Digital Video Measurements (unit 5)



วิดีโอแบบความคมชัดสูงสร้างขึ้นบนกฎเกณฑ์ของแบบความคมชัดมาตรฐาน
               ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคของดิจิตอลทีวีความคมชัดสูงเราสามารถใช้กฎเกณฑ์พื้นฐานที่เคยเรียนรู้มาแล้วจากดิจิตอลทีวีชนิดความคมชัดมาตรฐานและนำมันมาประยุกต์ใช้เพื่อกำหนดกรอบความต้องการเพื่อสร้างแบบแผนของระบบโทรทัศน์แบบความคมชัดสูง  วิธีการสุ่มค่าตัวอย่างสัญญาณของแอนะลอกวิดีโอยังคงเป็นหลักการเหมือนกัน  เราเพียงแต่เพิ่มอัตราการสุ่มค่าตัวอย่างและเพิ่มความกว้างของแถบความถี่ของช่องทีวีให้กว้างมากขึ้น  วิธีการประมวลผลสัญญาณดิจิตอลยังคงหลักการเหมือนเดิม  เราเพียงแต่จัดการมันที่อัตราความเร็วสูงขึ้นและเพิ่มความเอาใจใส่เกี่ยวกับการออกแบบระบบ   ทุกสิ่งทุกอย่างในการปฏิบัติงานที่อัตราความเร็วมากกว่าใช้แถบความถี่มากกว่าแต่ยังคงเป็นกฎเกณฑ์ที่คุ้นเคยดีอยู่แล้ว   มันมีการใช้งานโทรทัศน์ความคมชัดสูงอย่างกว้างขวางในหลายรูปแบบ นี่เป็นการเปิดโอกาสให้วิศวกรในการแพร่กระจายคลื่นออกอากาศมีทางเลือกและความยืดหยุ่นได้  แต่มันดูเหมือนว่าเป็นการเพิ่มความซับซ้อนในระบบออกอากาศขึ้นไปอีก มาตรฐานเหล่านี้กำหนดตามรูปแบบของการสะแกน  การเชื่อมต่อแบบแอนะลอกและการเชื่อมต่อดิจิตอลแบบขนาน   มาตรฐานของการเชื่อมต่อดิจิตอลแบบอนุกรมได้ถูกนำมาใช้สำหรับการผลิตและการจัดการกับวิดีโอแบบความคมชัดสูง  โดยมีมาตรฐานหลักใหญ่ๆที่น่าสนใจดังนี้

ANSI/SMPTE 274M. , Television - 1920x1080 Scanning and Analog and Parallel Digital Interface For Multiple Picture Rates
               เป็นระบบที่กำหนดให้มีบริเวณของจุดสร้างภาพจำนวน 1920 จุด คูณด้วยจำนวนของเส้นแนวนอนจำนวน 1080 เส้น และมีอัตราสัดส่วนของภาพอยู่ที่ 16 : 9

ANSI/SMPTE 292M. , Television - Bit-Serial Digital Interface for Hi-Definition Television Systems
               เป็นการให้คำจำกัดความของวิธีการเชื่อมต่อข้อมูลแบบอนุกรมด้วยสายเคเบิ้ลและไฟเบอร์ออปติคสำหรับสัญญาณแบบความคมชัดสูงที่การใช้งานระดับ 1.485 Gb/s. and 1.485/1.001 Gb/s.

