สมาร์ทวอทช์นาฬิกาอัจฉริยะ (Android Wear)


นาฬิกาและอุปกรณ์สวมใส่ที่เชื่อมต่อข้อมูลกับโทรศัพท์มือถือ (Android Wear)
            Android Wear หมายถึงระบบปฏิบัติการของบริษัทกูเกิ้ลที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับสำหรับนาฬิกาแบบสมาร์ทว้อทและอุปกรณ์สวมใส่ใดๆก็ตาม ด้วยวิธีการให้มันจับคู่กับเครื่องโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการของแอนดรอยด์ที่มีเวอชั่นไม่ต่ำกว่า 4.3 ขึ้นไปแต่ถ้าเป็นระบบปฏิบัติการของไอโอเอสแล้วต้องเป็นเวอชั่น 8.2 ขึ้นไปเท่านั้นถึงจะใช้งานร่วมกันได้ ระบบการทำงานของแอนดรอยด์แวร์ได้รวมเอาเทคโนโลยีใหม่ๆของกูเกิ้ลไว้ด้วยเช่นระบบการแจ้งเตือนในทุกรูปแบบรวมไปถึงความสามารถในการดาวน์โหลดการใช้งานในรูปแบบต่างๆจากเพลย์สโตร์ได้
                อุปกรณ์สวมใส่เหล่านี้รองรับการเชื่อมต่อได้ทั้งจากบลูทูธและไวไฟเท่าๆกับขอบเขตของคุณลักษณะและการนำไปใช้งาน ด้วยรูปลักษณ์หน้าปัทม์ที่มีทั้งวงกลม สี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมจตุรัส เช่นยีห้อ Motorola Moto 360, LG G Watch, Samsung Gear Live , Asus Zen Watch, Sony Smart Watch เป็นต้น
                ในช่วงหกเดือนแรกของปี 2015 ประมาณการว่าอุปกรณ์เหล่านี้ได้ถูกจำหน่ายออกไปแล้วไม่ต่ำกว่าเจ็ดแสนสองหมื่นชิ้น ในขณะที่แอปพลิเคชั่นการทำงานแบบต่างๆได้ถูกนำไปติดตั้งใช้งานแล้วประมาณหนึ่งล้านถึงห้าล้าน
            ระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์ประเภทนี้ถูกประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2014 แล้วต่อมาบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ได้ทยอยเปิดตัวสินค้าตามมาในช่วงปลายปีเดียวกัน
คุณลักษณะที่สำคัญ
                ผู้ใช้สามารถหาทิศทางด้วยเสียง เลือกวิธีการเดินทางเช่นจักรยานแล้วเริ่มต้นการเดินทาง ในขณะที่ตัวนาฬิกาจะแสดงทิศทาง บ่งบอกและโต้ตอบกับผู้ใช้ถึงตำแหน่งที่ต้องเลี้ยวหักเหเส้นทางโดยไม่จำเป็นต้องดูจากจอภาพของโทรศัพท์มือถือ ในระบบการใช้งานประเภทเพื่อสุขภาพเช่นการขี่จักรยานหรือวิ่งออกกำลังกาย อุปกรณ์เหล่านี้จะทำหน้าที่ติดตามการทำงานของร่างกายผู้สวมใส่ในทันที ด้วยการใช้คำสั่งแล้วพูดเป็นภาษาที่เครื่องมือเข้าใจ เช่น
                (“OK Google, start a run”)
(“OK Google, what’s my heart rate”)
(“OK Google, play the Rolling Stones”)
อุปกรณ์จะทำการสุ่มตรวจวัดชีพจรอัตราการเต้นของหัวใจหรือนับจำนวนก้าวขาของการเดินหรือวิ่ง ทั้งยังสามารถประมาณการเผาผลาญแคลอรี่ให้ได้ นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถใช้นาฬิกาที่สวมใส่เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องโทรศัพท์เช่นการสั่งให้เล่นเพลงที่ต้องการโดยบนหน้าปัทม์ของนาฬิกาจะแสดงภาพของศิลปิน ปุ่มปรับระดับเสียงและปุ่มสั่งให้เลื่อนไปเพลงถัดไปหรือย้อนกลับได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีการขยับหมุนข้อมือสั่งงานได้อีกด้วย
ระบบการแจ้งเตือน
                อุปกรณ์สร้างแรงสั่นสะเทือนในตัวนาฬิกาจะบอกให้ผู้ใช้ทราบถึงการแจ้งเตือนข้อมูลที่สำคัญตามแต่ที่ผู้ใช้งานได้ปรับเลือกการใช้งานไว้ อุปกรณ์ที่สวมใส่ยังมีระบบโต้ตอบที่ชาญฉลาดอีกหลายอย่างเช่น ระบบสั่งการด้วยเสียงเพื่อเขียนอีเมล์โต้ตอบด้วยเสียง การพูดหรือวาดรูปสัญลักษณ์ทางอารมณ์สำหรับการตอบกลับที่สำคัญมากๆได้
                การแจ้งเตือนที่ชาญฉลาดจากกูเกิ้ลยังรองรับข้อมูลการจราจร ตารางเที่ยวบิน การเช็คอินในโรงแรมที่พัก การประชุมนัดหมาย สถานที่ ตารางเวลาตามปฏิทินที่บันทึกล่วงหน้า การพยากรณ์อากาศและกีฬา ดัชนีหุ้น การจองร้านอาหารภัตตาคาร และอื่นๆ
                รวมไปถึงข้อความสั้นจาก SMS , Line , Facebook และสื่อสังคมอื่นๆให้ปรากฎบนหน้าจอนาฬิกาที่สวมผู้ใช้สวมใส่และสามารถโต้ตอบกลับด้วยเสียงหรือใช้วิธีการโต้ตอบกลับไปด้วยการวาดตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ทางอารมณ์ที่ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) ในตัวอุปกรณ์สามารถแปลความหมายได้

                เมื่อเปิดการใช้งานกล้องถ่ายภาพขึ้นมาผู้ใช้สามารถควบคุมการสั่งถ่ายภาพและดูภาพได้จากหน้าจอของนาฬิกาที่สวมใส่อยู่หรือแม้กระทั่งการสั่งการให้เครื่องรับโทรทัศน์เปลี่ยนช่อง  นับวันระบบการใช้งานในรูปแบบต่างๆเป็นจำนวนมากมายมหาศาลได้ปรากฎให้เห็นมากยิ่งขึ้น 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Automation solution

การถ่ายทอดสดนอกสถานที่(Outside Broadcasting)

การจัดแสงไฟสำหรับการถ่ายวิดีโอ (Video Lighting Technique)