เป้าประสงค์และเงื่อนไขความสำเร็จ
แนวทางบริหารจัดการองค์กรด้วยระบบ OKR
OKR ย่อมาจาก
Objectives & Key Results เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายที่มีการประยุกต์ใช้ในหน่วยงานองค์กรขนาดใหญ่มาสักระยะหนึ่ง
และได้พบว่าเป็นแนวคิด และเครื่องมือที่ทรงพลัง สร้างอารมณ์ร่วมกับองค์กรได้ดีมาก ๆ
เมื่อเปรียบเทียบกับระบบที่เคยใช้ในอดีต เช่นระบบ KPI (Key Performance
Indicators) และ BSC (Balanced Scorecards) แนวคิด
OKR นั้นไม่ใช่ของใหม่มีการประยุกต์ใช้งานในบริษัท Intel
แต่เป็นที่รู้จักกว้างขวางมากขึ้นเมื่อบริษัท Google ได้นำเอาแนวคิดนี้ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับตั้งเป้าหมาย
และขับเคลื่อนองค์กร
แนวคิดของ OKR
สามารถใช้เป็นแนวคิดเพื่อขับเคลื่อนตัวเอง ทีมงาน และองค์กร
ช่วยให้เกิดการจัดลำดับความสำคัญที่มีประสิทธิภาพ
และช่วยให้ทีมงานทุกคนมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน OKR ประกอบไปด้วย
2 ส่วนที่เรียบง่าย คือ
1. Objectives
คือเป้าหมาย ซึ่งควรเป็นเป้าหมายหลักขององค์กรหรือกลุ่มงาน
อยู่ที่เราจะกำหนดใช้แนวคิดนี้ และควรเป็นอะไรที่ตั้งไว้สูงเพื่อ เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด
ที่เราอยากจะทำให้สำเร็จ เป็นภาพใหญ่ขององค์กรที่ต้องการจะเดินไป
2. Key
Results คือผลลัพธ์ของเป้าหมายที่เราตั้งขึ้น
ซึ่งควรจะต้องวัดได้อย่างชัดเจน และควรมีการวัดผลอย่างน้อยปีละสองครั้ง
ไม่ว่าจะทำการสิ่งใดหากเรามีตัวชี้วัดที่ดีแล้ว ก็เท่ากับว่าประสบผลสำเร็จไปแล้ว
Objectives ในการใช้ระบบ OKR คือการกำหนดเป้าหมายขององค์กร
ว่าเราต้องการองค์กรไปอยู่ที่จุดไหน (Where) ขณะที่ Key
Results ในที่นี้แท้จริงแล้วคือ เราจะทำอะไร และทำอย่างไร (How)
เพื่อให้องค์กรไปถึงจุดหมายที่เราตั้งเป้าไว้ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอันก่อให้เกิดผลตามความต้องการของหน่วยงานนั้นๆ
สิ่งสำคัญคือ
OKR
นั้นไม่ใช่ KPI ไม่ควรนำมาใช้ประเมินผลงานของพนักงานแต่ละคนโดยตรง
แต่มันควรจะฝังเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร และเป็นจิตสำนึก ของทุกคนในองค์กร
เป็นเป้าหมายที่ทุกคนในองค์กรต้องมีร่วมกัน
หลักสำคัญที่สุดของ OKR อยู่ที่การตั้ง Objectives
คือเป้าหมายขององค์กร คือปัญหาของการปฏิบัติงานที่เราอยากจะแกไข
้คือวิสัยทัศน์ขององค์กรว่าเราอย่ากเป็นอะไร (What) ขณะที่ Key
Results คือเราต้องทำอะไร อย่างไรเพื่อให้เป้าหมายเราสำเร็จ (How)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น