ระบบของการรับส่งโทรทัศน์แบบดิจิตอล Digital Video Broadcasting (DVB)
การแพร่ภาพและเสียงแบบดิจิตัล(Digital Video Broadcasting)
Digital Video Broadcasting
(DVB) คือความเหมาะสมของรูปแบบการออกอากาศที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติให้เป็นมาตรฐานสำหรับระบบโทรทัศน์แบบดิจิตัล
ซึ่งมาตรฐานของ DVB จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยความเป็นหุ้นส่วนกันของสมาชิกที่เป็นอุตสาหกรรมนานาชาติมากกว่า
270 หน่วยงาน และรายละเอียดทางเทคนิคทั้งหมดจะถูกตีพิมพ์โดยคณะกรรมการความร่วมมือทางเทคนิค
(Joint Technical Committee) ที่ประกอบด้วย
สถาบันมาตรฐานโทรคมนาคมของสหภาพยุโรป (ETSI) คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานเทคนิคทางไฟฟ้าสหภาพยุโรป
(CENELEC) สหภาพการออกอากาศสหภาพยุโรป (EBU) การทำงานร่วมกันของแต่ละมาตรฐานย่อยทั้งหมดที่เป็นของ DVB จะถูกตีพิมพ์ออกมาในท้ายที่สุด
ในบางด้านของมาตรฐานเหล่านี้จะมีลิขสิทธิ์คุ้มครองอยู่ด้วยเช่นการเข้าระหัสเสียงแบบ MPEG เป็นต้น
การถ่ายทอด
(Transmission)
ระบบการแจกจ่ายสัญญานข้อมูลมีอยู่หลายรูปแบบวิธีการ ประกอบด้วย
-
การใช้ดาวเทียมที่แยกย่อยออกเป็น
DVB – S , DVB
– S2 , DVB – SH , DVB – SMATV
-
การใช้สายเคเบิ้ลที่มี DVB – C ,
DVB –C2
-
การใช้คลื่นภาคพื้นดินที่มี DVB – T ,
DVB – T2 , DVB – H
, DVB – SH
-
การใช้ความถี่สูงย่านไมโครเวฟที่มี DTT (DVB –
MT) , MMDS (DVB – MC) , MVDS
มาตรฐานทั้งหลายเหล่านี้ถูกกำหนดทั้งระดับคุณสมบัติทางกายภาพและระบบของการเชื่อมโยงข้อมูลภายในอุปกรณ์แต่ละชิ้น โดยอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อถึงกันเหล่านั้นมีปฏิกิริยาระหว่างกันด้วยระดับทางกายภาพผ่านการเชื่อมต่อข้อมูลทั้งแบบขนานและแบบอนุกรม ข้อมูลทั้งหมดทั้งหมดที่ถูกส่งผ่านจะเป็นไปตามมาตรฐานการบีบอัดข้อมูลแบบ
MPEG
ระบบการแจกจ่ายข้อมูลเหล่านี้ส่วนใหญ่มีความแตกต่างกันที่วิธีการผสมคลื่นสัญญานเข้าด้วยกันและวิธีการแก้ไขระหัสข้อมูลที่ผิดพลาด
(Modulation
and Error correction) ตัวอย่างเช่นระบบการใช้ดาวเทียม
DVB – S2 ใช้วิธีการผสมสัญญานแบบ QPSK , 8PSK , 16PSK
, 32APSK ในขณะที่การออกอากาศด้วยคลื่นภาคพื้นดินแบบ DVB – T2
ใช้วิธีการผสมสัญญานแบบ 16 QAM , 64QAM ,256QAM ประกอบกับการผสมสัญญานแบบ OFDM เข้าไปด้วย
ข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคของมาตรฐานการออกอากาศแบบ DVB – T2 ได้รับการตรวจสอบโดยคณะกรรมการกำหนดนโยบาย DVB ในเดือนมิถุนายนปี
2008 แล้วถูกส่งให้สถาบันมาตรฐานโทรคมนาคมสหภาพยุโรปกำหนดให้ใช้เป็นมาตรฐานทั่วไปในวันที่
9 เดือนกันยายนปี 2009 วิธีการการออกอากาศภาพและเสียงตามแบบของ
DVB – T2 นั้นให้ความเชื่อถือไว้วางใจในการรับชมทีวีได้มากกว่าระบบเดิมและยังมีความเป็นไปได้ในการเพิ่มข้อมูลได้มากกว่าระบบเก่าขึ้นอีกสามสิบเปอร์เซ็นต์ถึงห้าสิบเปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
นอกจากนี้ยังมีการเริ่มต้นจัดตั้งกำหนดมาตรฐานให้กับระบบการออกอากาศรายการโทรทัศน์แบบสามมิติขึ้นมาอีกด้วยเพื่อให้เป็นการตอบสนองต่อความต้องการและความจำเป็นทางการตลาด
