ภารกิจในตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบ
หัวหน้างานวิศวกรรมวิทยุโทรทัศน์
ลักษณะงานที่รับผิดชอบ
(รวมถึงงานพิเศษที่ได้รับมอบหมาย)
1.ปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้างานโทรทัศน์
2.วางแผนโครงการและกำหนดรายละเอียดในการปรับปรุงบำรุงรักษาอุปกรณืเครื่องมือในงานผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
3.ปฏิบัติหน้าที่ให้คำปรึกษาและถ่ายทอดทักษะความรู้กับบุคลากรในงานวิศวกรรมวิทยุโทรทัศน์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเป็นไปตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
4.ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาชี้แจงนโยบายการผลิตสื่อวิทยุโทรทัศน์ของมหาวิทยาลัยให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามพันธกิจ
5.ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับเทคโนโลยีและจัดหาอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
6.ปฏิบัติหน้าที่ในการมีส่วนร่วมกำหนดแนวนโยบายและวางแผนการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ให้บรรลุตามเป้าหมายวัตถุประสงค์ของผู้บังคับบัญชาระดับสูง
จากข้อกำหนดที่ระบุถึงภารกิจหน้าที่แบบกว้างๆแล้วยังมีงานที่ต้องปฏิบัติอีกมากมายที่ไม่ได้ระบุไว้แต่จำเป็นต้องกระทำอีกเป็นอันมาก
ตัวอย่าง เช่นการทำหน้าที่เป็นกรรมการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุครุภัณฑ์
การเข้าร่วมประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับหน่วยงานภายนอกและภายในสำนัก
การประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือนและการประเมินต่อสัญญาจ้างให้กับลูกจ้างประจำ
การจัดสรรทีมงานให้กับหน่วยงานภายในหรือหน่วยงานภายนอกที่ขอความร่วมมือในการผลิตสื่อประเภทต่างๆ
ซึ่งในแต่ละภารกิจก็เต็มไปด้วยรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายที่อาจสรุปให้เป็น ดังต่อไปนี้
1.การวางแผนโครงการและกำหนดรายละเอียดปรับปรุงบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์หมายถึงว่าการทำความเข้าใจคุณสมบัติทางเทคนิคของอุปกรณืที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเนื้อหาสื่อทั้งหมดอันประกอบด้วย
ระบบและชนิดของกล้องโทรทัศน์ เครื่องทำเทคนิคภาพพิเศษ เครื่องมือวัดสัญญานภาพ
การสร้างตัวอักษรกราฟิก ระบบบันทึกเล่นกลับและจัดเก็บ
เครื่องผสมสัญญานเสียงและอุปกรณ์ส่วนควบเช่นเครื่องเล่นซีดี ลำโพง
เครื่องขยายเสียง ระบบการควบคุมจัดแสง ระบบติดต่อสื่อสาร รวมไปถีงอุปกรณ์ในการถ่ายทำนอกสถานที่
เครื่องตัดต่อเนื้อหารายการ
และอุปกรณ์เชื่อมโยงสัญญานเพื่อการถ่ายทอดสดในรูปแบบต่างๆ
ทั้งนี้หมายถึงว่าหัวหน้างานจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงคุณลักษณะและการทำงานของอุปกรณ์เหล่านั้นเพียงพอที่จะกำหนดรายละเอียดทางเทคนิคเบื้องต้นได้
2.การปฏิบัติหน้าที่ให้คำปรึกษาและถ่ายทอดทักษะความรู้กับบุคลากรในงานวิศวกรรมวิทยุโทรทัศน์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องหมายถึงว่าหัวหน้างานจำเป็นต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจกับเครื่องมืออุปกรณ์ทุกชนิดที่ได้กล่าวถึงตามหัวข้อที่หนึ่ง
อาจไม่ถึงขนาดใช้งานได้อย่างเชี่ยวชาญแต่จำเป็นต้องทราบหลักการทำงานในเบื้องต้นและทราบถึงศักยภาพขอบเขตความสามารถของเครื่องมืออุปกรณ์ที่มีใช้งานอยู่ในหน่วยงานและบางครั้งยังมีความจำเป็นที่จะต้องทราบถึงอุปกรณ์ของหน่วยงานอื่นที่จำเป็นต้องปฏิบัติงานร่วมกันอีกด้วย
