การเลือกใช้กล้องวิดีโอตอนที่สอง
กล้องวิดีโอตอนที่2
Lens system
สิ่งสำคัญที่ประทับเอาไว้บนเลนส์เกือบทุกตัวจะมีอยู่สองสิ่งด้วยกันคือขนาดของทางยาวโฟกัส(focal
length)และขนาดของรูรับแสงตั้งแต่เล็กสุดไปจนถึงขนาดใหญ่สุด(aperture
or f-stop)
ขนาดของทางยาวโฟกัสหมายถึงวิธีการวัดของระบบการรับภาพจากระหว่างศูนย์กลางของเลนส์ไปยังตัวสร้างภาพ(image
sensor)ในตัวกล้องเมื่อเราปรับความคมชัดไว้ที่จุดไกลสุด(infinity)
โดยทั่วไปแล้วมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร(mm) สำหรับเลนส์ที่ถูกออกแบบให้มีทางยาวโฟกัสระยะทางไกลแล้วจะมีมุมการรับภาพแคบ(telephoto)
ภาพของวัตถุทีปรากฏจะดูใกล้กว่าปกติ
แต่เราจะมองเห็นแค่ภาพส่วนน้อยของฉากเท่านั้น ความชัดลึกและระยะทางจะดูเหมือนถูกบีบให้ไม่เป็นตามธรรมชาติ
ในกรณีของเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสั้น(wide-angle)จะแสดงภาพส่วนใหญ่ของทั้งฉาก
แต่ให้ความรู้สึกว่าวัตถุอยู่ห่างไกลออกไปและความชัดลึกกับระยะทางที่ขยายเพิ่มเกินกว่าปกติ
ทั้งนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นของเลนส์ดังกล่าวขึ้นอยู่กับทางยาวโฟกัสต่อขนาดของตัวรับภาพในกล้อง(image
sensor)
Prime lens and Zoom lens
Primary
lens หมายถึงเลนส์ชนิดที่มีทางยาวโฟกัสคงที่แต่สามารถปรับได้เฉพาะขนาดของรูรับแสงเท่านั้นเอาไว้เพื่อปรับปริมาณการรับแสงเพื่อให้ภาพมืดหรือสว่างตามต้องการ
ในส่วนของการปรับโฟกัสทำได้ด้วยการปรับวงแหวนที่กระบอกเลนส์เพื่อเลื่อนระยะจากตัวรับภาพของกล้อง
ถ้าหากว่าเราถ่ายภาพด้วยกล้องที่ใช้เลนส์แบบนี้ ในเวลาที่ต้องการถ่ายภาพในระยะใกล้หรือว่าไกลออกไปแล้วจำเป็นต้องเลื่อนระยะของกล้องให้สัมพันธ์กับภาพที่ต้องการ
สำหรับเลนส์ที่สามารถซูมได้นั้นทางยาวโฟกัสของเลนส์ปรับเปลี่ยนได้ มันยินยอมให้ผู้ใช้ทำการปรับขยายภาพวัตถุหรือหดเล็กลงได้โดยไม่ต้องทำการเคลื่อนย้ายกล้องเข้าใกล้หรือออกห่างจากวัตถุ
เลนส์ชนิดนี้ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกขนาดของภาพได้ตามย่านการซูมที่มี
ในกล้องถ่ายวิดีโอเกือบทุกประเภทมีเลนส์ประเภทซูมได้ติดมาให้เสมอ
ระบบของเลนส์ซูมจะทำหน้าที่ขยายภาพของวัตถุแล้วส่งต่อไปที่ตัวรับภาพของกล้องโดยที่ยังคงรักษาระยะห่างจากตัวรับภาพเอาไว้คงที่เสมอ