ระบบนี้มีชื่อเป็นทางการว่า DVB 3D – TV
ต่อไปนี้เป็นเปรียบเทียบมาตรฐานระบบการออกอากาศแบบต่างๆ
DVB – S2
|
DVB – T2
|
DVB – C2
|
|
Modes
|
Variable
Coding & Modulation and Adaptive Coding & Modulation
|
Variable
Coding & Modulation
|
Variable
Coding & Modulation and Adaptive Coding & Modulation
|
FEC
|
LDPC + BCH
¼,1/3,2/5,1/2,3/5,2/3,3/4,4/5,5/6,8/9,9/10
|
LDPC + BCH
1/2,3/5,2/3,3/4,4/5,5/6
|
LDPC + BCH
1/2,3/5,2/3,3/4,4/5,5/6,8/9,9/10
|
Modulation
|
Single
Carrier QPSK with Multiple Streams
|
OFDM
|
Absolute
OFDM
|
Modulation
Schemes
|
QPSK,8PSK,16APSK,32APSK
|
QPSK,16QAM,64QAM,256QAM
|
16-4096-QAM
|
Guard
Interval
|
Not
Applicable
|
¼,19/256,1/8,19/128,1/16,1/32,1/128
|
1/64 or
1/128
|
Fourier
Transform
size
|
Not
Applicable
|
1k,2k,4k,8k,16k,32k
DFT
|
4k Inverse
FFT
|
Interleaving
|
Bit-Interleaving
|
Bit-Time
and Frequency
Interleaving
|
Bit-Time
and Frequency
Interleaving
|
เนื้อหาที่บรรจุอยู่ (Content)
นอกจากอยู่ภายใต้กระบวนการส่งผ่านข้อมูลภาพและเสียงแบบดิจิตัลแล้วยังมีข้อกำหนดการเชื่อมต่อของข้อมูลสำหรับสื่อหลากหลายประเภทเช่น เนื้อหาสำหรับอุปกรณ์ประเภทโทรศัพท์มือถือ ระบบผ่านดาวเทียม ระบบผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ท
ซึ่งแต่ละประเภทมีรูปแบบของระบบเครือข่ายที่เป็นอิสระแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
การเข้ารหัสและข้อมูลอ้างอิงเนื้อหา
ระบบของเงื่อนไขการเข้าถึงเนื้อหาถุกกำหนดโดยพื้นฐานของชุดคำสั่งที่เป็นขั้นตอนของการเรีบเรียงข้อมูลที่ถูกนำมาปะปนรวมเอาไว้ด้วยกันและการเชื่อมต่อทางกายภาพ เพื่อให้สามารถเข้าถึงเนื้อหาอันผสมปนเปกันอยู่นั้นได้ ทั้งนี้ระบบของการเข้าถึงเนื้อหา (Conditional
Access System) ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ตอบสนองต่อเรื่องของการมีลิขสิทธิ์และผู้ครอบครองเนื้อหาและเป็นไปตามกฏหมายด้วยการอ้างอิงจากคุณสมบัติของอุปกรณ์เหล่านั้น
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อป้องกันการสำเนาเนื้อหาโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีความมุ่งหมายเพียงยินยอมให้มีการบันทึกเนื้อหาเพื่อใช้ภายในบ้านเท่านั้น ในขณะที่เป็นการปกป้องไม่ให้ทำการแบ่งบันบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ทได้
การส่งผ่านสัญญานวิดีโอแบบดิจิตัลรวมไปถึงข้อมูลเพื่อการอ้างอิงที่ถูกเรียกว่าข้อมูลบริการนั้น(Meta data) ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงด้วยข้อมูลเบื้องต้นที่หลากหลายเพื่อบ่งชี้ไปยังรายการที่สอดคล้องและเป็นเหตุเป็นผลกับข้อมูลนั้นๆแล้วแสดงออกมาเป็นข้อมูลภาษาที่มนุษย์อ่านออกได้สำหรับใช้เป็นการนำทางแบบอิเล็คทรอนิคส์ไปยังรายการที่ต้องการเท่ากับเป็นการสุ่มหาและกลั่นกรองแบบอัตโนมัติไปด้วย
Software platform
