การบันทึกเสียงในวิดีโอตอนที่สอง(Audio For Video part 2)
Audio for Video (part 2)
มันเป็นเรื่องยุ่งยากมากในกรณีที่ต้องบันทึกเสียงประเภทระดับความดังขนาดกระซิบข้างหูไปจนกระทั่งขนาดเสียงที่ดังมากชนิดแผดสนั่น เพราะว่าที่ระดับเสียงดังมากจะเกินกว่าความสามารถของอุปกรณ์ในระบบจะรองรับได้ ผู้ทีทำหน้าที่ในระบบเสียงจำเป็นต้องทำการชดเชยด้วยวิธีการใดวิธีหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วสิ่งที่ทำกันมักเป็นการลดระดับของอัตราขยายในระบบเสียงให้ต่ำลงไม่ให้เกินไปกว่าข้อจำกัดของระดับสูงสุด แต่ทว่าการกระทำเช่นนั้นย่อมทำให้ไม่ได้ยินเสียงในส่วนที่มีระดับความดังน้อยๆอยู่แล้ว ดังนั้นย่อมต้องหาวิธีการบางอย่างมาทำการควบคุมระดับเสียงให้เหมาะสมต่อการรับฟัง
Automatic gain control (AGC)
ที่ตัวกล้องถ่ายวิดีโอทั่วไปแล้วผู้ใช้สามารถเลือกการปรับตั้งระดับเสียงได้ทั้งแบบปรับระดับโดยอัตโนมัติและแบบผู้ใช้ปรับระดับเอง เพื่อให้สามารถหลีกเลี่ยงการบันทึกเสียงที่มีระดับสัญญาณสูงเกินและเป็นเหตุให้เกิดความเพี้ยนขึ้นในระบบ สำหรับการทำงานของระบบปรับระดับเสียงแบบอัตโนมัติจะทำการลดอัตราขยายเมื่อสัญญาณขาเข้าสูงจนถึงระดับทีกำหนด
ในระบบที่ได้ทำการปรับตั้งไว้ให้เป็นแบบปรับระดับสัญญาณโดยอัตโนมัตินั้น เมื่อระดับเสียงที่ผ่านไมโครโฟนเป็นเสียงเบาๆมันจะถูกยกระดับให้ดังเพิ่มขึ้นและถ้าเสียงที่ดังเกินจะถูกปรับระดับให้ลดลง แต่ทว่าปัญหาที่เกิดจากระบบนี้ก็คือถ้าเสียงพูดหรือเสียงใดที่ต้องการบันทึกหยุดลงเป็นช่วงๆแล้วระบบจะทำการปรับขยายระดับสัญญาณเสียงที่อยู่ในสภาพแวดล้อมหรือเสียงรบกวนทันทีทำให้ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรใช้วิธีการปรับระดับเสียงด้วยตัวเองจะให้ผลดีกว่ามาก
Manual control
วิธีการที่ถูกต้องในการปรับระดับสัญญาณเสียงก็คือการฟังตลอดเวลาพร้อมกับเฝ้าดูระดับของสัญญาณที่เครื่องวัดไปด้วย ผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมเสียงต้องคอยปรับอัตราขยายในระบบเสียงเท่าที่จำเป็นเพื่อให้ได้รับคุณภาพเสียงที่ดี แต่ไม่ได้หมายความว่าระดับของความดังจะต้องราบเรียบเท่ากันตลอดเวลาด้วยการทำให้เสียงที่ควรมีระดับเบาๆดังเทียบเท่ากับเสียงที่ดังมากๆ ถ้าเป็นแบบนั้นแล้วเท่ากับว่าเป็นความล้มเหลวของการบันทึกเสียงเลยทีเดียว ในทางปฏิบัติแล้วเมื่อเสียงเบาลงต้องเพิ่มอัตราขยายทีละน้อยและในทางกลับกันการปรับลดก็ต้องทำอย่างช้าๆ ดังนั้นผู้ฟังก็จะไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงของการปรับระดับสัญญาณที่จำเป็นและเหมาะสมกับข้อจำกัดของอุปกรณ์ระบบเสียง
การยอมให้ระดับเสียงที่เบาที่สุดเป็นเท่าไรขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของรายการนั้นๆ สำหรับตัวอย่างถ้าเป็นรายการที่บันทึกในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงรบกวนมากหรือทำการบันทึกนอกสถานที่ ก็อาจทำได้ดีที่สุดด้วยการรักษาระดับไว้ที่ -15 dB แต่ถ้าเป็นการบันทึกเสียงเปียโนที่ช่วงที่มีเสียงดังๆแล้วอาจมีความดังได้ถึง 120 dB ข้อควรระวังก็คืออย่าให้เกินระดับจนทำให้เกิดความเพี้ยนของเสียงดนตรีและควรใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ให้เต็มศักยภาพของย่านการปรับแต่งในระบบอุปกรณ์นั้นๆ