จากจำนวนของกล้องถ่ายวิดีโอประเภทใช้งานตามบ้านที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันนี้ซึ่งมีการรวมเอาการซูมภาพทั้งแบบ
optical zoom และ digital zoom เข้าไว้ด้วยกัน
เช่นมีการซูมด้วยเลนส์ 20 เท่าและยังมีการซูมแบบดิจิตัลได้อีก
100 เท่า ขึ้นอยู่กับคุณภาพและการออกแบบ
ระบบของการซูมด้วยเลนส์จะให้คุณภาพของภาพได้สูงโดยสอดคล้องกับย่านการซูมที่มีอยู่
ความคมชัดยังมีอยู่สูงสุดตลอดเวลา
ในขณะที่ระบบการซูมแบบดิจิตัลทำได้โดยวิธีการเลือกเอาส่วนที่เล็กของภาพเดิมมาทำการขยายให้ใหญ่ขึ้นย่อมทำให้ภาพที่ปรากฏบนจอลดความคมชัดลงไป
การออกแบบเลนส์ต้องเกี่ยวข้องกับรายละเอียดทางเทคนิคจำนวนมาก
ประกอบด้วยชิ้นส่วนขนาดเล็กจำนวนมาก ปัญหาที่ต้องแก้ไขจากการลดน้ำหนักในขณะที่ต้องการสมรรถนะสูงๆ
รวมไปถึงความเชื่อถือไว้วางใจได้ด้วยราคาที่สมเหตุผล
เหล่านี้ย่อมเป็นอุปสรรคที่โรงงานผู้ผลิตต้องเผชิญ
เมื่อผู้ใช้กล้องต้องการให้ได้ภาพใกล้ของวัตถุหรือตัดส่วนที่ไม่ต้องการออกจากกรอบภาพแล้ว
วิธีการอย่างง่ายที่สุดคือการซูมภาพเข้าไปมากกว่าที่จะเคลื่อนย้ายกล้อง
โดยเฉพาะขณะที่ใช้ขาตั้งกล้อง
ในอันที่จริงแล้วทุกคนทราบดีว่าอย่างไหนทำได้ง่ายกว่ากัน
แต่ทว่าอย่างไรก็ดีทางยาวโฟกัสไม่ได้มีหน้าที่เพียงกำหนดขนาดของภาพเท่านั้น
มันยังมีผลกระทบต่อปัจจัยอื่นตามมาดังนี้
-
เราต้องการให้ฉากที่ต้องการถ่ายมีความคมชัดลึกเพียงใด
ถ้าใช้เลนส์แบบเทเลโฟโต้ย่อมได้ภาพที่มีความชัดตื้น
-
เราต้องการให้มีภาพด้านหลังวัตถุที่ต้องการถ่ายปรากฏชัดหรือเปล่า
อันที่จริงแล้วมันมีผลกระทบทั้งด้านหน้าและด้านหลังวัตถุ
เพราะว่าการซูมกับการเคลื่อนกล้องย่อมมีผลกระทบต่อขนาดวัตถุในภาพต่างกัน
-
ถ้าใช้เลนส์แบบเทเลโฟโต้แล้วการปรับโฟกัสที่มีความชัดตื้นย่อมลำบากกว่าภาพของเลนส์ไวด์แองเกิ้ลที่ให้ภาพชัดลึกมากกว่า
-
การใช้เลนส์เทเลโฟโต้มีโอกาสได้ภาพสั่นไหวมากกว่า
-
ความแม่นยำของรูปทรงหรืออาจเกิดความผิดเพี้ยนทางเรขาคณิตอันเกิดจากการใช้เลนส์ซูมมากเกินขนาดย่อมทำให้ภาพที่ออกมาดูผิดความเป็นจริง
Aperture
เมื่อขนาดของรูรับแสงถูกเปิดมากสุด(ประมาณ f-stop 1.4)หมายถึงเลนส์ยอมให้แสงผ่านเข้าที่ตัวรับภาพมากที่สุด
ในทางกลับกันถ้าที่จำนวนของ f-stop มีค่าสูงเช่นมีค่าเป็น 22
หมายถึงว่าให้แสงผ่านเลนส์น้อยที่สุด จำไว้ว่า
“เลขน้อยเปิดมากเลขมากเปิดน้อย” เมื่อมีการปรับเปลี่ยนขนาดรูรับแสงจะมีสองสิ่งเกิดขึ้นพร้อมกันทันที
