การบริหารจัดการอย่างเหมาะสม

การดําเนินงานและสมรรถนะของงานวิศวกรรมวิทยุโทรทัศน์ ฝ่ายวิศวกรรมเทคโนโลยีการสื่อสาร
Operating Situation and Management Competency of EBPC.
          อันเนื่องมาจากศักยภาพของอินเทอร์เน็ตได้ขยายขอบเขตในการบริโภคข้อมูลและข่าวสารของประชาชนออกไปอย่างไร้ขีดจำกัด โดยปรากฏอยู่ในลักษณะการหลอมรวมกันระหว่าง เทคโนโลยีโทรทัศน์กับเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ทำให้มีความสามารถสร้างการติดต่อระหว่าง ผู้ส่งสารกับผู้รับสาร  และผู้บริโภคสื่อยังสามารถเลือก บริโภคข้อมูลข่าวสารตามความต้องการของตนเองได้ ผ่านหน้าจอที่หลากหลายช่องทาง เช่นโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์แทปเล็ต เครื่องคอมพิวเตอร์   และจอโทรทัศน์ยุคใหม่ที่มีความสามารถมากกว่าเดิมเป็นอันมาก  ที่สามารถรับชมรายการโทรทัศน์สดผ่านทาง ออนไลน์หรือชมย้อนหลังในเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นผ่านทางหน้าจอเครื่องรับประเภทสมาร์ททีวี  เรียกได้ว่าผู้บริโภคสื่อในปัจจุบันนี้มีทางเลือกในการบริโภคและเข้าถึงสื่อได้อย่างหลากหลาย อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคของดิจิตัลที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง
ในการบริหารจัดการเพื่อให้บริการผลิตและนำเสนอสื่อยุคดิจิตัลจำเป็นจะต้องคำนึงถึงทรัพยากร ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ ดังนี้
1. ทรัพยากรบุคคล (Man) เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการบริหาร โดยองค์กรจะประสบความสำเร็จหรือไม่จะขึ้นอยู่กับการเลือกใช้คนให้เหมาะสมกับงานนั้นๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2. ทรัพยากรด้านการเงิน (Money) เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน ตลอดจนเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาหรือขยายขีดความสามารถขององค์กร
 3. ทรัพยากรด้านวัสดุสิ่งของ (Materials) เช่นเครื่องมือและอุปกรณ์ หรืออาจเป็นเทคโนโลยีทางการบริหารจัดการทำงาน เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์และซอล์ฟแวร์ต่างๆ
4. ทรัพยากรด้านการจัดการ (Management) อันเป็นทักษะความรู้และความสามารถของ ผู้บริหารจัดการจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ เพื่อดูแลและประสานงานต่างๆ ให้ดำเนินลุล่วงไปตาม วัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายขององค์กรที่กำหนดไว้
การบริหารจัดการผลิตและให้บริการเผยแพร่สื่อคือ การกำหนดรูปแบบ  การควบคุม การบังคับบัญชา ถึงบทบาทหน้าที่ของบุคลากรในแต่ละส่วนต่างๆ ในองค์กรสื่อตามโครงสร้างการบริหารจัดการที่เหมาะสม
          ลักษณะการบริหารและดำเนินงานขององค์กรสื่อโทรทัศน์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. สถานีโทรทัศน์เพื่อการค้า (Commercial Television) สถานีลักษณะนี้จะมีรายได้จากการโฆษณา
2. สถานีโทรทัศน์ที่ไม่มุ่งโฆษณาสินค้า (Non-Commercial Television) สถานี ลักษณะนี้จะมุ่งเน้นการตอบสนองประชาชนในด้านวัฒนธรรม การศึกษา การประชาสัมพันธ์
          ปัจจัยสำคัญที่จะสร้างความสำเร็จขององค์กรสื่อสารมวลชนมีดังนี้ คือ
1. การมีวิสัยทัศน์ อันเกิดจากรากฐานของแนวคิดที่สร้างสรรค์ ผูกกับการสร้างค่านิยมที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนองค์กรให้เดินหน้า
2. เลือกกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย อันไม่จำเป็นต้องมีเป้าหมายขนาดใหญ่ หรือพยายามรวบรวมกลุ่มลูกค้าทั้งหมดให้เป็นของตน แต่ละสื่อนั้นย่อมมีกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายหลักอยู่ทั้งสิ้น ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวทางการ ดำเนินงานและศักยภาพในการผลิตและเผยแพร่สื่อขององค์กรนั้นๆ