การใช้งานอุปกรณ์สื่อผสมภายในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ถูกกำหนดให้ใช้ภาษาจาวา (Java – based) สำหรับการควบคุมและสั่งการระบบอุปกรณ์วิดีโอที่ใช้งานตามบ้าน รวมไปถึงในข้อเพิ่มเติมทางหลักการสำหรับความคิดรวบยอดอันเกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อสำหรับการใช้งานด้านอื่นๆเช่น
การควบคุมอุปกรณ์ผ่านเครือข่าย การดาวโหลดข้อมูลและลำดับชั้นของภาพกราฟฟิก
เป็นต้น
DVB-T2
DVB-T2 เป็นคำย่อที่มีชื่อเต็มว่า (Digital Video Broadcasting – Second
Generation Terrestrial) และเป็นสิ่งที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานการออกอากาศระบบโทรทัศน์แบบดิจิตัลดั้งเดิมคือระบบ
DVB-T ระบบนี้ทำหน้าที่ในการ ส่งข้อมูล ภาพ
เสียงและข้อมูลอื่นๆทีถูกบีบอัดแล้วให้อยู่ในรูปแบบของวิธีการใช้ ”ท่อนำส่งข้อมูลที่อยู่ในระดับชั้นทางกายภาพ” (PLPs) ด้วยการใช้วิธีผสมสัญญานแบบ OFDM ร่วมกับการเชื่อมต่อของการเข้าระหัสช่องสัญญานและการทำให้ข้อมูลภาพและเสียงเหล่านั้นแยกออกจากกันเป็นข้อมูลภาพและเสียงของแต่ละช่อง ด้วยวิธีการเช่นนี้ทำให้มีอัตราการส่งข้อมูลได้สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการส่งข้อมูลของระบบ
DVB-T แบบดั้งเดิม ทำให้มันมีความเหมาะสมสำหรับเป็นระบบที่ใช้นำพาช่องสัญญานรายการโทรทัศน์ที่มีความคมชัดสูงแบบ
HDTV ด้วยการใช้คลื่นความถี่วิทยุชนิดแพร่กระจายทางภาคพื้นดิน
ในปัจจุบันระบบการออกอากาศแบบนี้ถูกใช้ในหลายประเทศแล้วเช่นประเทศอังกฤษ
อิตาลี สวีเดน เซอร์เบีย ยูเครน เดนมาร์คและประเทศในภาคพื้นทวีปอื่นๆอีกมากมาย ทั้งนี้ส่วนใหญ่แล้วมักจะทำการออกอากศทั้งในระบบที่มีความคมชัดปกติ
(SD) ควบคู่ไปกับระบบที่ให้ความคมชัดสูง (HD) ด้วยจำนวนหลายช่องพร้อมกัน สำหรับในประเทศไทยได้มีการกำหนดให้มีจำนวนช่องรวมทั้งหมด
42 ช่อง โดยมีช่องแบบความคมชัดสูง
7 ช่องส่วนที่เหลือจะเป็นแบบความคมชัดปกติ
ประวัติความเป็นมา
ในเดือนมีนาคมปี
2006 DVB ได้ตัดสินใจที่จะทำการศึกษาทางเลือกเพื่อการพัฒนาปรับปรุงมาตรฐานการออกอากาศทางภาคพื้นดินแบบดิจิตัลที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยมันถูกตั้งชื่อว่า DVB-T2 ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการทางภาคธุรกิจและการตลาดที่เรียกร้องหาเทคโนโลยีใหม่ๆ
ระบบนี้ได้เริ่มถูกแจกจ่ายออกมาให้เป็นที่รู้จักกันเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายนปี
2006 จากโครงการระยะแรกของระบบ DVB-T2 มันได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามันมีความเสถียรภาพสูง ทั้งต่อชนิดการรับชมประจำที่และต่อชนิดการรับชมด้วยเครื่องรับชนิดเคลื่อนย้ายพกพาได้ แต่ทว่าก็ยังไม่ถึงขนาดที่ว่าเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมากนักอันจำเป็นต้องมีสายอากาศชนิดพิเศษโดยเฉพาะ ต่อมาในโครงการระยะที่สองและสาม เป็นการศึกษาวิธีการนำส่งข้อมูลด้วยปริมาณที่มากขึ้นพร้อมไปกับเรื่องของการรับชมบนพาหนะที่เคลื่อนที่พร้อมด้วยสายอากาศชนิดใหม่ ด้วยระบบล่าสุดนี้สามารถเพิ่มอัตราการส่งข้อมูลได้มากกว่าระบบของ DVB-T แบบดั้งเดิมถึง 30 เปอร์เซ็นต์
คุณลักษณะทางเทคนิคของ DVB-T2