การใช้วิธีปรับระดับสัญญาณเสียงด้วยตัวเองมีความแตกต่างไปจากวงจรการควบคุมระดับสัญญาณแบบอัตโนมัติคือผู้ควบคุมระบบเสียงสามารถที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องและทำการตัดสินใจอย่างมีศิลปะซึ่งทำให้เสียงที่ได้ออกมาเป็นไปตามต้องการ การควบคุมระดับเสียงด้วยตัวเจ้าหน้าที่ระบบเสียงเองนั้นจำเป็นต้องระแวดระวังตลอดเวลาพร้อมที่จะปรับแต่งตามความจำเป็นใดก็ตาม แต่ถ้าพวกเขาเหล่านั้นไม่ระมัดระวังแล้วผลที่ได้รับอาจไม่ดีเท่ากับวงจรการปรับระดับสัญญาณแบบอัตโนมัติทำได้
มีการแสดงระดับของสัญญาณเสียงอยู่หลายรูปแบบ แต่ที่เป็นความนิยมใช้ในวงการอุปกรณ์วิดีโอทั่วไปแล้วเรียกกันว่าวียูมิเตอร์ที่อาจเป็นระบบเข็มวัดหรือเป็นแถบของหลอดแอลอีดีก็ได้ ที่ตัววียูมิเตอร์จะมีตัวเลขบ่งชี้ไว้เป็นจำนวนระดับของดีบีหรือเป็นจำนวนของเปอร์เซ็นต์ ระดับของสัญญาณสูงสุดจะเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์หรือเท่ากับศูนย์วียูและถ้าเกินจากระดับนี้จะเป็นแถบของสีแดงซึ่งหมายถึงเสียงเริ่มต้นจะมีความเพี้ยนแล้ว ถึงแม้ว่าในบางโอกาสระดับยอดของสัญญาณสูงสุดอาจเลยระดับนี้ไปบ้าง แต่ในระดับเสียงตามปกติแล้วไม่ควรให้เกินจากระดับนี้มากนักก็เป็นที่ยอมรับได้
ในทางอุดมคติแล้วการปรับแต่งระดับเสียงสามารถทำได้ขณะทำการซ้อม แต่อย่างไรก็ดีถ้าการแสดงนั้นๆต้องทำการบันทึกโดยปราศจากการซ้อมแล้วควรขอร้องให้ผู้แสดงพูดประโยคสั้นๆแล้วทำการปรับแต่งให้เหมาะสมแม่นยำ มันจะเป็นการดีที่สุดถ้าจะให้ผู้แสดงใช้น้ำเสียงตามปกติสักสองสามนาทีด้วยการอ่านหนังสือหรือท่องตามบทก็ได้ แต่อย่าใช้วิธีให้พวกเขานับเลขหรือพูดคำว่า”เทสต์”เพราะว่าไม่เป็นไปตามธรรมชาติของการพูดผลลัพธ์ที่ได้มักไม่แม่นยำพอ
มันเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังคุณภาพของเสียงและรวมไปถึงความรู้สึกรับรู้ระดับความดังของเสียงที่แตกต่างกันในขณะจ้องมองระดับของสัญญาณด้วยสายตา แต่ถ้าหากว่าผลที่ได้รับไม่เป็นที่พอใจแล้วเราอาจจำเป็นต้องขอร้องให้ผู้แสดงพูดเสียงดังขึ้นหรือเบาลงหรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนตำแหน่งของตัวไมโครโฟนก็สามารถกระทำได้เพื่อให้ได้รับคุณภาพเสียงที่ดีขึ้น
The audio mixer
ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการเลือกบันทึกเสียงจากหลายแหล่งเสียงเข้าด้วยกันแล้วเครื่องผสมสัญญาณเสียงย่อมเป็นสิ่งจำเป็น เช่นในกรณีที่มีไมโครโฟนหลายตัว เสียงจากเครื่องเล่นซีดี เสียงจากเครื่องบันทึกเสียง เสียงทั้งหมดนี้สามารถนำมารวมกันแล้วป้อนเข้าสู่อุปกรณ์ที่ต้องการนำมาต่อพ่วงกับตัวเครื่องผสมสัญญาณเสียง ที่ด้านหน้าหรือด้านบนของตัวเครื่องมิกเซอร์จะเต็มไปด้วยกลุ่มของปุ่มปรับและอุปกรณ์ที่มีลักษณะเลื่อนขึ้นลงได้ที่เรียกว่า”เฟดเดอร์”จำนวนหลายชุดเอาไว้ใช้ปรับแต่งสัญญาณเสียงของแต่ช่องสัญญาณขาเข้าและสัญญาณรวมขาออก
สำหรับในเครื่องผสมสัญญาณเสียงที่มีขนาดใหญ่แล้วยังมีส่วนที่ทำหน้าที่รวมสัญญาณของแต่ละช่องให้รวมกันเป็นกลุ่มย่อยก่อนที่จะนำไปผสมเสียงของแต่ละกลุ่มเหล่านั้นเข้าด้วยกันอีกทีแล้วส่งต่อไปยังส่วนที่เรียกว่า”มาสเตอร์เฟดเดอร์”ที่ทำหน้าที่ปรับระดับเสียงทั้งหมดในขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะส่งต่อไปที่อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆเช่นเครื่องบันทึกวิดีโอหรือการออกอากาศสดไปยังผู้ชมโดยตรง
นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอื่นอีกเช่น ส่วนของการรับฟังเสียงจากแต่ละช่องสัญญาณที่ต่อมาจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างหรือเสียงที่ได้ทำการผสมทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้วด้วยลำโพงหรือหูฟัง ส่วนของการให้สัญญาณคิว ส่วนของการแสดงและกำหนดเส้นทางและส่วนของการวัดเพื่อแสดงระดับของสัญญาณ เป็นต้น
การใช้เครื่องผสมสัญญาณเสียง
การใช้งานเครื่องผสมสัญญาณเสียงไม่ได้มีเพียงแค่การเลื่อนเฟดเดอร์ขึ้นลงเพื่อปรับระดับสัญญาณเสียงที่มาจากไมโครโฟนแต่ละตัวเพียงอย่างเดียว แต่มันมีกระบวนการทำงานที่ซับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้องอีกมากมายดังตัวอย่างต่อไปนี้
1) ในงานการแสดงสดที่จำเป็นต้องส่งออกอากาศหรือบันทึกเทปตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ย่อมต้องเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่รวดเร็วมีความรู้สึกถึงความเร่งด่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ทำให้ต้องระมัดระวังมากขึ้น แตกต่างไปจากการทำงานแบบผลิตรายการที่ต้องทำการบันทึกเทปไปทีละฉากที่มีเวลาพอที่จะสามารถเตรียมการระบบเสียงไว้ก่อนและถ้ามีการผิดพลาดก็ทำการแก้ไขปรับปรุงได้
2) ในกรณีที่มีแหล่งกำเนิดเสียงหลายแหล่งจำเป็นต้องมีการให้คิวที่แม่นยำแก่ผู้พูดแต่ละคนอันอาจเกิดความสับสนได้ควรมีการตกลงกันไว้ล่วงหน้าเสียก่อนเพื่อลดความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้น
3) ถ้ามีแหล่งเสียงที่เกิดจากการเตรียมเอาไว้ล่วงหน้าแล้วก็ต้องทำการตรวจสอบเสียก่อน แต่ถ้าในกรณีของสัญญาณที่ถูกส่งเข้ามาแบบสดๆแล้วยังมีความจำเป็นต้องปรับแต่งและควบคุมระดับเสียงอีกอย่างต่อเนื่องหรือไม่
ทั้งหมดเหล่านี้เป็นเรื่องซับซ้อนเพียงเล็กน้อยที่ต้องทำการตัดสินใจว่าจะผสมสัญญาณเสียงเหล่านี้แบบใด ต่อไปนี้เราลองมาดูการทำงานบางรูปแบบกัน
1) ต้องทำการเลื่อนตัวเฟดเดอร์ขึ้นก่อนที่แหล่งเสียงนั้นจะเริ่มต้นและเลื่อนเฟดเดอร์ลงภายหลังจากที่เสียงนั้นจบลง
2) ถ้าแหล่งเสียงใดที่ไม่ได้ใช้ในขณะนั้นควรทำการปิดช่องสัญญาณนั้นเลยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุการบันทึกเสียงโดยไม่ตั้งใจ หรือกรณีไมโครโฟนของผู้ที่ยังไม่มีคิวพูดก็ควรลดเฟดเดอร์ลงสุด
3) มันเป็นเรื่องสำคัญมากของการเลือกแหล่งเสียงทีถูกต้องเพื่อเลื่อนตัวเฟดเดอร์ขึ้นลงให้ถูกจังหวะที่เหมาะสม ควรใช้วิธีการแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยต่างหาก
4) เมื่อทำการผสมเสียงจากหลายแหล่งเข้าด้วยกัน ไม่ควรปรับทุกแหล่งเสียงไว้ที่ระดับความดังที่สูงสุดเท่ากันทั้งหมด แต่ควรทำการผสมผสานให้เป็นไปตามข้อกำหนดขององค์ประกอบโดยรวม ตัวอย่างเช่นการใช้ไมโครโฟนเพื่อบันทึกเสียงจากเครื่องดนตรีหลายชนิดพร้อมกัน เครื่องดนตรีแต่ละชนิดย่อมมีระดับความดังแตกต่างกันดังนั้นจึงควรปรับให้เสียงที่ออกมาเป็นธรรมชาติที่สุด