3. สร้างกลุ่มผู้ติดตามรับสื่อ เมื่อระบุกลุ่มผู้รับสารเป้าหมายได้แล้ว สิ่งที่ตามมาคือจะต้องทำให้ กลุ่มผู้รับสื่อรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรและรู้สึกถึงความสำคัญจากสื่อนั้นนั้นด้วย
4. ประชาสัมพันธ์ไปในวงกว้าง แต่มีความเฉพาะเจาะจง เมื่อสื่อได้เป็นที่รู้จักไปในวงกว้างแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องเจาะกลุ่มผู้รับสารเป้าหมาย เนื่องจากกลุ่มผู้รับสารยังมีความแตกต่างกันในเรื่องของรสนิยมความต้องการ
5. มีความยืดหยุ่นและรวดเร็ว ด้วยความจำเป็นที่จะต้อง ปรับตัวให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้รับสาร สามารถเข้าถึงเนื้อหาให้ได้มากที่สุดในทุกช่องทาง
6. คุณภาพของเนื้อหาและเทคนิคการผลิตที่นำเสนอต่อผู้รับสาร ยังคงเป็นหัวใจสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นสื่อแขนงใดก็ตาม
7. การปรับตัวให้เข้ากับช่วงเวลา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม เพื่อเชื่อมโยงกับการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรสื่อ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี

ทฤษฎี SWOT คือ
SWOT คือ ชื่อของทฤษฎีหนึ่งทางด้านการตลาด ที่ใช้สำหรับวิเคราะห์สภาพโดยทั่วไปขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นในด้านจุดแข็ง จุดอ่อน สำหรับการวางแผนการดำเนินงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นคำที่ประกอบด้วยตัวย่อมาจากคำที่มีความหมาย 4 คำ ดังต่อไปนี้
1. Strengths (S) : จุดแข็ง จุดเด่น ขององค์กร
2. Weaknesses (W) : จุดอ่อน ข้อเสียเปรียบขององค์กร
3. Opportunities (O) :  โอกาสในการดำเนินงานตามแผนงาน
4. Threats (T) : อุปสรรคที่อาจเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำเนินงาน
กลุ่มงานวิศวกรรมวิทยุโทรทัศน์  ฝ่ายวิศวกรรมเทคโนโลยีการสื่อสาร
สำนักเทคโนโลยีการศึกษาแบ่งส่วนราชการภายใน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2526  ให้ศูนย์บริการการสอนทางวิทยุและโทรทัศน์ มีหน่วยงานย่อยเป็น 6 หน่วย โดยมีหน่วย เทคนิควิทยุและโทรทัศน์เป็นหน่วยงานหนึ่ง มีหน้าที่รับผิดชอบบันทึกรายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และวีดิทัศน์ ต่อมาเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2527 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้รับมอบ อาคารศูนย์ผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (EBPC: Educational Broadcasting Production Center) พร้อมและอุปกรณ์การผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์จากรัฐบาลญี่ปุ่น และมีการก่อสร้างอาคารส่วนต่อเติมเพื่อขยายขีดความสามารถของศูนย์ผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการศึกษา แล้วเสร็จเมื่อ มีนาคม 2533 เพื่อให้สอดคล้องกับเครื่องมือ อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ได้มา งานเทคนิคจึงเป็นกลุ่มงานที่ต้องใช้บุคลากรประเภทนายช่างอิเล็กทรอนิกส์และวิศวกร และต้องแบ่งสายงานออกเป็นหลายสาย เพื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิศวกรรมวิทยุและโทรทัศน์ ค้นคว้า วิเคราะห์ ออกแบบ ควบคุมและบริหารงานวิศวกรรมวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนทดสอบ ซ่อมบำรุง ติดตั้งปรับแต่งอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้งานให้อยู่ในมาตรฐานเพื่อการออกอากาศ เนื่องจากการขยายขีดความสามารถทั้งทางด้านเครื่องมือและบุลากรดังกล่าว จึงมีการจัดตั้ง หน่วยเทคนิควิทยุและโทรทัศน์ มาเป็น ฝ่ายวิศวกรรมเทคนิควิทยุและโทรทัศน์และเมื่อ พ.ศ. 2538 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น ฝ่ายวิศวกรรมเทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology Engineering Section) มีชื่อย่อว่า CTES 
