย่อมสร้างสรรค์ให้เกิดภาพที่มีคุณภาพสูงขึ้นมาได้  แต่ถ้าเราละเลยสิ่งเหล่านั้นแล้วผลที่ได้รับอาจจะพอรับได้ในบางครั้งแต่ไม่เสมอไปเพราะว่าในบางครั้งผลที่ได้รับไม่สามารถคาดหมายได้เลย
ความเข้มของแสง
              กล้องถ่ายวิดีโอต้องการปริมาณแสงที่เหมาะสมเพื่อก่อให้เกิดภาพที่มีคุณภาพสูงขึ้นมา  ถ้าหากว่ามีปริมาณแสงน้อยเกินไปภาพที่ได้ออกมาก็จะดูมืดแต่ถ้าปริมาณแสงมากเกินไปทุกสิ่งทุกอย่างก็จะดูสว่างสดใสเกิน  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เครื่องวัดแสงหรืออาจตรวจสอบจากตัวชี้วัดที่อยู่ภายในกล้องเอง  หรืออาจพิจารณาจากช่องมองภาพของกล้องมิฉนั้นก็ยังดูได้ทีจอมิเตอร์
            ปริมาณแสงที่กล้องได้รับไม่พอเพียงอาจมีสาเหตุจากปัจจัยเหล่านี้
            ก)ปริมาณแสงทีตกลงบนวัตถุน้อยเกินไป
            ข)เปิดรูรับแสงของเลนส์น้อยเกินไป
            ค)ใช้ฟิลเตอร์ที่มีความเข้มมากเกินไป
            แนวทางแก้ไขมีดังนี้
            ก)เคลื่อนวัตถุให้ได้รับแสงมากขึ้น
            ข)เปิดรูรับแสงของเลนส์ให้ใหญ่มากขึ้น
            ค)เพิ่มความไวในการรับแสงของกล้องด้วยวิธีการปรับเพิ่มอัตราของวงจรขยายสัญญานภาพ
            ง)เพิ่มปริมาณแสงให้มากขึ้น(หรืออาจเปลี่ยนห้องและเปิดผ้าม่านขึ้น)
            จ)เพิ่มจำนวนอุปกรณ์ในการจัดแสงให้มากขึ้น
ในกรณีที่ปริมาณแสงมากเกินไป
            ให้ทำด้วยวิธีตรงกันข้ามกับแนวทางแก้ไขปัญหาแสงน้อยเกินไป ตามแนวทางต่อไปนี้
            ก)เคลื่อนย้ายวัตถุไปยังบริเวณที่มีแสงน้อย
            ข)ปรับรูรับแสงที่ตัวเลนส์ให้เล็กลง
            ค)ใช้ฟิลเตอร์ที่มีความเข้มสูงเพื่อลดแสงสว่างลง
            ง)ปิดโคมไฟที่ไม่จำเป็น
            จ)ใช้อุปกรณ์ทำให้เกิดร่มเงาหรือบดบังแสงไว้
คุณภาพของแสงชนิดที่ส่องสว่างเฉพาะที่(Spotlight)
            เนื่องจากดวงอาทิตย์มีระยะห่างไกลจากเรามาก  มันจึงทำหน้าที่เป็นแหล่งต้นกำเนิดแสงและเดินทางมาถึงเราแบบเป็นเส้นตรง  และก่อให้เกิดการมองเห็นแสงและเงาที่คมเข้มซึ่งทำหน้าที่เน้นรายละเอียดของพื้นผิววัตถุใดๆ  โดยเฉพาะเมื่อมันตกกระทบวัตถุเป็นมุมเฉียง
            แสงที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเช่นตะเกียง เทียนไข หรือดวงไฟชนิดไม่มีโคมก็มีพฤติกรรมเช่นเดียวกัน  ถึงแม้ว่ามันมีข้อจำกัดที่ขนาดแต่ก็ทำหน้าที่เป็นประหนึ่งแหล่งกำเนิดแสงเหมือนกันแต่มีความแตกต่างกันที่กำลังส่องสว่างมากน้อยไม่เท่ากัน