5) ในบางครั้งความสัมพันธ์เชิงปริมาณของเสียงจำเป็นต้องปรับเพื่อก่อให้เกิดภาพมายาของระยะห่าง เช่นถ้าเป็นเสียงจากเครื่องโทรศัพท์ที่ดังมากก็แสดงว่าอยู่ใกล้แต่ถ้าดังเบาก็แสดงว่าอยู่ห่างไกลออกไป
6) เสียงที่จำเป็นต้องทำการเน้นอย่างรอบคอบ ตัวอย่างเช่นเราอาจเลือกที่จะปรับระดับเสียงของกลุ่มฝูงชนให้ดังขึ้นชั่วขณะเพื่อสร้างผลกระทบในด้านละคร
7) ในขั้นตอนท้ายที่สุดแล้วการผสมเสียงจำเป็นต้องให้เหมาะสมพอดีกับอารมณ์โดยรวมของวัตถุประสงค์ในการผลิตรายการนั้นๆ
เสียงตามธรรมชาติ
การผลิตรายการวิดีโอทั้งหมดถูกสร้างขึ้นจากการถ่ายทำทีละฉากต่อเนื่องกัน การถ่ายทำต้องให้เป็นไปตามข้อเงื่อนไขที่กำหนดให้เหมาะสมและสะดวกที่สุด แล้วนำมาเรียบเรียงตัดต่อเข้าด้วยกันภายหลังเพื่อให้เป็นรายการที่สมบูรณ์ การทำงานแบบนี้มีทั้งข้อดีและข้อด้อย ตราบใดที่มีเรื่องของเสียงเข้ามาเกี่ยวข้องย่อมมีความยุ่งยากหลายประการ
ประการแรกของทั้งหมด เนื่องจากว่าการถ่ายทำหลายฉากในลำดับที่ต่อเนื่องกันถูกบันทึกที่เวลาแตกต่างกัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญของขนาดและคุณภาพสัญญาณที่นำมาตัดต่อต้องเหมาะสมเข้ากันได้ดี มิฉะนั้นจะเกิดความแตกต่างระหว่างฉากต่อฉากขึ้นได้เช่นถ้าฉากแรกใช้ไมโครโฟนรับเสียงระยะใกล้แต่ในฉากถัดมาเอาไมโครโฟนไปไว้อยู่ห่างไกลย่อมมีผลที่แตกต่างกัน
เมื่อทำการตัดต่อเรียบเรียงลำดับภาพที่ถ่ายทำจากเวลาที่แตกต่างกันเสียงที่เป็นสภาพแวดล้อมย่อมมีความแตกต่างกันไปด้วย เช่นเสียงที่เกิดจากเครื่องบิน เครื่องจักรกล เครื่องอุปกรณ์ก่อสร้าง เป็นต้น เสียงเหล่านี้มักดังและหยุดโดยไม่แน่นอน และเมื่อนำเอาแต่ละช่วงมาเรียบเรียงเข้าด้วยกันย่อมมีเสียงสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
เมื่ออยู่ในสถานที่ถ่ายทำแล้วเรื่องดีที่ควรกระทำคือการบันทึกเสียงสภาพแวดล้อมหรือเสียงรบกวนตามธรรมชาติเอาไว้ก่อน มันไม่สำคัญว่าภาพที่ปรากฏบนจอจะเป็นอะไรเพียงแต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเสียงเท่านั้น และในบางครั้งมันอาจเป็นประโยชน์ให้กับผู้ทำหน้าที่ตัดต่อใช้เป็นเสียงแบคกราวด์เพื่ออ้างอิงสถานที่ได้เป็นอย่างดี
ถึงแม้ว่าในบางสถานที่ดูเสมือนว่าสภาพสิ่งแวดล้อมจะเงียบสงบ แต่ก็ยังมีเสียงรบกวนระดับต่ำๆเช่นเสียงเครื่องปรับอากาศหรือเสียงครางเบาๆจากเครื่องมือบางอย่าง เสียงทีเกิดจากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติแบบนี้มีประโยชน์ใช้ครอบคลุมบางช่วงเวลาในระหว่างตัดต่อที่แต่ละฉากมีเสียงที่แตกต่างไม่เหมาะสมกัน เราจำเป็นต้องใช้เสียงแบคกราวด์ที่ว่าเพื่อเป็นสะพานเชื่อมต่อฉากเหล่านั้นเข้าด้วยกัน
คราวหน้าเป็นเรื่องของกล้องวิดีโอครับ
การควบคุมระดับสัญญาณเสียง
Dynamic
range
ในชีวิตประจำวันเราจะพบกับสภาพแวดล้อมของเสียงทุกระดับย่านของความดัง แต่นับว่าเป็นโชคดีของพวกเราที่หูของมนุษย์สามารถที่จะทำการปรับอัตราการฟังให้คลอบคลุมเสียงที่มีความดังแตกต่างกันอย่างมากนี้ได้อย่างน่าประหลาดใจ
แต่ทว่าอุปกรณ์ในระบบเสียงไม่มีความสามารถเช่นนั้นได้
ถ้าหากว่าสัญญาณเสียงมีขนาดมากเกินกว่าที่อุปกรณ์ในระบบจะรองรับได้แล้วย่อมก่อให้เกิดสภาวะที่อุปกรณ์นั้นๆต้องทำงานเกินกำลังแล้วสิ่งเลวร้ายที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือความเพี้ยน
