การผลิตเนื้อหาและการเผยแพร่ผ่านสื่อยุค 4.0

กระบวนการผลิตและเผยแพร่สื่อของศูนย์ผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในยุค 4.0
แนวคิดที่นำเสนอ
1.0    การศึกษาหาแนวทางเชิงเทคนิคเพื่อให้เกิดกระบวนการผลิตสื่อที่มีคุณภาพสูงและเหมาะสมต่อการนำไปเผยแพร่ในแต่ละช่องทาง
2.0    การพัฒนาองค์ความรู้ให้กับบุคลากรแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตสื่อทั้งหมดตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำและกระบวนการตรวจสอบประเมินผล
3.0    การศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือต่อความก้าวหน้าและเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เช่น เทคโนโลยีภาพเสมือนจริง
ประการที่ 1 การศึกษาหาแนวทางเชิงเทคนิคโดยใช้หลักการของ CCPR มีองค์ประกอบดังนี้
คิดวิเคราะห์ (Critical Mind)
-            การวิเคราะห์ปัญหารายบุคคล
-            การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-            การทบทวนตนเองและประเมินผล
-            การเป็นตัวของตัวเองไม่คล้อยตามความคิดผู้อื่น
ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Mind)
-            การปรับมุมมองและนำเสนอแนวคิดการผลิตสื่อใหม่
-            การนำเสนอทางเลือกการปฏิบัติงานที่เป็นไปได้
-            สามารถปรับแต่งและพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานผลิตสื่อได้ตามสภาพเหมาะสม

-            มีการทดสอบจนมีความมั่นใจว่าสามารถนำไปใช้งานผลิตสื่อได้จริง
กระบวนการผลิตตามความเป็นจริง (Productive Mind)
-            เจาะจงพุ่งเป้าหมายที่ผลการผลิตสื่อตามความเป็นจริงเท่านั้น
-            แสวงหาวิธีการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการผลิตสื่อ
-            มีกระบวนการตรวจสอบและประเมินผลงานได้อย่างแม่นยำในทุกขั้นตอน
-            สามารถปรับแต่งและแก้ไขได้ตามความเหมาะสม
การตอบสนองในหน้าที่ (Responsible Mind)
-            กระบวนการที่ใช้ผลิตสื่อต้องมีความยืดหยุ่นและสามารถใช้ได้กับการนำไปเผยแพร่ในทุกช่องทาง
-            มีวิธีการที่เหมาะสมประกอบการนำไปเผยแพร่ในสื่อต่างๆได้
-            ต้องจัดสร้างกระบวนการทดสอบและสุ่มตัวอย่างในเชิงคุณภาพได้
-            สามารถนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานด้านอื่นได้
สภาพแวดล้อมการทำงานที่คาดหวัง
               ความคิดสร้างสรรค์ (Innovative Ideas)
-            ต้องส่งเสริมให้เกิดแนวคิดแบบสร้างสรรค์โดยเปิดโอกาสผู้ปฏิบัติงานมีช่องทางสื่อสารถึงผู้บริหารได้อย่างอิสระ
-            เปิดโอกาสให้ทีมงานสามารถระดมสมองเพื่อมุ่งเน้นประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตสื่อ
-            เปิดโอกาสให้แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดจัดการลำดับขั้นตอนที่เหมาะสมในขั้นตอนปฏิบัติงานของตนเองได้
กิจกรรมความร่วมมือ (Cooperative Activities)
-            เปิดโอกาสให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีช่องทางการสื่อสารเพื่อการทำงานมากขึ้น
-            แต่ละหน่วยงานสามารถวิเคราะห์วิจารณ์กันได้โดยเปิดเผย
-            มุ่งเน้นที่การพัฒนาก่อให้เกิดความชำนาญเชี่ยวชาญเฉพาะทางขึ้นมา
ความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relevance)
-            มีกระบวนการและส่งเสริมให้เกิดการปลูกฝังจิตสำนึกทางสังคม
-            สร้างแนวคิดให้มุ่งการทำงานเพื่อส่วนรวมมากกว่าหวังผลตอบแทน
-            ทุกคนควรมีส่วนในการตรวจสอบและพิจารณาว่าสมควรเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างไร
มุ่งเน้นคุณภาพ (Quality Oriented)
-            ตอกย้ำตลอดเวลาให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพิจารณาคุณภาพของผลงานที่ผลิตออกมา
-            แต่ละหน่วยงานต้องมีคำตอบในเชิงคุณภาพว่าคืออะไรบ้าง
-            ทุกหน่วยงานต้องชี้ให้เห็นคุณภาพที่มุ่งหวังและกระบวนการผลิตที่เหมาะสม
ประการที่ 2 การพัฒนาบุคลากรและความรู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตเนื้อหาสื่อ มีองค์ประกอบดังนี้
               กระบวนการผลิตสื่อ (Process)
-            ขั้นตอนของการเตรียมการ (Pre Product)
-            ขั้นตอนของการผลิต (Product)
-            ขั้นตอนของการนำมาเรียบเรียงตกแต่งประดับประดา (Post Product)
การบริหารจัดการองค์กร (Organization)
-            การสร้างเสริมวัฒนธรรมอันดีงามภายในองค์กร
-            การเน้นผลผลิตสื่อเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ
-            การบริหารจัดการเพื่อมุ่งหวังการเปลี่ยนแปลง
-            การบริหารจัดการเชิงวิจัย
ประเภทของเนื้อหาสาระสื่อ (Content)
-            เนื้อหาประกอบหลักสูตรชุดวิชาการเรียนการสอน
-            เนื้อหาที่เป็นวิชาการทางเลือกของผู้สนใจ
-            เนื้อหาที่เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่
-            เนื้อหาที่เป็นภูมิปัญญาวิถีชาวบ้าน
กลุ่มเป้าหมายผู้รับชม (Target)
-            นักศึกษาระดับปริญญาตรี โท เอก และแบ่งตามสัดส่วนชุดวิชาที่ลงทะเบียน
-            กลุ่มเป้าหมายทางสังคมที่กำหนดจัดสรรไว้ล่วงหน้า
-            กลุ่มเป้าหมายประเภทที่มีความคิดก้าวหน้า (Breakthrough Thinker)
-            กลุ่มเป้าหมายประเภทฉลาดเลือก (Smart Consumer)
ช่องทางและประเภทของสื่อ (Media and Platform)
-            การแพร่กระจายสัญญาณเนื้อหาผ่านช่องทางโทรทัศน์ (สถานีภาคพื้นดิน ดาวเทียม เคเบิ้ล)
-            การนำเนื้อหาบันทึกลงสื่อบันทึกเช่น แผ่นดีวีดี  เมโมรีการ์ด
-            การนำเนื้อหาบรรจุลงบนเครื่องเซิฟเวอร์ให้ผู้สนใจเข้ามาดาวน์โหลด
-            การนำเนื้อหาลงสื่อสังคมเช่น เฟซบุ้ค ยูทูป ไลน์
-            เนื้อหาสื่อแต่ละประเภทสื่อจำเป็นต้องมีการเข้ารหัสและวิธีการทางเทคนิคที่เหมาะสมต่อคุณลักษณะของสื่อนั้นๆ
-            เนื้อหาของสื่อที่มีข้อมูลกราฟฟิกและตัวอักษรและรายละเอียดมากย่อมไม่เหมาะสมต่อการรับชมผ่านโทรศัพท์มือถือ
-            การแพร่กระจายสัญญาณผ่านช่องทางโทรทัศน์ผู้รับไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นนอกจากค่าไฟฟ้าแต่ในช่องทางอื่นจำเป็นต้องมีภาระจ่ายตามปริมาณที่ต้องการรับชม
 การปรับเปลี่ยนองค์ความรู้การผลิตสื่อ
ยุคเริ่มต้น 1.0
ยุคไอที 2.0
ยุคสร้างความรู้ 3.0
ยุคสร้างนวัตกรรม 4.0
ใครบอกอะไรเชื่อหมด
หาข้อมูลด้วยความช่วยเหลือจากอินเตอร์เน็ต
สระสมความรู้ร่วมกันและนำความรู้มาต่อยอดขึ้นมาอีก
สร้างความรู้จากความสนใจรายบุคคลและการรวมตัวเป็นทีมสร้างนวัตกรรม
ในด้านพฤติกรรมและการทำงาน
1.0
2.0
3.0
4.0
ใช้อุปกรณ์เท่าที่มีและหาได้จำกัด
เริ่มศึกษาเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีอย่างระมัดระวัง
เริ่มมีการอพยพไปสู่ยุคดิจิตอลมีการเปลี่ยนระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล
เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปตามความต้องการของผู้บริโภคและกลไกการตลาดเต็มรูปแบบ