-
การเปลี่ยนขนาดรูรับแสงทำให้แสงผ่านไปที่จุดรับภาพมากหรือน้อยย่อมทำให้ภาพสว่างขึ้นหรือมืดลงไป
-
การเปลี่ยนขนาดรูรับแสงมีผลต่อความชัดลึกของภาพใดๆที่อยู่ใกล้และห่างไกลออกไปจากตำแหน่งที่โฟกัส
เรามีทางเลือกอยู่สามทางเมื่อทำการเลือกขนาดรูรับแสง
-
ทำการเลือกค่าของ f-stop ให้เหมาะสมกับสภาพของแสงเพื่อให้ภาพที่ออกมามีน้ำหนักและรายละเอียดของวัตถุชัดเจน
แต่ถ้ามีส่วนหนึ่งส่วนใดที่ยังมีแสงไม่เพียงพอก็สามารถเพิ่มเติมแสงสว่างเข้าไปช่วย
ในทำนองกลับกันถ้ามีส่วนที่แสงมากเกินก็ต้องทำการลดกำลังไฟหรือปรับลดหน้ากล้องลงแม้กระทั่งการเพิ่ม
ND filter ก็ได้
-
ทำการเลือกค่าของ
f-stop ตามความต้องการว่าให้ภาพมีความชัดลึกเท่าใด ทั้งนี้คนส่วนใหญ่มักกังวลเรื่องความสว่างของภาพจนละเลยและยอมรับว่าความชัดลึกจะเป็นเท่าใดก็ได้ อย่างไรก็ดีมันมีบางช่วงเวลาที่จำเป็นต้องคำนึงโดยเฉพาะในภาพที่ต้องถ่ายแบบใกล้ชิดมากๆ
หรือเมื่อไม่สามารถทำให้ภาพทั้งหมดมีจุดโฟกัสชัดเจนเท่ากันได้ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่าไม่มีความชัดลึกเพียงพอ
ดังนั้นจำเป็นต้องลดขนาดของรูรับแสงแล้วทำการเพิ่มปริมาณแสงสว่างให้มากขึ้น
หรือในบางครั้งผู้ใช้กล้องอาจต้องการให้มีความชัดตื้นก็สามารถทำในทางตรงข้ามกันเพื่อให้ได้ภาพออกมาตามต้องการ
-
การปรับค่าของรูรับแสงตามสถานการณ์
ในบางครั้งที่ผู้ใช้กล้องไม่สามารถควบคุมปริมาณของแสงในฉากได้หรืออาจเป็นกรณีที่จำเป็นต้องเคลื่อนกล้องไปรอบบริเวณที่มีสภาพแสงต่างกัน
ในสภาพเช่นนี้อาจมีทางเลือกน้อยมากต้องทำการปรับหน้ากล้องด้วยมือหรืออาจตั้งไว้ที่การปรับแบบอัตโนมัติแล้วยอมรับผลของความชัดลึกที่เกิดขึ้น
Image sensor
ประเภทของตัวรับภาพ(chips)ในกล้องมีผลเป็นอย่างมากถึงคุณภาพของภาพที่ได้รับจากกล้องไม่ว่าจะเป็นรายละเอียด
ข้อบกพร่องของภาพและข้อจำกัดที่มี
ตัวรับภาพมีหลายประเภทและขนาดที่แตกต่างกันไป
ตัวรับภาพเหล่านี้ประกอบด้วยจุดรับภาพเล็กๆที่เป็นอิสระต่อกันหลายแสนหรือหลายล้านจุด
(pixels or elements) แต่ละจุดจะสร้างประจุไฟฟ้าตามความเข้มของแสงสว่างที่ตกลงบนตัวมันทำให้มีผลเป็นรูปแบบของประจุไฟฟ้าโดยรวมที่ตอบสนองต่อแสงและเงาที่มาจากตัวเลนส์
ตัวรับภาพที่แตกต่างกันนี้มีทั้งข้อดีและข้อด้อยตามประเภทของมันคือ
