การเลือกใช้กล้องวิดีโอ





กล้องวิดีโอ
ประเภทของกล้องวิดีโอ
                ทุกวันนี้เราสามารถพบเห็นกล้องวิดีโอได้หลายรูปแบบ มีความแตกต่างกันทั้งรูปทรงและขนาดขึ้นอยู่กับว่านำไปใช้งานด้านใด มีตั้งแต่ขนาดที่สามารถใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อได้ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ต้องใช้คนช่วยกันยกมากกว่าหนึ่งคนเลยก็มี ถ้าดูจากด้านของประวัติศาสตร์ของกล้องวิดีโอแล้วจัดแบ่งเป็นกล้องชนิดใช้งานตามบ้านทั่วไป กล้องวิดีโอชนิดใช้ในงานอุตสาหกรรม และกล้องวิดีโอแบบสำหรับการใช้งานของมืออาชีพ แต่ในปัจจุบันนี้การแบ่งแยกด้วยวิธีการแบบเดิมอาจไม่ถูกต้องทั้งหมดเนื่องจากว่าบางครั้งกล้องวิดีโอที่ใช้งานตามบ้านที่มีขนาดเล็กอาจถูกนำมาใช้งานแบบมืออาชีพก็ได้ ในอดีตที่ผ่านมาการทำงานที่จำเป็นต้องใช้กล้องหลายตัวผ่านระบบวิดีโอสวิทช์เชอร์จำเป็นต้องใช้กล้องที่มีราคาแพงและจำเป็นต้องใช้เครื่องควบคุมการทำงานด้วยอุปกรณ์ควบคุมกล้องนั้นๆโดยเฉพาะ แต่ในปัจจุบันนี้ระบบการทำงานด้วยกล้องหลายตัวยอมให้ใช้กล้องหลายประเภทพร้อมกันได้ขึ้นอยู่กับสถานะการณ์และเงื่อนไขการทำงานนั้นๆ
                การเลือกใช้กล้องประเภทใดย่อมขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงานที่ต้องการว่าจะใช้กล้องแบบไหนเป็นตัวตัดสิน แล้วอะไรคือคำตอบของการใช้งานกล้องที่มีคุณภาพแบบมืออาชีพกัน ถ้าเราพิจารณาจากขนาดของตัวกล้องแล้วจะพบว่าหลายปีที่ผ่านมาตัวกล้องมีขนาดลดลงกว่าแต่ก่อนมาก ราคาถูกลงทั้งที่มีคุณภาพระดับความคมชัดสูงด้วยซ้ำ (HD)  และมีให้เลือกใช้ตั้งแต่ขนาดเท่าฝ่ามือสามารถใส่ในกระเป๋าเสื้อได้ก็มี  ดังนั้นด้วยเทคโนโลยีที่มีในปัจจุบันนี้ราคาของตัวอุปกรณ์กล้องเองไม่ได้เป็นตัวตัดสินว่างานที่ออกมาจากกล้องที่ราคาถูกจะมีคุณภาพด้อยกว่างานที่ได้จากกล้องราคาแพงกว่า ทั้งนี้พึงระลึกไว้เสมอว่าสิ่งสำคัญที่สุดอยู่ทีความรู้และความเข้าใจที่จะนำเอาภาพสื่อไปยังผู้ชมมากกว่า   
                การผลิตรายการโทรทัศน์ส่วนใหญ่แล้วเป็นการสร้างสรรค์ด้วยการใช้กล้องวิดีโอถ่ายทำเพียงกล้องเดียวแล้วจึงนำเอาเนื้อหารายการที่ถ่ายมาตัดต่อภายหลัง(single camera and post production) ด้วยวิธีการทำงานแบบนี้อันที่จริงแล้วอาจมีการใช้กล้องถ่ายทำมากกว่าหนึ่งตัวแล้วนำมาตัดต่อเรียงลำดับภาพเข้าด้วยกันภายหลัง     สำหรับอีกวิธีหนึ่งเป็นการใช้กล้องวิดีโอมากกว่าหนึ่งตัวแล้วทำการตัดต่อภาพด้วยการนำเอาสัญญาณภาพผ่านวิดีโอสวิทเชอร์เพื่อเลือกภาพเอาจากภาพแต่ละกล้องหรือหลายกล้องหร้อมกันก็ได้(multicamera production or live editting)
ส่วนประกอบและการใช้งาน