ANSI/SMPTE 296M. , Television – 1280 x 720 Scanning, Analog and Digital Representation and Analog Interface
               เป็นการให้คำจำกัดความเกี่ยวกับตระกูลของรูปแบการสะแกนล่วงหน้าที่มีพื้นทีของจุดสร้างภาพจำนวน 1280 จุด คูณด้วย เส้นแนวนอนจำนวน 720 เส้น และมีสัดส่วนภาพอยู่ที่ 16 : 9

ANSI/SMPTE 372M. , Television – Dual Link 292
               เป็นการให้คำจำกัดความของวิธีการสำหรับการนำเอาสัญญาณในรูปแบบของ 1080i/p YCbr และรูปแบบของ RGBA 1080i/p ส่งผ่านไปด้วยกันด้วยวิธีการเข้ารหัสชนิด 10 หรือ 12 บิต

ANSI/SMPTE 424M , Television – 3 Gb/s Signal/Data Serial Interface
               เป็นการให้คำจำกัดความของวิธีการขนส่งสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอลอนุกรมด้วยวิธีการใช้สายโคแอกเชียลเคเบิ้ลเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน

ANSI/SMPTE 425M , Television – 3 Gb/s Signal/Data Serial Interface – Source Image Format Mapping
               เป็นการให้คำจำกัดความของวิธีการขนส่งข้อมูลรูปแบบของภาพขนาด 1920 คูณ 1080 และขนาด 2048 คูณ 1080 ไปบนวิธีการเชื่อมต่อแบบของ 3 Gb/s.
ภาพที่ 16. ข้อมูลส่วนประกอบบนเส้นดิจิตอลเทียบกับการนำเสนอแบบแอนะลอก

ตารางที่ 3. การแบ่งส่วนบิตของคำสั่งจำนวนเส้น
             โดยทั่วไปแล้วขนาดความกว้างแถบความถี่ของวิดีโอความคมชัดสูงแบบแอนะลอกที่ประกอบด้วยแม่สีทั้งสามคือ 30 MHz.  สำหรับประเภทการสะแกนแบบแทรกสอดในรูปแบบของ 1080 เส้น และประเภทการสะแกนแบบก้าวหน้าในรูปแบบของชนิด 720 เส้น  ในขณะที่การสะแกนแบบก้าวหน้าในรูปแบบของชนิด 1080 เส้น มีขนาดของแถบความถี่เป็น 60 MHz. ดังนั้นการสุ่มค่าตัวอย่างที่อัตราความเร็วสูงมีความจำเป็นในการต้องการที่จะแปลงค่าเมตริกซ์ของการส่องสว่างและความแตกต่างของสีให้เป็นข้อมูลแบบดิจิตอล  อัตราการสุ่มค่าตัวสำหรับการส่องสว่าง (Y ) ที่มีแถบความถี่ขนาด 30 MHz. คือ 74.25 MHz. และใช้อัตราการสุ่มค่าตัวอย่างสำหรับค่าความแตกต่างของสีเป็นครึ่งหนึ่งคือ 37.125 MHz. สำหรับแถบความถี่ค่าความแตกต่างสีที่มีค่าของแต่ละสีเป็น 15 MHz. (C’b and C’r)  สัญญาณภาพเหล่านี้จะถูกสุ่มค่าตัวอย่างด้วยรายละเอียดขนาด 10 บิต  ค่าความแตกต่างของสีทั้งสองที่ผ่านการผสมให้เป็นข้อมูลต่อเนื่องเดียวกันด้วยสมการเมตริกซ์ขนาด 10 บิตที่อัตราความเร็ว 74.25 Mb/s.  ต่อมานำเอารวมเข้ากับข้อมูลการส่องสว่างที่มีอัตรา 74.25 Mb/s. เช่นเดียวกันก่อให้เกิดข้อมูลแบบ 10 บิตชนิดขนานต่อเนื่องกันไปที่อัตรา 148.5 Mb/s. หลังจากนั้นข้อมูลแบบขนานจะถูกทำให้เป็นข้อมูลแบบอนุกรมซึ่งในกรณีนี้เพื่อทำให้ข้อมูลคลุกเคล้าปะปนกันไปแล้วจัดให้อยู่ในรูปแบบของ NRZI ที่มีอัตราความเร็วขนาด 1.485 Gb/s. สำหรับใช้งานเพื่อการรับส่งในห้องผลิตรายการ รูปแบบของข้อมูลในเส้นวิดีโอดังแสดงในภาพที่ 16. ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในฐานของเวลาแบบแอนะลอกไว้ด้วย