ถ้าเป็นตัวรับภาพที่มีขนาดเศษหนึ่งส่วนสี่นิ้วแล้วจะมีราคาถูกแต่จะมีความคมชัดตลอดตั้งแต่ภาพใกล้สุดจนกระทั่งไกลสุด
หมายความว่าผู้ใช้กล้องมีข้อจำกัดเรื่องความสามารถในการสร้างสรรค์เพราะทุกอย่างถูกโฟกัสให้ชัดไปหมด
ในตัวรับภาพที่มีขนาดใหญ่กว่าแล้วผู้ใช้มีโอกาสที่จะเลือกให้โฟกัสที่วัตถุใดๆเพื่อให้มีการแยกแยะแต่ละวัตถุด้วยความชัดตื้นให้เห็นแตกต่างกันได้
และแน่นอนว่าตัวรับภาพที่มีขนาดใหญ่ย่อมแพงกว่ามากและจะพบบนกล้องประเภทมืออาชีพที่มีราคาสูงเท่านั้น
Sensitivity
กล้องถ่ายวิดีโอทุกระบบจำเป็นต้องใช้ปริมาณของแสงสว่างที่เหมาะสมเพื่อให้ได้สัญญาณภาพที่ดีมีความชัดเจน
สำหรับปริมาณของแสงสว่างที่ว่าจะต้องใช้เท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับการออกแบบและการปรับแต่งนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับว่าแสงในสภาวะแวดล้อมอีกด้วย
แต่ทว่าอย่างไรก็ดีถ้าแสงในสภาวะแวดล้อมไม่มีปริมาณเพียงพอสำหรับการถ่ายทำให้ได้ภาพที่ดีแล้ว
เรามีทางเลือกอยู่เพียงสองทางเท่านั้นคือทำการปรับแต่งตัวกล้องหรือไม่ก็ทำการปรับปรุงเรื่องของแสง
วิธีการเบื้องต้นที่ทำได้ง่ายที่สุดก็คือการเปิดรูรับแสงของเลนส์ให้กว้างขึ้นเพื่อให้มีปริมาณของแสงไปตกกระทบที่ตัวรับภาพมากขึ้น
แต่มันมีข้อจำกัดที่ขนาดของค่า f-stop ที่มีให้ และแน่นอนว่าค่าของความชัดลึกของภาพที่ได้ต้องลดลงตามไปด้วยทำให้การปรับโฟกัสภาพที่ต้องถ่ายอย่างใกล้ๆทำได้ยาก
ยังมีวิธีการอื่นที่พอทำได้ในกรณีที่ไม่สะดวกต่อการเพิ่มแสงสว่างให้มากขึ้น
ด้วยการปรับอัตราขยายของสัญญาณวิดีโอในตัวกล้องให้เพิ่มมากขึ้น(video gain) โดยถึงแม้ว่าตัวรับภาพยังได้รับปริมาณแสงที่ไม่พอเพียงก็ตามตัววงจรอิเล็คทรอนิคส์ก็จะทำการขยายสัญญาณภาพชดเชยขึ้นมาให้ได้ส่วนหนึ่ง
กล้องถ่ายวิดีโอส่วนใหญ่จะมีการปรับขยายสัญญาณภาพได้สองหรือสามตำแหน่ง
ตัวอย่างเช่นการปรับสัญญาณภาพเพิ่มขึ้น 6 dB จะเป็นการปรับอัตราขยายเพิ่มเป็นสองเท่าในขณะที่การปรับอัตราขยายขึ้น
12 dB เป็นการปรับอัตราการขยายให้เป็นสี่เท่า สำหรับการปรับให้เพิ่มอัตราขยายระดับหกดีบีในขณะที่ทำการถ่ายภาพด้วยปริมาณแสงต่ำยังได้คุณภาพที่พอรับได้แต่ถ้าเป็นการปรับไปที่สิบสองดีบีคุณภาพของสัญญาณภาพไม่ค่อยดีนัก
ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรปรับตั้งสวิทช์เอาไว้ที่ระดับต่ำที่สุดเท่าที่เป็นได้