ระบบการออกอากาศแบบใหม่นี้ได้รับการยืนยันให้เป็นมาตรฐานอย่างเป็นทางการโดยคณะกรรมการของ
DVB เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ปี 2008 ต่อมาก็เป็นไปตามขั้นตอนกระบวนการมันถูกส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้รับการประกาศจากสถาบันมาตรฐานโทรคมนาคมสหภาพยุโรป
เมื่อวันที่ 9 เดือนกันยายนปี 2009 การตรวจสอบของหน่วยงานที่รับผิดชอบมีหลายระยะ
แต่เป็นเพียงเรื่องของการทำให้ข้อความตัวอักษรในเอกสารถูกต้องชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ภายหลังจากที่การกำหนดคุณลักษณะทางเทคนิคเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยและไม่ได้มีปัญหาใดต้องทำการปรับปรุงแก้ไขอีกต่อไป
หลังจากนั้นการออกแบบชิปสมองกลขนาดใหญ่ภายในตัวเครื่องรับก็เริ่มต้นขึ้นด้วยคุณสมบัติทางเทคนิคที่ไว้วางใจเชื่อถือได้
การทดสอบ
เครื่องรับสัญญานตัวต้นแบบได้นำออกแสดงเมื่อเดือนกันยายนปี
2008 ในงาน IBC และมีหลากหลายรุ่นมากยิ่งขึ้นในงานเดียวกันของปี
2009 โดยมีโรงงานผู้ผลิตจำนวนมากต่างนำออกมาแสดงและสาธิตการทำงาน
พอล่วงมาถึงปี 2012 บริษัทผู้ผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ต่างๆก็ได้ทำการติดตั้งภาครับสัญญานมาพร้อมในเครื่องรับโทรทัศน์ที่ผลิตออกมาด้วยเลย นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้องเช่นอุปกรณ์ผสมสัญญานและอุปกรณ์รับส่งข้อมูลเป็นต้น การทดสอบทำการออกอากาศรายการโทรทัศน์ด้วยเครื่องส่งแบบ
DVB-T2 เป็นครั้งแรกมีขึ้นในอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมิถุนายนปี
2008 โดยหน่วยงานวิจัยและพัฒนาของบริษัท
BBC ประเทศอังกฤษ ที่ได้ทำการพัฒนาและสร้างเครื่องอุปกรณ์ผสมสัญญานและถอดระหัสสัญญานต้นแบบขึ้นมา
ภายหลังจากนั้นอีกหลายประเทศในภาคพื้นของทวีปยุโรปได้ทยอยทำการทดสอบและถูกใช้ในการออกอากาศเรื่อยมา
การตลาดเป็นตัวตัดสิน
เมื่อระบบการออกอากาศด้วยคลื่นภาคพื้นดินเริ่มต้นให้บริการด้วยช่องที่มีความคมชัดสูงในระยะแรกนั้นในบางประเทศยังคงใช้ระบบออกอากาศแบบ
DVB-T ที่มีมาตรฐานอันเก่าดั้งเดิมอยู่ ด้วยไม่ได้มีแผนรองรับต่อการเปลี่ยนระบบการออกอากาศไปเป็นระบบ
DVB-T2 ทันทีทันใด
เช่นในประเทศฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ อิตาลี นอรเวย์
เดนมาร์ค และสเปน ประเทศเหล่านี้ยังคงใช้ระบบของ DVB-T แบบดั้งเดิมเพื่อใช้งานออกอากาศรายการโทรทัศน์แบบความคมชัดสูง(HDTV) แต่ก็ได้ทำการทยอยปรับเปลี่ยนระบบการออกอากาศเป็นแบบใหม่ ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่นี้ควบคู่กับระบบเดิมไปด้วย
เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่แม้ว่าจะนำเทคโนโลยีการออกอากาศแบบดิจิตัลมาใช้ ก็ยังคงจำเป็นต้องเปิดให้บริการออกอากาศรายการโทรทัศน์แบบแอนะลอกควบคู่กันไปก่อน จนกว่าจะยุติอย่างสิ้นเชิงภายในปี 2015
เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่แม้ว่าจะนำเทคโนโลยีการออกอากาศแบบดิจิตัลมาใช้ ก็ยังคงจำเป็นต้องเปิดให้บริการออกอากาศรายการโทรทัศน์แบบแอนะลอกควบคู่กันไปก่อน จนกว่าจะยุติอย่างสิ้นเชิงภายในปี 2015
DVB-S2