3.ชี้แจงนโยบายการผลิตสื่อวิทยุโทรทัศน์ของมหาวิทยาลัยให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามพันธกิจ
หมายถึงความจำเป็นที่ต้องทราบถึงนโยบายแนวทางการผลิตเนื้อหารายการให้สอดคล้องกับภารกิจและความจำเป็นขององค์กรอันเป็นผลมาจากความต้องการของผู้รับสื่อและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและทันสมัยอย่างต่อเนื่องทันการ
โดยจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับเทคโนโลยีและจัดหาอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ในการมีส่วนร่วมกำหนดแนวนโยบายและวางแผนการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ให้บรรลุตามเป้าหมายวัตถุประสงค์ของผู้บังคับบัญชาระดับสูง
4.การประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือนและการประเมินต่อสัญญาจ้างให้กับลูกจ้างประจำในทุกหกเดือนที่จำเป็นต้องทำให้ทันเวลาและเป็นไปอย่างถูกต้องโปร่งใสมีความยุติธรรม
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกคือหน่วยงานวิศวกรรมวิทยุโทรทัศน์มีหน่วยงานย่อยที่แตกต่างในภารกิจ
เครื่องมือ วิธีการทำงานทั้งหมดจำนวนเก้ากลุ่มย่อยด้วยกัน
บุคลากรทั้งหมดมีทั้งที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ
พนักงานของรัฐที่มีฐานอัตราเงินเดือนแตกต่างกันใช้เงินคนละก้อนกันอีกด้วย
และในความเป็นจริงแล้วย่อมมีทั้งการคาดคิดไปต่างๆนาๆผิดหวังบ้างสมหวังบ้างตามสมควร
หน้าที่สำคัญของหัวหน้าจำเป็นต้องชี้แจงถึงหลักเกณฑ์การประเมินที่ถูกต้องให้กับพนักงานทุกคนได้ทราบถึงวิธีและแนวทางที่เหมาะสม
5.การจัดสรรทีมงานให้กับหน่วยงานภายในหรือหน่วยงานภายนอกที่ขอความร่วมมือในการผลิตสื่อประเภทต่างๆ
ซึ่งประกอบด้วย การผลิตเนื้อหารายการเพื่อการศึกษา การฝึกอบรมนักศึกษาจากสาขานิเทศศาสตร์
สาขาศึกษาศาสตร์
การให้บริการบันทึกวิดีโอการให้บริการเว็บแคสท์และการให้บริการเฟซบุ้คเพื่อวิชาการหรือประชาสัมพันธ์หน่วยงานต่างๆที่เพิ่มปริมาณมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและทุกหน่วยงานที่ขอความร่วมมือเข้ามาต่างอ้างถึงเหตุผลความจำเป็นความต้องการที่จะได้รับบริการทั้งที่ในบางครั้งมีความจำกัดทั้งอุปกรณ์และผู้ปฏิบัติหน้าที่อันมีจำนวนจำกัด
หน้าที่ของหัวหน้างานคือความพยายามที่จะให้บริการอย่างทั่วถึงตามความสำคัญและลำดับก่อนหลังของงาน
ข้อสังเกตความแตกต่างของบทบาทการทำงาน
อาจมีมีผู้สงสัยตั้งคำถามว่าภาระหน้าที่
บทบาทของพนักงานและหัวหน้างานมีความแตกต่างกันอย่างไร
เพราะบางครั้งก็เห็นว่ามีทำงานคล้ายกัน แต่อาจไม่ทราบในรายละเอียดปลีกย่อยทั้งหมด
ดังนั้นการทราบถึงความแตกต่างในบทบาทดังกล่าวจึงเป็นความจำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาสู่การเป็นหัวหน้างานที่เหมาะสมต่อไป
บทบาทหน้าที่ของพนักงาน
1)
การเรียนรู้งาน เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่พนักงานจะต้องรู้วิธีการทำงานที่ตนได้รับมอบหมายว่างานนั้นๆ
มีขั้นตอนปฏิบัติอย่างไร ต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์อย่างไร
รวมถึงต้องประสานงานกับบุคคลใดหรือหน่วยงานใด
2) ปฏิบัติงาน เมื่อพนักงานมีความรู้
ความเข้าใจในงานของตนแล้ว สิ่งต่อไปคือการลงมือปฏิบัติ
เพราะเพียงแค่รู้แต่ไม่ลงมือปฏิบัติ ก็จะไม่เกิดผลงานออกมา
