บทความ

การบริหารจัดการอย่างเหมาะสม

การดําเนินงานและสมรรถนะของงานวิศวกรรมวิทยุโทรทัศน์ ฝ่ายวิศวกรรมเทคโนโลยีการสื่อสาร Operating Situation and Management Competency of EBPC.           อันเนื่องมาจากศักยภาพของอินเทอร์เน็ตได้ขยายขอบเขตในการบริโภคข้อมูลและข่าวสารของประชาชนออกไปอย่างไร้ขีดจำกัด โดยปรากฏอยู่ในลักษณะการหลอมรวมกันระหว่าง เทคโนโลยีโทรทัศน์กับเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ทำให้มีความสามารถสร้างการติดต่อระหว่าง ผู้ส่งสารกับผู้รับสาร  และผู้บริโภคสื่อยังสามารถเลือก บริโภคข้อมูลข่าวสารตามความต้องการของตนเองได้ ผ่านหน้าจอที่หลากหลายช่องทาง เช่นโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์แทปเล็ต เครื่องคอมพิวเตอร์   และจอโทรทัศน์ยุคใหม่ที่มีความสามารถมากกว่าเดิมเป็นอันมาก  ที่สามารถรับชมรายการโทรทัศน์สดผ่านทาง ออนไลน์หรือชมย้อนหลังในเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นผ่านทางหน้าจอเครื่องรับประเภทสมาร์ททีวี  เรียกได้ว่าผู้บริโภคสื่อในปัจจุบันนี้มีทางเลือกในการบริโภคและเข้าถึงสื่อได้อย่างหลากหลาย อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคของดิจิตัลที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ในการบริหารจัดการเพื่อให้บริการผลิตและนำเสนอสื่อยุคดิจิตัลจำเป็นจะต้องคำนึงถึงทรั

เป้าประสงค์และเงื่อนไขความสำเร็จ

แนวทางบริหารจัดการองค์กรด้วยระบบ OKR OKR ย่อมาจาก Objectives & Key Results เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายที่มีการประยุกต์ใช้ในหน่วยงานองค์กรขนาดใหญ่มาสักระยะหนึ่ง และได้พบว่าเป็นแนวคิด และเครื่องมือที่ทรงพลัง สร้างอารมณ์ร่วมกับองค์กรได้ดีมาก ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับระบบที่เคยใช้ในอดีต เช่นระบบ KPI (Key Performance Indicators) และ BSC (Balanced Scorecards) แนวคิด OKR นั้นไม่ใช่ของใหม่มีการประยุกต์ใช้งานในบริษัท Intel แต่เป็นที่รู้จักกว้างขวางมากขึ้นเมื่อบริษัท Google ได้นำเอาแนวคิดนี้ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับตั้งเป้าหมาย และขับเคลื่อนองค์กร แนวคิดของ OKR สามารถใช้เป็นแนวคิดเพื่อขับเคลื่อนตัวเอง ทีมงาน และองค์กร ช่วยให้เกิดการจัดลำดับความสำคัญที่มีประสิทธิภาพ และช่วยให้ทีมงานทุกคนมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน OKR ประกอบไปด้วย 2 ส่วนที่เรียบง่าย คือ 1. Objectives คือเป้าหมาย ซึ่งควรเป็นเป้าหมายหลักขององค์กรหรือกลุ่มงาน อยู่ที่เราจะกำหนดใช้แนวคิดนี้ และควรเป็นอะไรที่ตั้งไว้สูงเพื่อ เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด ที่เราอยากจะทำให้สำเร็จ เป็นภาพใหญ่ขององค์กรที่ต้องการจะเดินไป 2. Key

ภารกิจในตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบ

หัวหน้างานวิศวกรรมวิทยุโทรทัศน์ ลักษณะงานที่รับผิดชอบ (รวมถึงงานพิเศษที่ได้รับมอบหมาย) 1.ปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้างานโทรทัศน์ 2.วางแผนโครงการและกำหนดรายละเอียดในการปรับปรุงบำรุงรักษาอุปกรณืเครื่องมือในงานผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด 3.ปฏิบัติหน้าที่ให้คำปรึกษาและถ่ายทอดทักษะความรู้กับบุคลากรในงานวิศวกรรมวิทยุโทรทัศน์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเป็นไปตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย 4.ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาชี้แจงนโยบายการผลิตสื่อวิทยุโทรทัศน์ของมหาวิทยาลัยให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามพันธกิจ 5.ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับเทคโนโลยีและจัดหาอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 6.ปฏิบัติหน้าที่ในการมีส่วนร่วมกำหนดแนวนโยบายและวางแผนการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ให้บรรลุตามเป้าหมายวัตถุประสงค์ของผู้บังคับบัญชาระดับสูง           จากข้อกำหนดที่ระบุถึงภารกิจหน้าที่แบบกว้างๆแล้วยังมีงานที่ต้องปฏิบัติอีกมาก