ในทำนองที่ตรงกันข้ามกรณีที่ระดับของสัญญาณเสียงมีระดับต่ำเกินไปแล้วมันก็ย่อมจมหายไปในเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมทั่วไป ดังนั้นถ้าเราต้องการให้ได้รับเสียงที่ชัดเจนแจ่มใสตามความเป็นจริงก็จำเป็นต้องรักษาระดับของสัญญาณให้อยู่ในข้อจำกัดของระบบเสียงนั้นด้วย
ไม่ใช่ว่าเสียงทั้งหมดจะสร้างปัญหาให้กับระบบ
เสียงส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในระดับค่อนข้างปานกลางไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป ดังนั้นเสียงประเภทนี้จึงมีระดับความดังแตกต่างกันน้อยทำให้เวลาบันทึกเสียงไม่จำเป็นต้องเข้มงวดเรื่องอัตราขยายมากนักแค่ทำการปรับไว้ที่ระดับเกณฑ์เฉลี่ยเหมาะสมก็เพียงพอแล้ว มันเป็นเรื่องยุ่งยากมากในกรณีที่ต้องบันทึกเสียงประเภทระดับความดังขนาดกระซิบข้างหูไปจนกระทั่งขนาดเสียงที่ดังมากชนิดแผดสนั่น เพราะว่าที่ระดับเสียงดังมากจะเกินกว่าความสามารถของอุปกรณ์ในระบบจะรองรับได้ ผู้ทีทำหน้าที่ในระบบเสียงจำเป็นต้องทำการชดเชยด้วยวิธีการใดวิธีหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วสิ่งที่ทำกันมักเป็นการลดระดับของอัตราขยายในระบบเสียงให้ต่ำลงไม่ให้เกินไปกว่าข้อจำกัดของระดับสูงสุด แต่ทว่าการกระทำเช่นนั้นย่อมทำให้ไม่ได้ยินเสียงในส่วนที่มีระดับความดังน้อยๆอยู่แล้ว ดังนั้นย่อมต้องหาวิธีการบางอย่างมาทำการควบคุมระดับเสียงให้เหมาะสมต่อการรับฟัง
Automatic gain control (AGC)
ที่ตัวกล้องถ่ายวิดีโอทั่วไปแล้วผู้ใช้สามารถเลือกการปรับตั้งระดับเสียงได้ทั้งแบบปรับระดับโดยอัตโนมัติและแบบผู้ใช้ปรับระดับเอง เพื่อให้สามารถหลีกเลี่ยงการบันทึกเสียงที่มีระดับสัญญาณสูงเกินและเป็นเหตุให้เกิดความเพี้ยนขึ้นในระบบ สำหรับการทำงานของระบบปรับระดับเสียงแบบอัตโนมัติจะทำการลดอัตราขยายเมื่อสัญญาณขาเข้าสูงจนถึงระดับทีกำหนด
ในระบบที่ได้ทำการปรับตั้งไว้ให้เป็นแบบปรับระดับสัญญาณโดยอัตโนมัตินั้น เมื่อระดับเสียงที่ผ่านไมโครโฟนเป็นเสียงเบาๆมันจะถูกยกระดับให้ดังเพิ่มขึ้นและถ้าเสียงที่ดังเกินจะถูกปรับระดับให้ลดลง แต่ทว่าปัญหาที่เกิดจากระบบนี้ก็คือถ้าเสียงพูดหรือเสียงใดที่ต้องการบันทึกหยุดลงเป็นช่วงๆแล้วระบบจะทำการปรับขยายระดับสัญญาณเสียงที่อยู่ในสภาพแวดล้อมหรือเสียงรบกวนทันทีทำให้ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรใช้วิธีการปรับระดับเสียงด้วยตัวเองจะให้ผลดีกว่ามาก
Manual control
วิธีการที่ถูกต้องในการปรับระดับสัญญาณเสียงก็คือการฟังตลอดเวลาพร้อมกับเฝ้าดูระดับของสัญญาณที่เครื่องวัดไปด้วย ผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมเสียงต้องคอยปรับอัตราขยายในระบบเสียงเท่าที่จำเป็นเพื่อให้ได้รับคุณภาพเสียงที่ดี แต่ไม่ได้หมายความว่าระดับของความดังจะต้องราบเรียบเท่ากันตลอดเวลาด้วยการทำให้เสียงที่ควรมีระดับเบาๆดังเทียบเท่ากับเสียงที่ดังมากๆ ถ้าเป็นแบบนั้นแล้วเท่ากับว่าเป็นความล้มเหลวของการบันทึกเสียงเลยทีเดียว ในทางปฏิบัติแล้วเมื่อเสียงเบาลงต้องเพิ่มอัตราขยายทีละน้อยและในทางกลับกันการปรับลดก็ต้องทำอย่างช้าๆ ดังนั้นผู้ฟังก็จะไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงของการปรับระดับสัญญาณที่จำเป็นและเหมาะสมกับข้อจำกัดของอุปกรณ์ระบบเสียง