                โดยทั่วไปแล้วคุณลักษณะของกล้องวิดีโอย่อมประกอบด้วยสองส่วนคือคุณสมบัติทางกายภาพทั่วไปเช่นเรื่องของเลนส์ จอมองภาพหรือส่วนประกอบอื่นๆ และคุณสมบัติทางไฟฟ้า สำหรับในบทความนี้จะขอนำเสนอเฉพาะบางส่วนที่เป็นเชิงเทคนิคเท่านั้น  เพราะหลายอย่างเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
                Gain control  หมายถึงวงจรทางไฟฟ้าที่สามารถปรับระดับหรือตั้งไว้ที่ระดับอัตโนมัติเพื่อควบคุมระดับของสัญญาณวิดีโอที่ออกจากตัวกล้อง มีผลต่อความสว่างหรือมืดของภาพที่ออกมาบนจอ
                Auto-black  หมายถึงการปรับสัญญาณภาพในขณะที่ไม่มีแสงผ่านกล้องเลยให้มีสีดำสนิทตามมาตรฐานสัญญาณอ้างอิง
                Auto-iris  หมายถึงอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการปรับรูรับแสงของกล้องอย่างอัตโนมัติ(f-stop)เพื่อทำหน้าที่รักษาระดับของแสงที่ผ่านเลนส์เข้ามา ด้วยวิธีการทำงานแบบนี้ทำให้เป็นการป้องกันไม่ให้ภาพที่กำลังถ่ายทำมืดหรือสว่างเกินไป
                White balance หมายถึงการปรับแต่งวงจรไฟฟ้าภายในกล้องเพื่อให้ได้ภาพที่เหมาะสมตามสภาพอุณหภูมิสีของแสงสว่างที่ใช้ขณะถ่ายทำ เนื่องจากแหล่งกำเนิดแสงชนิดต่างๆหรือแสงจากธรรมชาติมีอุณหภูมิสีที่ไม่เท่ากัน วิธีการปรับทำได้โดยการจับภาพไปที่วัตถุที่เป็นสีขาวแล้วทำการกดปุ่มนี้
                Backlight control หมายถึงการควบคุมรูรับแสงของเลนส์ที่มีการทำงานระดับสูงกว่าการควบคุมด้วยวิธีการเปิดหน้ากล้องอัตโนมัติ(auto iris)   เพื่อป้องกันการเปิดรูรับแสงน้อยเกินไปจากการอ่านข้อมูลไม่ถูกต้องชัดเจนของกล้อง
                Black stretch or gamma adjustment หมายถึงการปรับแต่งและควบคุมวงจรทางไฟฟ้าของกล้องเพื่อให้ภาพที่อยู่ในเงามืดมีรายละเอียดชัดเจนและมีโทนสีถูกต้องตามความเป็นจริง แต่ในที่นี้จะมีความหมายต่างกับการเน้นความแตกต่างของภาพ(contrast compression)ที่จะเน้นระดับความตัดกันด้วยวิธีการปรับตั้งค่าแกมม่าที่ระดับต่างๆเช่น 1.0 จะให้ภาพที่ดูหยาบแบบละคร ในขณะที่การตั้งค่าแกมม่าไว้ทีระดับต่ำๆเช่น 0.4 จะได้ภาพที่มีคุณภาพอ่อนนุ่มและดูแบนราบ การปรับแต่งทั้งหมดที่ว่านี้จำเป็นต้องใช้ผู้ที่มีประสบการณ์และเครื่องมือตรวจวัดสัญญาณวิดิโอ
                Camera cable หมายถึงสายกล้องที่ต่อจากตัวกล้องไปยังตัวควบคุมกล้อง(CCU)เพื่อทำหน้าที่รับส่งสัญญาณต่างๆดังนี้  จ่ายแรงดันไฟฟ้าให้กับตัวกล้อง ระบบการทำงานร่วมกัน(sync) ระบบติดต่อสื่อสาร(intercom)  และอื่นๆ รวมไปถึงการเชื่อมต่อสัญญาณภาพและเสียงไปยังอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