            แหล่งกำเนิดแสงที่มนุษย์สร้างขึ้นมาส่วนใหญ่มักจะมีอุปกรณ์ประกอบที่เป็นส่วนสะท้อนแสงเหมือนก้นกระทะเพื่อทำหน้าที่สะท้อนแสงไปด้านหน้ารวมกันเป็นมุมแคบ  และด้วยวิธีการเลือกปรับตำแหน่งของตัวสะท้อนแสงต่อระยะของดวงไฟ  ทำให้สามารถเลือกปรับลำแสงและความเข้มได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบของเลนส์ทำหน้าที่รวมแสงไว้ที่ด้านหน้าอีกด้วย  ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและช่วยในการเลือกที่จะให้แสงสว่างเฉพาะบริเวณที่ต้องการ สำหรับแผ่นโลหะที่ติดตั้งอยู่ด้านนอกสุดจะใช้ทำหน้าที่ปิดบังลำแสงบางส่วนที่ไม่ต้องการให้ไปตกกระทบลงบางจุดได้
ข้อดีของไฟชนิดนี้
            ก)เนื่องจากมีทิศทางแน่นอนดังนั้นย่อมเป็นการง่ายที่จะให้แสงสว่างเฉพาะพื้นที่ที่ต้องการได้
            ข)ช่วยทำให้เกิดเงาตัดที่เข้มและช่วยขยายรายละเอียดของพื้นผิวให้ชัดเจนมากขึ้น
            ค)สามารถให้ความรู้สึกที่เข้มแข็ง กระฉับกระเฉง คล่องแคล่ว กระปรี้กระเปร่าได้
            ง)กำลังส่องสว่างยังมีปริมาณมากแม้ว่าดวงโคมจะอยู่ห่างไกลทำให้สามารถติดตั้งไว้ห่างออกไปได้
ข้อด้อยของไฟชนิดนี้
            ก)ทำให้เกิดเงาที่ไม่น่าดูขึ้นมาและเป็นการยากที่จะควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้
            ข)ภาพที่ปรากฎอาจดูหยาบกระด้างและมีความตัดกันอย่างมาก
            ค)รายละเอียดที่ไม่ต้องการอาจถูกเน้นมากเกินไปเช่นผิวหน้าที่ไม่เรียบเนียน
            ง)เนื่องจากเป็นไฟที่ให้แสงสว่างเฉพาะที่ดังนั้นในบริเวณกว้างๆอาจจำเป็นต้องใช้จำนวนมาก
            จ)ในกรณีที่ใช้ไฟมากกว่าหนึ่งดวงจำนวนเงาที่เกิดขึ้นย่อมเพิ่มเป็นสัดส่วนไปด้วย
คุณภาพของไฟชนิดนุ่มนวล(Floodlight)
          โคมไฟชนิดนี้จะให้แสงสว่างที่นุ่มนวลและกระจายไปทุกทิศทาง  แสงสว่างแบบนี้จะปรากฎตามธรรมชาติเมื่อมีเมฆมาบดบังดวงอาทิตย์หรือในกรณีที่แสงอาทิตย์สะท้อนจากพื้นผิวที่ราบเรียบ  ดังนั้นเมื่อวัตถุได้รับแสงชนิดที่อ่อนนุ่มชนิดนี้มาตกกระทบแล้วภาพที่ปรากฎก็จะไม่เกิดเงาที่ชัดเจนขึ้นมา  เป็นเพียงภาพที่เกิดจากพื้นผิวที่มีความสว่างไม่เท่าเทียมกันเพียงเล็กน้อย  ดังนั้นรายละเอียดและร่องรอยของวัตถุทีปรากฎบนภาพก็มีเป็นส่วนน้อยเท่านั้น
            มีหลายวิธีการที่ใช้เพื่อให้เกิดแสงที่นุมนวลนี้เช่น การใช้วัสดุประเภทที่ทำให้เกิดการหักเหของแสงแบบไร้ทิศทาง  หรือการนำเอาตะแกรงโลหะไปติดไว้ที่หน้าโคมไฟเพื่อลดความเข้มของแสงลงและให้เป็นแสงที่นุ่มนวลก็นิยมใช้กัน ในบางกรณีก็ใช้แถวของหลอดไฟจำนวนมากที่ปรับให้ลำแสงทับซ้อนกันเพื่อลดเงาก็ได้ผลดีเช่นกัน