การยอมให้ระดับเสียงที่เบาที่สุดเป็นเท่าไรขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของรายการนั้นๆ สำหรับตัวอย่างถ้าเป็นรายการที่บันทึกในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงรบกวนมากหรือทำการบันทึกนอกสถานที่ ก็อาจทำได้ดีที่สุดด้วยการรักษาระดับไว้ที่ -15 dB แต่ถ้าเป็นการบันทึกเสียงเปียโนที่ช่วงที่มีเสียงดังๆแล้วอาจมีความดังได้ถึง 120 dB ข้อควรระวังก็คืออย่าให้เกินระดับจนทำให้เกิดความเพี้ยนของเสียงดนตรีและควรใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ให้เต็มศักยภาพของย่านการปรับแต่งในระบบอุปกรณ์นั้นๆ
การใช้วิธีปรับระดับสัญญาณเสียงด้วยตัวเองมีความแตกต่างไปจากวงจรการควบคุมระดับสัญญาณแบบอัตโนมัติคือผู้ควบคุมระบบเสียงสามารถที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องและทำการตัดสินใจอย่างมีศิลปะซึ่งทำให้เสียงที่ได้ออกมาเป็นไปตามต้องการ การควบคุมระดับเสียงด้วยตัวเจ้าหน้าที่ระบบเสียงเองนั้นจำเป็นต้องระแวดระวังตลอดเวลาพร้อมที่จะปรับแต่งตามความจำเป็นใดก็ตาม แต่ถ้าพวกเขาเหล่านั้นไม่ระมัดระวังแล้วผลที่ได้รับอาจไม่ดีเท่ากับวงจรการปรับระดับสัญญาณแบบอัตโนมัติทำได้
มีการแสดงระดับของสัญญาณเสียงอยู่หลายรูปแบบ แต่ที่เป็นความนิยมใช้ในวงการอุปกรณ์วิดีโอทั่วไปแล้วเรียกกันว่าวียูมิเตอร์ที่อาจเป็นระบบเข็มวัดหรือเป็นแถบของหลอดแอลอีดีก็ได้ ที่ตัววียูมิเตอร์จะมีตัวเลขบ่งชี้ไว้เป็นจำนวนระดับของดีบีหรือเป็นจำนวนของเปอร์เซ็นต์ ระดับของสัญญาณสูงสุดจะเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์หรือเท่ากับศูนย์วียูและถ้าเกินจากระดับนี้จะเป็นแถบของสีแดงซึ่งหมายถึงเสียงเริ่มต้นจะมีความเพี้ยนแล้ว ถึงแม้ว่าในบางโอกาสระดับยอดของสัญญาณสูงสุดอาจเลยระดับนี้ไปบ้าง แต่ในระดับเสียงตามปกติแล้วไม่ควรให้เกินจากระดับนี้มากนักก็เป็นที่ยอมรับได้
ในทางอุดมคติแล้วการปรับแต่งระดับเสียงสามารถทำได้ขณะทำการซ้อม แต่อย่างไรก็ดีถ้าการแสดงนั้นๆต้องทำการบันทึกโดยปราศจากการซ้อมแล้วควรขอร้องให้ผู้แสดงพูดประโยคสั้นๆแล้วทำการปรับแต่งให้เหมาะสมแม่นยำ มันจะเป็นการดีที่สุดถ้าจะให้ผู้แสดงใช้น้ำเสียงตามปกติสักสองสามนาทีด้วยการอ่านหนังสือหรือท่องตามบทก็ได้ แต่อย่าใช้วิธีให้พวกเขานับเลขหรือพูดคำว่า”เทสต์”เพราะว่าไม่เป็นไปตามธรรมชาติของการพูดผลลัพธ์ที่ได้มักไม่แม่นยำพอ
มันเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังคุณภาพของเสียงและรวมไปถึงความรู้สึกรับรู้ระดับความดังของเสียงที่แตกต่างกันในขณะจ้องมองระดับของสัญญาณด้วยสายตา แต่ถ้าหากว่าผลที่ได้รับไม่เป็นที่พอใจแล้วเราอาจจำเป็นต้องขอร้องให้ผู้แสดงพูดเสียงดังขึ้นหรือเบาลงหรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนตำแหน่งของตัวไมโครโฟนก็สามารถกระทำได้เพื่อให้ได้รับคุณภาพเสียงที่ดีขึ้น
The audio mixer
ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการเลือกบันทึกเสียงจากหลายแหล่งเสียงเข้าด้วยกันแล้วเครื่องผสมสัญญาณเสียงย่อมเป็นสิ่งจำเป็น เช่นในกรณีที่มีไมโครโฟนหลายตัว เสียงจากเครื่องเล่นซีดี เสียงจากเครื่องบันทึกเสียง เสียงทั้งหมดนี้สามารถนำมารวมกันแล้วป้อนเข้าสู่อุปกรณ์ที่ต้องการนำมาต่อพ่วงกับตัวเครื่องผสมสัญญาณเสียง ที่ด้านหน้าหรือด้านบนของตัวเครื่องมิกเซอร์จะเต็มไปด้วยกลุ่มของปุ่มปรับและอุปกรณ์ที่มีลักษณะเลื่อนขึ้นลงได้ที่เรียกว่า”เฟดเดอร์”จำนวนหลายชุดเอาไว้ใช้ปรับแต่งสัญญาณเสียงของแต่ช่องสัญญาณขาเข้าและสัญญาณรวมขาออก