เพราะว่ายิ่งเพิ่มอัตราขยายมากขึ้นเท่าใดก็จะเป็นการขยายสัญญาณรบกวนเพิ่มขึ้นตามไปด้วยเสมอ
Viewfinder
หมายถึงช่องมองภาพหรือว่าจอดูภาพที่ต้องการถ่ายทำ
ในแบบพื้นฐานทั่วไปแล้วมีสามประเภทสำหรับกล้องวิดีโอชนิด ENG / EFP และStudio camera แบบสุดท้ายเป็นชนิดจอแอลซีดีที่พับแนบกับตัวกล้องได้ที่ส่วนมากเป็นกล้องขนาดเล็กหรือใช้งานตามบ้าน
กล้องวิดีโอชนิดที่มีเครื่องบันทึกสัญญาณภาพในตัว(camcorder)มักใช้ช่องมองภาพแบบ ENG หรือ EFP ที่เป็นจอภาพขนาดเล็กประมาณ 1.5 นิ้ว
พร้อมด้วยเลนส์ขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นสำหรับให้ผู้ใช้กล้องมองโดยประกอบเข้ากับยางชนิดที่ยืดหยุ่นได้เมื่อใช้ดวงตาเพียงข้างเดียว
ดังนั้นแสงจากภายนอกจึงไม่เข้ามารบกวนภาพที่จอของตัววิวไฟน์เดอร์
กล้องบางแบบสามารถที่จะปรับตำแหน่งหรือทำการย้ายข้างตัววิวไฟน์เดอร์ให้เหมาะสมและสะดวกกับผู้ใช้ได้อีกด้วย
รวมกระทั่งการปรับมุมก้มและเงยสำหรับการใช้งานกล้องที่ระดับสูงหรือต่ำกว่าระดับของดวงตา
สำหรับการใช้งานกล้องในสตูดิโอนั้นจะมีมุมมองแบบคงที่หรือในบางครั้งก็จำเป็นต้องเคลื่อนกล้องไปทั้งด้านหน้าและหลังรวมไปถึงการเคลื่อนกล้องไปด้านข้างอีกด้วย
ทำให้จำเป็นต้องใช้จอภาพขนาดใหญ่กว่าชนิดขนาดเล็กที่อยู่ในช่องมองภาพแบบ ENG / EFP เนื่องจากทำการโฟกัสภาพได้ง่ายกว่ารวมทั้งมีความสบายตากว่าเมื่อใช้งานอย่างต่อเนื่อง
จอภาพแบบนี้มักมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า hooded ที่เป็นกรอบป้องกันแสงรบกวนติดไว้ที่รอบจอมาด้วย
จอภาพชนิด
LCD ขนาด 2.5 – 3.5 นิ้วที่พับเก็บได้เริ่มเป็นที่นิยมใช้กันมากขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากว่ามีน้ำหนักเบากระทัดลัด
เวลาพับเก็บแล้วแนบไปกับตัวกล้องแต่ทว่าเมื่อมีแสงตกกระทบลงบนจอภาพแล้วทำการโฟกัสภาพได้ลำบาก
ตัววิวไฟน์เดอร์จะมีปุ่มปรับคล้ายกับเคริ่องรับโทรทัศน์หรือจอมอนิเตอร์คือ
brightness contrast sharpness แต่ต้องจำไว้ว่าการปรับแต่งที่ตัววิวไฟน์เดอร์จะไม่มีผลกระทบใดเลยกับสัญญาณภาพที่ตัวกล้องสร้างขึ้นมา
ตัววิวไฟน์เดอร์ไม่เพียงแต่สามารถดูภาพที่กำลังถ่ายทำเท่านั้น
แต่มันสามารถเลือกดูภาพที่ถ่ายทำไปแล้วได้อีกด้วย
เพื่อจะได้ทำการตรวจสอบข้อผิดพลาดที่อาจเกิดจากช่างกล้องเองหรือตัวผู้แสดงรวมไปถึงความต่อเนื่องของเนื้อหาว่าถูกต้องเพียงใดและถ้ามีข้อผิดพลาดจะได้ถ่ายทำซ้ำทันที