าพที่ 17. แบบร่างทางมิติของภาพดิจิตอลด้วยค่าบิต V , F , H


ตารางที่ 4. การแบ่งบิตของคำสั่งก่อให้เกิด cyclic redundancy check (ตรวจสอบข้อผิดพลาด)
การตรวจสอบหาความผิดพลาด CRC (cyclic redundancy check) ในระบบของวิดีโอความคมชัดสูงถูกกระทำแยกส่วนกันสำหรับข้อมูลการส่องสว่างและข้อมูลของสีบนแต่ละเส้นการสะแกนภาพ การตรวจสอบนี้ถูกใช้เพื่อตรวจจับความผิดปกติในเส้นที่มีการเกิดภาพแบบดิจิตอลด้วยวิธีการหาค่าเฉลี่ยของการคำนวณด้วยสูตร ดังนี้  CRC(X) = X18 + X5 + X4 +1  ด้วยค่าแรกเริ่มอันมีค่าเป็นศูนย์ที่จุดเริ่มต้นของคำสั่งเส้นกำเนิดภาพแรกสุดแล้วจบที่คำสั่งสุดท้ายของจำนวนเส้นดังแสดงให้เห็นบนตารางที่ 4.

               การตรวจสอบหาความผิดพลาดทั้งของการส่องสว่างและความแตกต่างของสีสามารถแสดงให้เห็นจำนวนได้บนเครื่องมือวัดและใช้มันสำหรับตัดสินความผิดปกติใดๆที่รวบรวมได้จากสัญญาณที่เดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง  ในรูปแบบของความคมชัดมาตรฐานแล้วจุดสิ้นสุดของจุดกำเนิดภาพเป็นคำสั่งว่า XYZ โดยไม่ได้มีการระบุจำนวนเส้น   การตรวจสอบหาความผิดพลาดสำหรับจุดที่กำเนิดภาพและการตรวจสอบสำหรับภาพสมบูรณ์ทั้งฟิลด์ (ยกเว้นช่วงเวลาสำหรับสัญญาณจุดเปลี่ยนภาพทางแนวตั้ง) คือบริการเสริมพิเศษที่กระทำหนึ่งครั้งต่อฟิลด์ในช่วงของการที่เป็นแนวตั้ง (vertical blanking) ดังได้อธิบายใน SMPTE RP-165 ทุกๆคำสั่งในช่วงของเส้นทางของแนวนอน (horizontal blanking) บริเวณระหว่างจุดของการสิ้นสุดจนถึงจุดเริ่มต้นกำเนิดภาพตามที่แสดงให้เห็นในภาพที่ 17. ถูกกำหนดให้เป็นสีดำในกรณีที่ไม่ใช้เพื่อบรรจุข้อมูลประกอบอื่นใด