สำหรับในเครื่องผสมสัญญาณเสียงที่มีขนาดใหญ่แล้วยังมีส่วนที่ทำหน้าที่รวมสัญญาณของแต่ละช่องให้รวมกันเป็นกลุ่มย่อยก่อนที่จะนำไปผสมเสียงของแต่ละกลุ่มเหล่านั้นเข้าด้วยกันอีกทีแล้วส่งต่อไปยังส่วนที่เรียกว่า”มาสเตอร์เฟดเดอร์”ที่ทำหน้าที่ปรับระดับเสียงทั้งหมดในขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะส่งต่อไปที่อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆเช่นเครื่องบันทึกวิดีโอหรือการออกอากาศสดไปยังผู้ชมโดยตรง
นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอื่นอีกเช่น ส่วนของการรับฟังเสียงจากแต่ละช่องสัญญาณที่ต่อมาจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างหรือเสียงที่ได้ทำการผสมทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้วด้วยลำโพงหรือหูฟัง ส่วนของการให้สัญญาณคิว ส่วนของการแสดงและกำหนดเส้นทางและส่วนของการวัดเพื่อแสดงระดับของสัญญาณ เป็นต้น
การใช้เครื่องผสมสัญญาณเสียง
การใช้งานเครื่องผสมสัญญาณเสียงไม่ได้มีเพียงแค่การเลื่อนเฟดเดอร์ขึ้นลงเพื่อปรับระดับสัญญาณเสียงที่มาจากไมโครโฟนแต่ละตัวเพียงอย่างเดียว แต่มันมีกระบวนการทำงานที่ซับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้องอีกมากมายดังตัวอย่างต่อไปนี้
1) ในงานการแสดงสดที่จำเป็นต้องส่งออกอากาศหรือบันทึกเทปตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ย่อมต้องเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่รวดเร็วมีความรู้สึกถึงความเร่งด่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ทำให้ต้องระมัดระวังมากขึ้น แตกต่างไปจากการทำงานแบบผลิตรายการที่ต้องทำการบันทึกเทปไปทีละฉากที่มีเวลาพอที่จะสามารถเตรียมการระบบเสียงไว้ก่อนและถ้ามีการผิดพลาดก็ทำการแก้ไขปรับปรุงได้
2) ในกรณีที่มีแหล่งกำเนิดเสียงหลายแหล่งจำเป็นต้องมีการให้คิวที่แม่นยำแก่ผู้พูดแต่ละคนอันอาจเกิดความสับสนได้ควรมีการตกลงกันไว้ล่วงหน้าเสียก่อนเพื่อลดความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้น
3) ถ้ามีแหล่งเสียงที่เกิดจากการเตรียมเอาไว้ล่วงหน้าแล้วก็ต้องทำการตรวจสอบเสียก่อน แต่ถ้าในกรณีของสัญญาณที่ถูกส่งเข้ามาแบบสดๆแล้วยังมีความจำเป็นต้องปรับแต่งและควบคุมระดับเสียงอีกอย่างต่อเนื่องหรือไม่
ทั้งหมดเหล่านี้เป็นเรื่องซับซ้อนเพียงเล็กน้อยที่ต้องทำการตัดสินใจว่าจะผสมสัญญาณเสียงเหล่านี้แบบใด ต่อไปนี้เราลองมาดูการทำงานบางรูปแบบกัน
1) ต้องทำการเลื่อนตัวเฟดเดอร์ขึ้นก่อนที่แหล่งเสียงนั้นจะเริ่มต้นและเลื่อนเฟดเดอร์ลงภายหลังจากที่เสียงนั้นจบลง
2) ถ้าแหล่งเสียงใดที่ไม่ได้ใช้ในขณะนั้นควรทำการปิดช่องสัญญาณนั้นเลยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุการบันทึกเสียงโดยไม่ตั้งใจ หรือกรณีไมโครโฟนของผู้ที่ยังไม่มีคิวพูดก็ควรลดเฟดเดอร์ลงสุด
3) มันเป็นเรื่องสำคัญมากของการเลือกแหล่งเสียงทีถูกต้องเพื่อเลื่อนตัวเฟดเดอร์ขึ้นลงให้ถูกจังหวะที่เหมาะสม ควรใช้วิธีการแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยต่างหาก