Indicators
ถึงแม้ว่าเราจะทำการปรับตั้งกล้องเอาไว้ที่ตำแหน่งอัตโนมัติทุกประการก็ตาม
ผู้ใช้ก็ยังจำเป็นต้องติดตามข้อมูลการทำงานของมันอยู่ตลอดเวลาเช่นปริมาณของสื่อบันทึกที่เหลืออยู่
แบตเตอรี่ยังพอใช้งานได้อีกเท่าใด เป็นต้น ที่ตัวกล้องวิดีโอเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารและระบบเตือนชนิดต่างๆ
เข็มวัด จอแสดงผล หลอดไฟเตือน รวมไปถึงสวิทช์ที่บ่งชี้อยู่ในตำแหน่งต่างๆ
ระบบแสดงผลและการเตือนให้ทราบทั้งหมดนี้มีอยู่บนตัวกล้องแต่ทว่าเนื่องจากผู้ใช้มักจะมุ่งให้ความสนใจเฉพาะภาพบนจอมองภาพเกือบตลอดเวลาที่ถ่ายทำ
ดังนั้นระบบเตือนหลายอย่างจึงถูกนำมาไว้บริเวณของช่องมอภาพ
ระบบเตือนทั่วไปมีดังนี้
Back light exposure เป็นระบบที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการเปิดหน้ากล้องเพื่อควบคุมความสว่างของภาพที่เกิดจากสภาพแสงด้านหลังฉาก(backgrounds)
Gain
ปริมาณการปรับอัตราขยายของวงจรวิดีโอ
Tape warning แสดงเวลาของสื่อที่เหลือว่าบันทึกได้อีกกี่นาที
Low light level ปริมาณแสงที่ตกลงบนตัวรับภาพไม่เพียงพอทำให้ภาพมืดเกินไป
Shutter speed แสดงว่าอยู่ในสถานการณ์เลือกปรับความเร็วของการถ่ายทำ
Tally light ไฟสีแดงใช้เตือนว่ากล้องกำลังบันทึกอยู่ หรือในกรณีของการทำงานแบบหลายกล้องแสดงว่ากล้องนั้นกำลังออกอากาศอยู่
Time indicator แสดงเวลาที่ใช้บันทึกไปแล้วหรือเวลาที่คงเหลืออยู่
Power
กล้องวิดีโอทั่วไปใช้แหล่งจ่ายไฟชนิดแรงดันต่ำที่ได้จากแบตเตอรี่ขนาดเล็กที่อยู่บนตัวกล้องหรืออาจเป็นแบตเตอรี่ชนิดที่ใช้คาดเอวก็มี
การใช้งานทั่วไปมักมีจำนวนของแบตเตอรี่ไว้สำรองมากกว่าหนึ่งก้อน
ข้อควรระวังของการใช้งานที่สำคัญก็คือหลีกเลี่ยงการถอดแบตเตอรี่ออกขณะที่เปิดใช้งานอุปกรณ์อยู่
และในขณะที่ไม่ได้ใช้งานควรปิดกล้องหรือตั้งเอาไว้ที่ตำแหน่ง standby เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน
ควรจำไว้ว่าระบบทุกอย่างบนตัวกล้องจำเป็นต้องใช้พลังงานทั้งนั้น
ดังนั้นเมื่อเตรียมการถ่ายทำ การถ่ายซ่อม การชมสิ่งที่ถ่ายทำไปแล้ว
เป็นการใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ตลอดเวลาจึงจำเป็นต้องประจุไฟของแบตเตอรี่สำรองเอาไว้ให้เต็มเสมอ
คราวหน้าเป็นเรื่องของการตัดต่อครับผม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น