                Color correction filters หมายถึงการปรับชดเชยความแตกต่างของอุณหภูมิสีของแสงจากแหล่งต่างๆเช่น แสงแดดธรรมชาติในช่วงเวลาต่างๆ หรือในกรณีที่เป็นแสงจากหลอดไฟฟ้าชนิดต่างๆที่มีอุณหภูมิสีตั้งแต่ 3200 -6000 องศาเคลวิล (สีขาวที่ออกแดงจนถึงสีขาวอมน้ำเงิน) ถึงแม้ว่าเราจะมีระบบปรับแสงสีขาวอัตโนมัติอยู่แล้วก็ตาม (auto white balance) แต่ในกรณีที่ความแตกต่างของอุณหภูมิแสงมีมากก็จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์นี้เพื่อควบคุมแสงที่ผ่านเลนส์เข้ามาให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
                Macro ที่ตัวเลนส์ซูมส่วนใหญ่แล้วจะมีตำแหน่งที่ระบุไว้ว่าเป็นช่วงที่ยอมให้สามารถปรับความคมชัดที่ระยะใกล้กับวัตถุมากๆได้มากกว่าเลนส์ตามปกติ
                Image stabilizer ระบบนี้ทำหน้าที่ชดเชยให้กับการสั่นไหวของตัวกล้องเพื่อลดทอนอาการสั่นสะเทือนของภาพที่ปรากฎบนจอให้ลดลงได้ระดับหนึ่ง
               Preset บนกล้องประเภทระดับใช้งานตามบ้านเรือนทั่วไปแล้วมักมีวิธีการเลือกรูปแบบการใช้งานในแต่ละสภาพโอกาสเช่น การถ่ายกิจกรรมกีฬา สภาพมีฝนตกหรืออาจเป็นหิมะในที่หนาวเย็น และถือว่าเป็นการเลือกการปรับแบบทั่วไปแต่ไม่จำเป็นต้องแนะนำให้กับช่างภาพประเภทที่ระมัดระวังในเรื่องที่เป็นการทำงานของกล้องวิดีโอ
                Shutter speed ใช้ป้องกันไม่ให้ภาพที่มีการเคลื่อนไหวพร่ามัวและช่วยปรับปรุงรายละเอียดภาพการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว สรุปให้มากขึ้นเป็นการปิดแล้วเปิดภาพด้วยอัตราที่มากกว่าเศษหนึ่งส่วนห้าสิบวินาที  การปรับความเร็วด้วยระบบอิเลคทรอนิคส์ ทำได้ตั้งแต่ 1/125 – 1/400 และมากขึ้นไปอีกนั้นช่วยลดอาการพร่ามัวที่เกิดจากการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง แต่ก็จำเป็นต้องมีระดับของแสงสว่างมากตามไปด้วย
                Standby switch การปรับเช่นนี้ทำให้ประหยัดพลังงานของแบตเตอรี่ในช่วงที่หยุดกิจกรรมหรือหยุดพักการซ้อม ในกล้องบางตัวอาจใช้วิธีปิดระบบจ่ายพลังงานแบบอัตโนมัติถ้าหยุดการใช้งานลงต่อเนื่องกันหลายๆนาที
                Timecode นี่เป็นชุดอนุกรมของจำนวนลำดับภาพที่แม่นยำ หมายเลขกำหนดวิดีโอเฟรมรวมไปถึงชั่วโมง นาที วินาที เวลาที่ผ่านล่วงเลยไปเท่าใดแล้ว
                Genlock input เมื่อเป็นการใช้งานในรูปแบบของกล้อง ENG ตัวกล้องจะสร้างระบบสัญญาณรูปคลื่นการสะแกนด้วยวงจรไฟฟ้าภายในตัวกล้องเองเพื่อให้ทำงานได้คงที่ ช่องต่อสัญญาณ gunlock ยินยอมให้ external sync ผ่านเข้ามาที่ตัวกล้องได้ ในวิธีการผลิตรายการชนิดที่มีหลายกล้องทำงานร่วมกันจำเป็นต้องให้ทุกกล้องทำงานโดยพร้อมเพรียงกันด้วยสัญญาณ sync ที่ตัวกำเนิดสัญญาณป้อนสร้างมันขึ้นมา(sync generator)


เรื่องของกล้องยังมีอีกยาวหลายตอนครับ  

      



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การถ่ายทอดสดนอกสถานที่(Outside Broadcasting)

Automation solution