3) รับผิดชอบงานตามหน้าที่ เนื่องจากพนักงานมักจะได้รับการมอบหมายหน้าที่งานในลักษณะที่เฉพาะ
ชัดเจน ดังนั้นพนักงานเองก็มีหน้าที่จะต้องรับผิดและรับชอบในงานนั้นๆ
ตามผลงานที่ตนเองทำขึ้น
4) พัฒนาการปฏิบัติงานความคาดหวัง
อีกสิ่งหนึ่งสำหรับพนักงานก็คือการพัฒนางานที่ตนเองปฏิบัติ
เพราะพนักงานจะทราบดีถึงปัญหาในการทำงาน
และอาจจะมองเห็นวิธีการแก้ปัญหาที่ได้ผลดีกว่าบุคคลภายนอก นอกจากนี้พนักงานที่ทำงานและพัฒนาการปฏิบัติงานไปด้วย
ก็จะเป็นคนที่สามารถทำงานได้ดีกว่าคนอื่น ที่ทำๆ ไปโดยไม่คิดปรับปรุง
5) ปฏิบัติตามในฐานะพนักงาน
การรับทราบถึงนโยบาย วิธีการ และปฏิบัติตามเป็นสิ่งสำคัญ
แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าจะต้องปฏิบัติตามโดยไม่คิด แต่สามารถเสนอความคิดเห็นได้
แต่สุดท้ายเมื่อได้ข้อสรุปแล้วก็จะต้องปฏิบัติตามสิ่งที่หัวหน้างานกำหนด
บทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน
1)
เรียนรู้งาน และทีมงาน
จะเห็นว่าหัวหน้างานก็ยังต้องเรียนรู้ในเรื่องงานอยู่เหมือนกัน
แต่ต้องรู้งานในภาพรวมทั้งหมดของหน่วยงานที่เรารับผิดชอบ และที่สำคัญคือต้องเรียนรู้ว่าสมาชิกในหน่วยงานของเราเป็นใคร
มาจากไหน รับผิดชอบอะไร มีลักษณะเฉพาะของแต่ละคนอย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ทีมงาน
เพราะหัวหน้างานไม่ใช่บริหารเฉพาะงานแต่ต้องบริหารทีมงานด้วย
2)
บริหารทีมงาน
ความแตกต่างที่ชัดเจนในบทบาทของหัวหน้างานก็คือการดูแลคนอื่นให้ทำงานให้สำเร็จหรือการบริหารทีมงาน
ซึ่งเป็นภารกิจที่เพิ่มขึ้นมาจากเดิมที่เป็นพนักงานที่รับผิดชอบเฉพาะงานของตนเอง
3) รับผิดชอบเป้าหมายขององค์กร สิ่งหนึ่งที่หัวหน้างานมีบทบาทมากขึ้นก็คือการรับเป้าหมายจากองค์กร
ซึ่งโดยปกติองค์กรจะมีการวางแผนตั้งแต่ระดับบนสุดและจะมีการแตกย่อยเป้ามหายลงมาสู่ระดับล่าง
เพื่อให้แต่ละระดับช่วยกันทำงานให้บรรลุเป้าหมายย่อยซึ่งสุดท้ายจะรวมเป็นผลสำเร็จของเป้าหมายรวมทั้งหมด
ดังนั้นการรับผิดชอบในเป้าหมายย่อยของหน่วยงานที่รับผิดชอบจึงมีความสำคัญและส่งผลถึงความสำเร็จในเป้าหมายทั้งหมด
ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของหัวหน้างาน
4)
พัฒนาการปฏิบัติงาน และทีมงาน
ด้วยประสบการณ์ในการทำงานหรือความรู้ของบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นมาเป็นหัวหน้างาน
ความคาดหวังในอีกบทบาทหนึ่งก็คือการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หัวหน้างานจึงต้องไม่ให้ลูกน้องทำงานแบบเดิมๆ แต่ต้องคอยติดตามศึกษา
พัฒนาวิธีการทำงานร่วมกับลูกน้องตลอดเวลา
ซึ่งการพัฒนานี้จะรวมถึงการพัฒนาทีมให้รู้สึกร่วมในพลังของทีม
และทุ่มเทการทำงานร่วมกัน
5) เป็นผู้นำ สิ่งสุดท้ายที่สำคัญมากและหัวหน้างานบางคนไม่มีนั่นคือความสามารถในการเป็นผู้นำ
หัวหน้างานบางคนมีความสามารถสูงทางเทคนิค
วิธีการทำงานแต่ไม่สามารถนำสมาชิกในทีมได้
ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่หัวหน้างานโดยทั่วไปมีอยู่
แต่ความสามารถในการนำนี้เป็นสิ่งที่จะต้องฝึก ยกเว้นคนที่มีบุคลิกในการเป็นผู้นำมาตั้งแต่เกิด
ก็ถือว่าเป็นความโชคดี
แต่ในทางวิชาการเราเชื่อกันว่าความเป็นผู้นำสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้
คุณสมบัติพึงมี ของคนที่เหมาะสมต่อภาวะเป็นผู้นำ
ในชีวิตการทำงาน
นอกจากการมีเพื่อนร่วมงานดีจะนับเป็นความโชคดีแล้ว การได้
"หัวหน้าที่ดี" นับว่าเป็นสิ่งประเสริฐแก่บรรดาผู้ใต้บังคับบัญชา ของชีวิตการทำงานที่กินเวลา