จังหวะเวลาและการสอดประสานกัน (Timing and Synchronization)
               จากข้อมูลข่าวสารที่เป็นกำหนดมาตรฐานอันหลากหลายเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและนำมาใช้งานร่วมกันอันเกี่ยวข้องกับการนำอุปกรณ์ต่างๆมาเชื่อมต่อกันระหว่างจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง มาตรฐานที่ดีนั้นยินยอมให้การนำมาใช้ประโยชน์ที่ประหยัดทรัพยากรและเทคโนโลยีอันเหมาะสม การกำหนดมาตรฐานผลักดันให้มีความร่วมมือกันของผู้ใช้งานและส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ๆ มาตรฐานคือสิ่งจำเป็นในกรณีที่ว่าถ้าผู้ผลิตรายการและผู้ชมทางบ้านคือผู้ผลิตและผู้ชมที่เป็นรายการเดียวกัน  
               สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (ANSI)  กลุ่มประชาคมวิศวกรภาพยนตร์และโทรทัศน์ (SMPTE)  กลุ่มประชาคมวิศวกรรมเรื่องเสียง (AES)  และสหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ (ITU) ได้เผยแพร่มาตรฐานอ้างอิงและข้อกำหนดสำหรับวิดีโอและเสียง เป็นการนำเสนอที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานและข้อกำหนด เพื่อการอ้างอิงสำหรับมาตรฐานของโทรทัศน์  อธิบายความหมายของปัจจัยที่กำหนดของสัญญาณอันยอมรับให้ใช้งานร่วมกันและการปฏิบัติตามข้อกำหนด  ประเด็นของมาตรฐานโดยหน่วยงานเหล่านี้ได้รับการพัฒนาด้วยการเอาใจใส่ระมัดระวังเป็นอย่างมากและเป็นประโยชน์สูงสุดในการอธิบายคุณลักษณะอย่างแม่นยำของแต่ละระบบ เนื้อหาที่จะได้ศึกษาต่อไปคือการแปรความหมายของมาตรฐานเหล่านั้นเพื่อให้มีความเข้าใจอย่างกว้างขวางมากขึ้นของมาตรฐานแต่ละรูปแบบที่แตกต่างกันไป
               การสร้างสรรค์ที่ประสบความสำเร็จของการนำส่งข้อมูลและการกู้คืนภาพของวิดีโอขึ้นอยู่กับการทำงานของอุปกรณ์แต่ละชิ้นที่สอดประสาน (synchronization) กับอุปกรณ์อื่นๆได้  ตัวอย่างเช่นกล้องโทรทัศน์ตรวจจับปริมาณแสงของแต่ละจุดรับภาพที่ตำแหน่งใดๆในฉาก มันเป็นการจำเป็นต้องหาวิธีระบุว่าเป็นจุดไหนคือสิ่งที่ต้องแสดงให้เห็นบนจอรับภาพในท้ายที่สุด  องค์ประกอบของการสอดประสานกันบอกให้กล้องรู้ถึงวิธีว่าควรผลิตภาพอย่างไรในงานแสดงดนตรีร่วมกับกล้องอื่นๆและแหล่งกำเนิดภาพใดๆ  รวมไปถึงต้องสามารถบอกให้เครื่องรับทางบ้านเข้าถึงวิธีการสร้างภาพและระบุตำแหน่งนั้นบนจอภาพของการแสดงผลในท้ายที่สุด
               เริ่มต้นจากตัวกล้องและท้ายที่สุดเป็นจอรับภาพให้สามารถรู้วิธีการว่าจะทำการสะแกนหรือกวาดภาพได้อย่างไร สิ่งที่พวกมันจำเป็นต้องทราบคือตรงไหนเป็นจุดเริ่มต้นและวิธีการที่จะเป็นไปในแต่ละขั้นตอน ข้อมูลข่าวสารของการสอดประสานกันจะมีความสดใหม่เสมอทุกครั้งในการกวาดแต่ละเส้นทางแนวนอนและการกวาดภาพทางแนวตั้งในแต่ละครั้ง (การกวาดแบบสอดประสานจะทำการกวาดแนวตั้งสองครั้งเป็นหนึ่งภาพ) ภายในระบบห้องผลิตรายการขนาดใหญ่แล้วข้อมูลของการทำให้สอดประสานกันถูกแจกจ่ายผ่านระบบกำเนิดสัญญาณอ้างอิงภายนอก   ถ้าในระบบขนาดเล็กแล้วกล้องใดกล้องหนึ่งอาจทำหน้าที่แจกจ่ายข้อมูลการสอดประสานกันให้กับตัวมันเองและแหล่งกำเนิดวิดีโออื่นๆได้เช่นกัน  

หมายเหตุ ครั้งต่อไปเป็นเรื่องของคาบจังหวะเวลาที่เกี่ยวข้องกับวิดีโอ (Timing and Synchronization)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การถ่ายทอดสดนอกสถานที่(Outside Broadcasting)

Automation solution