ข้อดีของไฟชนิดนุ่มนวล
            ก)ให้ความรู้สึกเบาสบายมีรายละเอียดที่ปราณีต
            ข)ไม่ก่อให้เกิดเงาที่ไม่ต้องการ
            ค)สามารถหลีกเลี่ยงการเน้นรูปทรงและพื้นผิว
            ง)สามารถใช้ลบเงาที่เกิดจากแสงที่มีความเข้มและทิศทางสูงได้
            จ)สามารถให้แสงสว่างเป็นบริเวณกว้างได้
ข้อด้อยของไฟชนิดนุ่มนวล
            ก)ภาพที่ได้จะดูแบนราบและขาดรายละเอียดของพื้นผิว
            ข)เนื่องจากมันให้แสงกระจายไปทั่วทำให้การควบคุมแสงสว่างเฉพาะจุดเป็นเรื่องยุ่งยาก
            ค)กำลังส่องสว่างที่ออกมาจะลดลงเนื่องจากระยะทางเป็นอย่างมากดังนั้นวัตถุที่อยู่ใกล้โคมไฟ  
               อาจดูสว่างเกินไปแต่วัตถุที่อยู่ไกลอาจดูมืดเกินไป
การจัดแสงเพื่อควบคุมส่วนที่สว่างและมืดให้สมดุล
            คำว่า “contrast”หมายถึงความแตกต่างระหว่างส่วนที่มีความสว่างมากที่สุดและส่วนที่มืดที่สุด  ถ้าหากว่าค่าความแตกต่างนี้มีมากเกินกว่าที่กล้องจะรองรับได้แล้ว เช่นในกรณีของแสงแดดจ้าทีตกกระทบผนังอาคารที่ตัดกับส่วนที่เป็นบริเวณหน้าต่างอยู่ในเงามืด  ย่อมทำให้มองไม่เห็นรายละเอียดภายในหน้าต่างนั้น  การควบคุมความแตกต่างของแสงเพื่อให้กล้องมองเห็นได้นั้นเป็นเรื่องของการควบคุมความเข้มของแสงที่ตกลงบนวัตถุต่างๆให้เหมาะสม  การควบคุมสีของวัตถุในฉาก  การควบคุมส่วนของเงาที่เกิดจากแสงมาตกกระทบวัตถุ
            ถ้าหากว่าความแตกต่างของส่วนที่มืดและสว่างที่สุดมีมากจนเกินกว่าที่จะยอมรับได้ย่อมก่อให้เกิดปัญหาที่ว่ารายละเอียดของภาพบางส่วนย่อมสูญเสียไปหรือยากที่จะแปลความหมายของภาพนั้นๆทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับสถานะการณ์
            เมื่อแสงมีอัตราความสว่างแตกต่างกันมากๆ(ใช้ไฟหลักดวงเดียวไม่มีไฟเสริมช่วย)คุณภาพของภาพที่ได้จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตั้งของกล้องที่แปรเปลี่ยนไปเช่น ถ้าโคมไฟอยู่ด้านหลังกล้องแล้ววัตถุจะดูสว่างแต่แบนราบไร้รูปทรง  แต่ถ้าเป็นการถ่ายสวนทางกับดวงไฟแล้วเราจะเห็นเพียงขอบของวัตถุเท่านั้น
            อีกปรากฎการณ์พิเศษอันหนึ่งคือผลที่ได้รับจากการใช้ไฟที่นุ่มนวลมีเงาน้อยในการจัดแสงให้กับทั้งฉาก  สิ่งที่ได้รับก็คือทุกสิ่งจะดูเสมือนรูปทรงเบาบาง  แม้ว่าจะเป็นการเคลื่อนกล้องไปรอบด้วยการใช้เลนส์มุมกว้าง  น้ำหนักของคุณภาพโดยรวมจะยังคงที่ภายใต้สภาพของแสงแบบนี้