เป็นตัวย่อที่มาจากคำเต็มว่า “Digital Video Broadcasting-Satellite-Second
Generation” อันเป็นมาตรฐานของการออกอากาศรายการโทรทัศน์แบบดิจิตัลผ่านดาวเทียม ที่ได้รับการพัฒนามาจากระบบ DVB-S ดั้งเดิมที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมาก่อนแล้วนั่นเอง ระบบของ DVB-S2 นี้ถูกพัฒนาขึ้นในปี
2003 แล้วต่อมาก็ได้ผ่านการรับรองโดยหน่วยงานด้านโทรคมนาคมของสหภาพยุโรปเมื่อเดือนมีนาคมปี
2005 มาตรฐานนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานการออกอากาศผ่านดาวเทียมแบบดิจิตัลเดิมและประกอบเข้ากับระบบของการส่งข่าวสารผ่านดาวเทียมที่มีใช้กันอยู่ก่อนแล้ว
(DSNG) ระบบที่ว่านี้ถูกใช้โดยอุปกรณ์ส่งสัญญานภาพและเสียงชนิดเคลื่อนที่ได้ และตามปกติมักติดตั้งเอาไว้บนรถถ่ายทอดสัญญานผ่านดาวเทียมเพื่อส่งภาพและเสียงกลับมายังสถานีแม่ข่าย
ระบบการออกอากาศแบบ
DVB-S2 ถูกออกแบบมาเพื่อให้รองรับบริการออกอากาศรายการโทรทัศน์ทั้งชนิดความคมชัดตามปกติและชนิดความคมชัดสูง
(SDTV,HDTV) รวมไปถึงรูปแบบของการปฏิสัมพันธ์แบบเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ทและการแจกจ่ายข้อมูลเนื้อหา
การพัฒนามาตรฐานการออกอากาศแบบ DVB-S2 ถูกตัดสินด้วยการแนะนำระบบโทรทัศน์ชนิดความคมชัดสูงควบคู่ไปกับมาตรฐานการเข้าระหัสสัญญานวิดิโอแบบใหม่ที่มีชื่อเรียกว่า
H.264 (MPEG-4 AVC)
ปัจจัยใหม่สองประการที่ถูกเพิ่มเติมเข้าไปเมื่อเปรียบเทียบกับระบบการออกอากาศแบบมาตรฐานดั้งเดิม
ก็คือวิธีการเข้ารหัสที่ทันสมัยและลดขั้นตอนที่ซับซ้อนลงไป กับวิธีการผสมคลื่นสัญญานที่ยินยอมให้ใช้แถบย่านความถี่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยให้ตัวแปรการส่งสัญญานปรับเปลี่ยนได้ นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มอัตราของการเข้ารหัสและกลไกสำหรับการส่งผ่านข้อมูลแบบ
IP packet เข้าไปอีกด้วย
ระบบการออกอากาศแบบใหม่ของ
DVB-S2 นี้มีคุณสมบัติที่ดีกว่าระบบเดิมด้วยการยินยอมให้เพิ่มอัตราการส่งข้อมูลได้มากขึ้นในแถบช่องทรานสปอนเดอร์ของดาวเทียมดวงเดิม
ซึ่งเมื่อทำการวัดเปรียบเทียบกันกับระบบเดิมแล้วเพิ่มปริมาณข้อมูลขึ้นได้มากกว่าสามสิบเปอร์เซ็นต์ทั้งที่ใช้ดาวเทียมเดียวกันและกำลังส่งเท่าเดิม
ตารางเปรียบเทียบระหว่าง DVB-s กับ DVB-S2
DVB-S
|
DVB-S2
|
|
Input Interface
|
Single Transport Stream(TS)
|
Multiple Transport Stream and Generic Stream
Encapsulation(GSE)
|
Modes
|
Constant Coding & Modulation
|
Variable Coding & Modulation and
Adaptive Coding & Modulation
|
FEC
|
Reed Solomon(RS)1/2,2/3,3/4,5/6,7/8
|
LDPC+BCH1/4,1/3,2/5,1/2,3/5,2/3,3/4,4/5,
5/6,8/9,9/10
|
Modulation
|
Single Carrier QPSK
|
Single Carrier QPSK with Multiple Streams
|
Modulation
Schemes
|
QPSK,8QPSK,16QAM
|
QPSK,8QPSK,16APSK,32APSK
|
Pilots
|
Not Applicable
|
Pilot symbols
|
Interleaving
|
Bit-Interleaving
|
Bit-Interleaving
|
คราวหน้าจะมีวิธีการเข้าระหัสและบีบอัดข้อมูลของวิดีโอแบบใหม่ที่เป็น H.265 มาแนะนำครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น