Organization 2020

แผนปฏิรูปองค์กร 2020 ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พร้อมกับที่จำนวนของบุคลากรวัยทำงานก็ลดลงไปด้วยเช่นกัน ทุกหน่วยงานจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปองค์กรให้สอดคล้องกับภาระกิจของงานที่ปรับเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีด้วย นอกจากนี้แล้วการปฏิรูปองค์กรยังส่งผลถึงการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรอย่างต่อเนื่อง องค์กรประกอบในการปฎิรูปองค์กร 1.      ภาวะผู้นำ ( Leadership) ถึงแม้ว่าจะมีแผนการปฏิรูปองค์กรที่ดีเยี่ยมแค่ไหน แต่หากไม่มีผู้นำที่จะสามารถนำวิธีการที่ถูกต้องนำไปประยุกต์ใช้ หรือผู้นำที่เข้าใจเป้าหมายของงานได้ การทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดก็เป็นไปได้ยาก รวมไปถึงการหาผู้ที่สามารถจัดวางบุคลากรให้เหมาะสมกับการทำงานได้ก็เป็นสิ่งสำคัญ และสามารถกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆสามารถกระทำภาระกิจ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์กรได้ ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่า ผู้นำเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญต่อความสำเร็จของงานและองค์กร 2.      กลยุทธ์ ( Strategy) การกำหนดวางแผนกลยุทธ์ให้มีความเหมาะสม จะทำให้องค์กรมีความเจริญก้าวหน้าสามารถแข่งขันกับหน่วยงานประเภทเดีย

Digital Transformation

การปรับองค์กรเพื่อความอยู่รอดในยุคดิจิตอล คำจำกัดความของการปรับตัวคืออะไร                การปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิตอลหมายถึงกระบวนการที่นำเอาเทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆหรืออาจเป็นการปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงหาทางออกในรูปแบบของกระบวนการทำงาน   หรือการปรับวัฒนธรรมองค์กร   เพื่อให้ผู้มาใช้บริการได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่และตรงตามความต้องการของผู้มาขอรับบริการ   ทั้งหมดนี้คือการปรับตัวเพื่อให้เหมาะสมกับยุคดิจิตอล                เพื่อให้เป็นการคิดในสิ่งที่นอกเหนือไปจากวิธีการปฏิบัติเพื่อให้บริการลูกค้าตามกระบวนการแบบดั้งเดิมในอดีต     เปลี่ยนมาเป็นวิธีการแบบดิจิตอลที่เริ่มต้นและจบลงที่ว่าคุณคิดแบบไหนและจะมีส่วนร่วมในการให้บริการกับลูกค้าอย่างไร    เหมือนกับการที่เราเปลี่ยนจากการจดในกระดาษมาสู่โปรแกรมคำนวณ   จากการใช้โปรแกรมคำนวณมาเป็นการใช้โปรแกรมแบบอัตโนมัติที่ฉลาดยิ่งขึ้น   สำหรับงานบริหารจัดการยุคใหม่เรามีโอกาสที่จะมีจินตนาการถึงวิธีการให้บริการและมีส่วนร่วมต่อการดูแลผู้เข้ามาใช้บริการได้อย่างไรบ้างด้วยเทคโนโลยีของดิจิตอลที่หน่วยงานหรือองค์กรมีอยู่หรืออาจเสา

การสรรหาบุคลากรเพื่อดำรงตำแหน่งทดแทนภายในองค์กร

การสรรหาบุคลากรเพื่อดำรงตำแหน่งทดแทนภายในองค์กร ความสำคัญของการสรรหาบุคลากร บุคลากรไม่ว่าจะปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งใดก็ตามย่อมเปรียบเสมือนฟันเฟืองที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน ถ้าฟันเฟืองใดขาดไปก็อาจทำให้ราชการหรือกิจการใดๆ ประสบปัญหาขึ้นได้ ในทางกลับกันถ้าได้ฟันเฟืองที่ดี มีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้กิจกรรมนั้นก้าวหน้ามีความเจริญรุ่งเรืองได้เช่นกัน ในกรณีเช่นนี้หน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารทรัพยากรบุคคล ( Human Resource)   มีหน้าที่สำคัญที่จะสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่ดีมีคุณภาพเข้ามาทำงาน   ในทางตรงกันข้ามถ้าองค์กรไหนที่ไม่ให้ความสำคัญตรงจุดนี้ก็จะทำให้อาจได้รับเอาบุคลากรที่จะมาทดแทนแบบไร้ความสามารถ ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดผลเสียโดยตรงกับงานนั้น และทำให้การบริหารจัดการขององค์กรเกิดความเสียหายตามมาอย่างแน่นอน   การสรรหาบุคลากรที่ดีนั้นจึงควรต้องมีการวางแผนให้เป็นระบบ ตลอดจนมีการใส่ใจรายละเอียดในทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้บุคลากรที่เหมาะสมที่สุด การสรรหาบุคลากรภายในองค์กร ( Internal Recruitment) แหล่งทรัพยากรบุคคลอันดับแรกสุดที่เป็นตัวเลือกให้หน่วยงานนั้นๆ สามารถเริ่มสรรหาได้ก่อนก็คือการคัดเลื