Internet of Things เมื่อทุกสิ่งเชื่อมโยงกัน
Internet of Things
เมื่อทุกสิ่งเชื่อมโยงกัน
ปัจจุบันนี้มีเครื่องมือและอุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ที่เป็นส่วนประกอบของระบบการประมวลผลแบบคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากเช่น
โทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟน สมาร์ททีวี
ตู้เย็นหรือเครื่องซักผ้าที่ต่ออินเตอร์เน็ทได้รวมไปถึงอุปกรณ์สวมใส่เช่น
สมาร์ทวอทช์ กูเกิ้ลอาย สายรัดข้อมือที่สามารถตรวจสอบชีพจรการนอนหลับแม้กระทั่งรองเท้าที่ตรวจนับจำนวนก้าวเดิน
อุปกรณ์เหล่านี้ล้วนมีระบบติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์อื่นๆในรูปแบบต่างกันเช่นผ่านระบบสาย
LAN
หรือระบบไร้สาย Wi-Fi , Bluetooth เป็นต้น และคาดการณ์ว่าในอนาคตอุปกรณ์เหล่านี้จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เองในรูปแบบของการติดต่อระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์ด้วยกัน
(machine-to-machine communications) มีชื่อย่อว่าระบบ
M2M ที่ครอบคลุมทุกมาตรฐานวิธีการทำงานที่หลากหลาย มีขอบเขตที่น่าสนใจและการนำไปใช้งานในชีวิตประจำวัน
และยังสามารถทำงานแบบอัตโนมัติในแทบทุกด้าน
วัตถุสิ่งของในเรื่องนี้สามารถเกี่ยวโยงไปถึงอุปกรณ์หลากหลายเช่นเครื่องตรวจสอบการทำงานของหัวใจที่สามารถรายงานไปยังหมอได้ตลอดเวลาที่มีอาการผิดปกติ
ระบบตรวจสอบสภาพของโรงเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม ระบบตรวจจับที่ติดตั้งในยานพาหนะหรือระบบแจ้งเตือนอัคคีภัยและระบบป้องกันการโจรกรรม
ที่บางสิ่งเหล่านี้เริ่มมีการจำหน่ายเชิงการค้าบ้างแล้ว
ตามการทำนายของบริษัทบางแห่งแล้วคาดการณ์ว่าภายในปี
2020
จะมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันด้วยระบบเครือข่ายประมาณยี่สิบหกพันล้านชิ้น
ในขณะที่อีกหน่วยงานหนึ่งประมาณการว่าจะมี่อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันแบบไร้สายมากกว่าสามสิบล้านชิ้นภายในปีที่ว่านั้น
การหลอมรวมเข้ากับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ทของอุปกรณ์เหล่านั้นย่อมหมายถึงว่าอุปกรณ์แต่ละชิ้นจำเป็นต้องมีที่อยู่ในระบบ
IP เพื่อเป็นตัวบ่งชี้ แต่ทว่ายังมีข้อจำกัดจำนวนที่อยู่ของ IPv4
ที่มีเพียงสี่จุดสามพันล้านเลขหมายที่อยู่
ดังนั้นในอนาคตจึงจำเป็นต้องใช้ระบบของ IPv6 ที่สามารถรองรับหมายเลข
IP จำนวนมหาศาลในอนาคตได้ จำนวนของวัตถุทุกสิ่งที่มีการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเหล่านี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะระบบตรวจจับเท่านั้นแต่รวมไปถึงอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตอบสนองต่อการควบคุมและสั่งการด้วย
เช่น หลอดไฟ ระบบล้อคกุญแจ และอุปกรณ์อื่นๆ
ด้วยระบบประมวลผลชนิดที่มีสมองกลขนาดเล็กที่ฝังตัวอยู่ในอุปกรณ์เหล่านี้ย่อมหมายความว่าเป็นการใช้วิธีประเมินผลด้วยคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนพื้นฐานราคาประหยัด
ตามความเป็นจริงแล้วเพื่อเป็นการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงาน เช่นด้วยการใช้กำลังส่งวิทยุเพียงเล็กน้อย
เป็นต้น อย่างไรก็ดีอุปกรณ์เหล่านี้เองไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์เพื่อการประมวลผลหรือภาระงานที่หนักหรือมีความยุ่งยากเป็นพิเศษอยู่แล้ว
ภายใต้สภาวะของการนำไปใช้งานที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายอินเตอร์เน็ทด้วยอุปกรณ์ใหม่ๆที่หลากหลายและขยายขอบเขตมากยิ่งขึ้นเหล่านี้
ย่อมเป็นที่คาดการณ์ได้ว่าก่อให้เกิดปริมาณของข้อมูลจำนวนมหาศาลจากพื้นที่ต่างๆที่จำเป็นต้องมีการจัดหมวดหมู่
การจัดเก็บและประมวลผลให้ดีกว่าเดิมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น