4) เมื่อทำการผสมเสียงจากหลายแหล่งเข้าด้วยกัน ไม่ควรปรับทุกแหล่งเสียงไว้ที่ระดับความดังที่สูงสุดเท่ากันทั้งหมด แต่ควรทำการผสมผสานให้เป็นไปตามข้อกำหนดขององค์ประกอบโดยรวม ตัวอย่างเช่นการใช้ไมโครโฟนเพื่อบันทึกเสียงจากเครื่องดนตรีหลายชนิดพร้อมกัน เครื่องดนตรีแต่ละชนิดย่อมมีระดับความดังแตกต่างกันดังนั้นจึงควรปรับให้เสียงที่ออกมาเป็นธรรมชาติที่สุด
5) ในบางครั้งความสัมพันธ์เชิงปริมาณของเสียงจำเป็นต้องปรับเพื่อก่อให้เกิดภาพมายาของระยะห่าง เช่นถ้าเป็นเสียงจากเครื่องโทรศัพท์ที่ดังมากก็แสดงว่าอยู่ใกล้แต่ถ้าดังเบาก็แสดงว่าอยู่ห่างไกลออกไป
6) เสียงที่จำเป็นต้องทำการเน้นอย่างรอบคอบ ตัวอย่างเช่นเราอาจเลือกที่จะปรับระดับเสียงของกลุ่มฝูงชนให้ดังขึ้นชั่วขณะเพื่อสร้างผลกระทบในด้านละคร
7) ในขั้นตอนท้ายที่สุดแล้วการผสมเสียงจำเป็นต้องให้เหมาะสมพอดีกับอารมณ์โดยรวมของวัตถุประสงค์ในการผลิตรายการนั้นๆ
เสียงตามธรรมชาติ
การผลิตรายการวิดีโอทั้งหมดถูกสร้างขึ้นจากการถ่ายทำทีละฉากต่อเนื่องกัน การถ่ายทำต้องให้เป็นไปตามข้อเงื่อนไขที่กำหนดให้เหมาะสมและสะดวกที่สุด แล้วนำมาเรียบเรียงตัดต่อเข้าด้วยกันภายหลังเพื่อให้เป็นรายการที่สมบูรณ์ การทำงานแบบนี้มีทั้งข้อดีและข้อด้อย ตราบใดที่มีเรื่องของเสียงเข้ามาเกี่ยวข้องย่อมมีความยุ่งยากหลายประการ
ประการแรกของทั้งหมด เนื่องจากว่าการถ่ายทำหลายฉากในลำดับที่ต่อเนื่องกันถูกบันทึกที่เวลาแตกต่างกัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญของขนาดและคุณภาพสัญญาณที่นำมาตัดต่อต้องเหมาะสมเข้ากันได้ดี มิฉะนั้นจะเกิดความแตกต่างระหว่างฉากต่อฉากขึ้นได้เช่นถ้าฉากแรกใช้ไมโครโฟนรับเสียงระยะใกล้แต่ในฉากถัดมาเอาไมโครโฟนไปไว้อยู่ห่างไกลย่อมมีผลที่แตกต่างกัน
เมื่อทำการตัดต่อเรียบเรียงลำดับภาพที่ถ่ายทำจากเวลาที่แตกต่างกันเสียงที่เป็นสภาพแวดล้อมย่อมมีความแตกต่างกันไปด้วย เช่นเสียงที่เกิดจากเครื่องบิน เครื่องจักรกล เครื่องอุปกรณ์ก่อสร้าง เป็นต้น เสียงเหล่านี้มักดังและหยุดโดยไม่แน่นอน และเมื่อนำเอาแต่ละช่วงมาเรียบเรียงเข้าด้วยกันย่อมมีเสียงสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
เมื่ออยู่ในสถานที่ถ่ายทำแล้วเรื่องดีที่ควรกระทำคือการบันทึกเสียงสภาพแวดล้อมหรือเสียงรบกวนตามธรรมชาติเอาไว้ก่อน มันไม่สำคัญว่าภาพที่ปรากฏบนจอจะเป็นอะไรเพียงแต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเสียงเท่านั้น และในบางครั้งมันอาจเป็นประโยชน์ให้กับผู้ทำหน้าที่ตัดต่อใช้เป็นเสียงแบคกราวด์เพื่ออ้างอิงสถานที่ได้เป็นอย่างดี
ถึงแม้ว่าในบางสถานที่ดูเสมือนว่าสภาพสิ่งแวดล้อมจะเงียบสงบ แต่ก็ยังมีเสียงรบกวนระดับต่ำๆเช่นเสียงเครื่องปรับอากาศหรือเสียงครางเบาๆจากเครื่องมือบางอย่าง เสียงทีเกิดจากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติแบบนี้มีประโยชน์ใช้ครอบคลุมบางช่วงเวลาในระหว่างตัดต่อที่แต่ละฉากมีเสียงที่แตกต่างไม่เหมาะสมกัน เราจำเป็นต้องใช้เสียงแบคกราวด์ที่ว่าเพื่อเป็นสะพานเชื่อมต่อฉากเหล่านั้นเข้าด้วยกัน
คราวหน้าเป็นเรื่องของกล้องวิดีโอครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น