               ในด้านเทคโนโลยีของอุปกรณ์
1.0
2.0
3.0
4.0
ยุคใช้กล้องหลอดและระบบเทปบันทึกภาพแบบแอนะลอก
เริ่มมีการเปลี่ยนมาใช้กล้องแบบ ซีซี ดี แต่ระบบการบันทึกและตัดต่อยังเป็นแอนะลอกทั้งหมด
เปลี่ยนไปสู่อุปกรณ์แบบดิจิตอลเต็มรูปแบบรวมไปถึงการผลิตเนื้อหาแบบคมชัดสูงและเสียงสองแชลเนล
เป้าหมายคือกระบวนการผลิตเนื้อหาที่รองรับทุกประเภทสื่อเช่น ทีวี อินเตอร์เน็ท สมาร์ทโฟน  แท็ปเล็ต
ความเป็นไปได้ของการมุ่งสู่การผลิตเนื้อหายุค 4.0
ขั้นตอนที่ 1
ขั้นตอนที่ 2
ขั้นตอนที่ 3
ขั้นตอนที่ 4
- แสวงหาความรู้ร่วมกันเป็นทีม
- วิเคราะห์ร่วมกันเป็นทีม
- สร้างสรรค์ร่วมกันเป็นทีม
- ออกแบบวางแผนร่วมกันเป็นทีม
- เลือกแผนที่เหมาะสมและเป็นไปได้มากที่สุด
- นำแผนการที่เลือกสรรแล้วไปปฏิบัติ
- แก้ไขปัญหาที่อาจเกิดตามมาโดยมุ่งหวังผลดีที่สุด
- ทบทวนและปรับปรุงให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ด้วยความรับผิดชอบและสำนึกทางสังคม
              
               ขอบคุณที่อ่านจนถึงบรรทัดนี้ อนาคตของหน่วยงานขึ้นอยู่กับทุกท่าน
               samerstou@gmail.com
ข้อมูลอ้างอิง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Automation solution

การถ่ายทอดสดนอกสถานที่(Outside Broadcasting)

การจัดแสงไฟสำหรับการถ่ายวิดีโอ (Video Lighting Technique)