จุดแข็ง (Strength) มีดังนี้
1)นำเสนอรายการประกอบชุดวิชา การสอนเสริมทางไกล ตามวัตถุประสงค์ของนักศึกษา
2)สามารถส่งสัญญาณได้ครอบคลุมทั่วประเทศ
3)บุคลากรมีความรู้มีประสบการณ์ทำงาน มีทักษะ
4)ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณจากรัฐ
5)มีการพัฒนารูปแบบรายการที่สนองตอบผู้ชม
6)กลุ่มผู้บริหารเป็นนักวิชาการด้านเทคโนโลยีการศึกษา
7)มีสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานที่เป็นสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
8)มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินทรัพย์
9)มีเทคโนโลยีการผลิตเนื้อหารายการที่ทันสมัย
10)มีโครงสร้างขององค์กรที่ดี
11)มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี
จุดอ่อน (Weakness) มีดังนี้
1)ภาพลักษณ์ของเนื้อหารายการบางส่วนยังไม่ตรงใจผู้ชม
2)ขาดความสามารถในการสร้างรายได้เป็นของตนเอง
3)ขาดความหลากหลายของรูปแบบการผลิตสื่อ
4)การจัดผังรายการยังไม่สนองตอบความต้องการของผู้ชม
5)การโฆษณาประชาสัมพันธ์มีน้อย
6)ขาดสภาพคล่องทางการเงินเนื่องจากต้องรับจากเงินงบประมาณในแต่ละปี
7)ขาดความแปลกใหม่ของรูปแบบรายการต่างๆ
8)รูปแบบรายการเป็นไปตามกำหนดแนวนโยบายของมหาวิทยาลัย
โอกาส (Opportunities) มีดังนี้
1)มีอุปกรณ์และบุคลากรเทียบเท่าสถานีวิทยุโทรทัศน์ขนาดใหญ่
2)มีความพร้อมที่สุดในการทำหน้าที่ผลิตและเผยแพร่สื่อเพื่อการศึกษา
3)มีความพร้อมจัดการศึกษาแบบออนไลน์ไปยังนักศึกษาทั่วประเทศ
4)แนวโน้มการศึกษาในอนาคตจะเป็นรูปแบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น
5)กลุ่มผู้ชมเป้าหมายผู้รับชมสื่อที่เป็นนักศึกษาจำนวนมากอยู่แล้ว
6)ความต้องการศึกษาตลอดชีวิตของคนไทยเพิ่มขึ้น
7)การเจริญเติบโตของเทคโนโลยีอุปกรณ์โทรคมนาคมและโทรทัศน์เพิ่มมากขึ้น
8)มีโอกาสในการจัดฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ไปยังหน่วยงานภายนอกได้
อุปสรรค์ (Threat) มีดังนี้
1)การเปลี่ยนแปลงทางนโยบายผู้บริหารมีบทบาทกับการดำเนินงาน
2)มีการแข่งขันจากผู้ผลิตและเผยแพร่สื่ออื่นเป็นจำนวนมาก
3)การเพิ่มเข้ามาของสื่อรูปแบบใหม่ตามเทคโนโลยีดิจิตัลเป็นไปอย่างรวดเร็ว
4)กระแสความต้องการของผู้รับสื่อเปลี่ยนแปลงเร็วมาก
5)ผู้ชมเบื่อหน่ายกับรูปแบบรายการเดิมๆและผู้ดำเนินรายการเดิมๆ
6)ผู้ผลิตรายการที่บางส่วนยังยึดติดกับค่ารูปแบบรายการเดิมๆ
7)กฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการประกอบการกิจการผลิตและเผยแพร่สื่อที่เปลี่ยนแปลงบ่อยๆ
8)ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น อินเทอร์เน็ต
เมื่อนำมาประเมินแล้ว สรุปได้ว่าปัจจุบันกลุ่มงานวิศวกรรมวิทยุโทรทัศน์ ฝ่ายวิศวกรรมเทคโนโลยีการสื่อสาร อยู่ในสถานการณ์ที่มีความเข้มแข็งในองค์กร แต่ก็มีอุปสรรคทั้งในและจากภายนอกองค์กรมากพอควร ดังนั้นหน่วยงานจะต้องดำเนินกลยุทธ์โดยพยายามใช้จุดแข็งที่องค์กรมีไม่ว่าจะเป็นในด้านคุณภาพของบุคลากร อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในการผลิตรายการและเผยแพร่สื่อให้ตรงตามความต้องการผู้รั

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การถ่ายทอดสดนอกสถานที่(Outside Broadcasting)

Automation solution