            ในทางปฏิบัติแล้วเรามักต้องการจะหลีกเลี่ยงความหยาบกระด้างที่เกิดจากการจัดแสงทีมีความสว่างแตกต่างกันของภาพสูงมาก   แต่ในขณะเดียวกันก็หลีกเลี่ยงภาพที่แบนราบอันเกิดจากใช้แสงน้อยเกินไป  ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดก็คือหาความสมดุลย์ให้พอเหมาะพอดีทั้งสองอย่าง
วิธีการจัดแสงแบบสามตำแหน่ง
            ในแทบจะทุกกรณีของการจัดแสงให้ได้ผลลัพท์ดีที่สุดมักเป็นผลจากการใช้หลักการจัดแสงเบื้องต้นแบบมีทิศทางของแสงสามตำแหน่งเท่านั้น  ประกอบด้วยไฟหลักหรือเรียกอีกชื่อว่าคีย์ไลท์ ที่มักจัดวางเอาไว้ข้างหน้าด้านใดด้านหนึ่งของตำแหน่งกล้อง  ตามปกติแล้วมักใช้ไฟชนิดที่ให้แสงเฉพาะจุด(แสงและเงาค่อนข้างแข็ง) โดยตัวไฟหลักนี้จะทำหน้าที่ช่วยให้มองเห็นรูปทรงและรายละเอียดของพื้นผิวของวัตถุ
            ลำดับที่สองคือไฟเสริมที่มักใช้แสงไฟแบบนุ่มนวล  โดยมันจะถูกจัดวางเอาไว้ที่ตำแหน่งอีกด้านหนึ่งของกล้องอยู่ด้านตรงข้ามกับไฟหลักเสมอ  ทำหน้าที่ลดเงาที่เกิดจากไฟหลักแต่ไม่ใช่เป็นการลบเงาทั้งหมดไปเลย  นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการช่วยลดความแตกต่างของแสงสว่างลงด้วย(คอนทราสต์)
            ลำดับสุดท้ายคือไฟด้านหลังที่วางทำมุมจากด้านบนลงมาข้างหลังวัตถุ  ทำหน้าที่แยกแยะวัตถุออกจากพื้นหลังฉากและช่วยเน้นรูปทรงของวัตถุให้ชัดเจนมากขึ้น  ตามปกติแล้วดวงไฟหลักและดวงไฟด้านหลังควรมีกำลังส่องสว่างที่เท่าเทียมกัน  แต่ทว่าอย่างไรก็ดีดวงไฟด้านหลังอาจลดกำลังส่องสว่างลงไปอีกขึ้นกับชนิดของวัตถุหรือสีของผมตัวแสดงด้วย
            นอกจากนี้ถ้าเป็นไปได้ควรเพิ่มแสงสว่างให้กับส่วนประกอบอื่นๆในฉากตามความเหมาะสมด้วย  แต่ถ้าในกรณีที่แสงสว่างจากดวงไฟทั้งสามจุดมีความพอเพียงแล้วย่อมไม่จำเป็น
การชดเชยอุณหภูมิสีของแสง
            อุณหภูมิสีของแสงย่อมแตกต่างกันจากแหล่งกำเนิดแสงชนิดต่างๆ เช่น แสงที่เกิดจากเทียนไขหรือหลอดไฟชนิดมีไส้ดวงเล็กๆจะให้แสงสีส้มอมเหลือง  ไปจนกระทั่งแสงที่ค่อนข้างเป็นสีน้ำเงินอันเป็นสีของท้องฟ้ายามเย็น  หรือเป็นสีค่อนข้างเขียวที่เกิดจากหลอดไฟชนิดฟลูออเรสเซนต์
            ดังนั้นเพื่อที่ให้ได้รับคุณภาพของภาพออกมาดีที่สุดต้องทำการปรับฟิลเตอร์ที่ตัวกล้องให้เหมาะสมกับแสงแต่ละประเภทด้วย 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Automation solution

การถ่ายทอดสดนอกสถานที่(Outside Broadcasting)