1 ใน 3 ของวัน มาลองพิจารณาว่าหัวหน้าที่ดีควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
Leadership
คุณสมบัติโดยรวมของหัวหน้า
ข้อแรกที่ขาดไม่ได้คือ "ความเป็นผู้นำ" การกล้าที่จะตัดสินใจ
มีความเด็ดขาด และสิ่งสำคัญคือ ความรับผิดชอบ ทั้งต่องานตัวเองและผลงานที่ผู้ใต้บังคับบัญชาทำ
เมื่อเกิดความผิดพลาดต้องกล้าที่จะยอมรับผิด และปกป้องทีมงานตัวเองได้
ซึ่งจะช่วยสร้างความศรัทธาและเป็นที่น่าเคารพนับถือต่อส่วนรวม
Fair
"ความยุติธรรม"
คืออีกข้อสำคัญของผู้นำ เพราะผู้นำที่ดีจะไม่ให้ความสำคัญกับผู้ใต้บังคับบัญชาคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ
ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง และเห็นความสำคัญของทุกคน
โดยเชื่อว่าทุกคนล้วนมีศักยภาพและมีความสามารถในแต่ละด้านที่ต่างกัน
ผู้นำที่ดีจะเลือกใช้คนได้เหมาะสมกับงาน
Open Mind
"การเปิดใจรับฟัง"
เปิดกว้างทางความคิด ไม่เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง มีความจริงใจและรับฟังความคิดเห็นจากทีมงาน
เพราะต่างคนต่างความคิดและทุกคนมีสิทธิ์ที่จะแสดงความคิดเห็น
ซึ่งหัวหน้าที่ดีจะเปิดใจรับฟัง และเชื่อมั่นว่าผลงานที่ดีต้องเกิดจากการระดมสมอง
ช่วยกันคิดและแสดงความคิดเห็นจากทุกคนในทีม
ไม่ใช่ความคิดจากใครคนใดเพียงคนเดียวเท่านั้น
ที่สำคัญหัวหน้าที่ดีต้องมีความสามารถที่จะโน้มน้าวจิตใจของทุกคนในทีมให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้อย่างเต็มใจ
พร้อมทั้งช่วยสนับสนุน เป็นกำลังใจ และสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน
System
ผลงานจะดีได้จำเป็นต้องมีทีมที่ดี
และทีมที่ดีมักมีความเป็นมืออาชีพ ซึ่งต้องอาศัย
"การทำงานอย่างเป็นระบบ"
ผู้นำที่ดีควรมีการจัดระบบการทำงานที่ดีให้ทุกคนสามารถทำงานได้อย่างสอดคล้องกัน
รวมถึงการวางแผนขั้นตอนการทำงานอย่างละเอียดรอบคอบ ป้องกันการเกิดปัญหา
หรือเมื่อเกิดปัญหาก็สามารถจัดการได้
Capability
อีกสิ่งสำคัญของการจะเป็นผู้นำคนอื่นได้คือ
ควรจะเป็นบุคคลที่ "มีความสามารถ"
โดยนำความรู้ที่มีมาสร้างสรรค์ผลงานโดดเด่นให้กับองค์กร
และมีความสามารถอันเป็นที่ยอมรับ ไม่ว่าจะมีการศึกษาระดับไหน สถาบันใดก็ตาม
ควรมีความเชี่ยวชาญ รู้ลึก รู้จริง และสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ดีๆ ให้กับทีมงานได้
Plan well
หัวหน้าที่ดีต้องมีคุณสมบัติด้านกลยุทธ์
"วางแผนเก่ง" ซึ่งเป็นการบริหารคนและงานควบคู่กัน การมีเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้ทีมงานมีแนวทางที่ชัดเจนในการสร้างสรรค์ผลงานที่ดีที่สุดและเป็นประโยชน์ต่อองค์กร
Creative
ในยุคแห่งการแข่งขันที่ทุกองค์กรจำเป็นต้องก้าวให้ทันยุคสมัยและเทรนด์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ผู้นำยุคนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำตัวให้ทันกับโลกอยู่เสมอ
"มีความคิดสร้างสรรค์" ในการสร้างผลงานใหม่ๆ ให้กับองค์กรอยู่ตลอดเวลา
เพื่อนำพาทีมและองค์กรสู่ความสำเร็จ
Respect
การเป็นผู้นำที่ดี
ถึงจะมีอำนาจ แต่ย่อมไม่ถือตัว ปฏิบัติกับลูกน้องอย่าง "เคารพ"
สิทธิของความเป็นคน โดยเริ่มจากเห็นคุณค่าของความเป็นคน เอาใจเขามาใส่ใจเรา
ซึ่งโดยมากผู้ที่เป็นหัวหน้า ควรผ่านจุดที่เคยเป็นลูกน้องมาก่อน
ก็จะสามารถเข้าใจถึงความต้องการของลูกน้องได้เป็นอย่างดี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น