การบริหารจัดการสื่อโทรทัศน์ชนิดแฟ้มข้อมูล (File-Based Workflows in Television)

การบริหารจัดการสื่อโทรทัศน์ชนิดแฟ้มข้อมูล

(File-based Workflows in Television)

  เหตุผลและความจำเป็น
        อุตสาหกรรมโทรทัศน์มีความพัฒนาและเปลี่ยนแปลงจากในอดีตเป็นอันมาก เช่นจากแอนะลอกเป็นดิจิตอล ระบบอินเตอร์เน็ททีวี ระบบความคมชัดสูง ระบบภาพสามมิติ ประกอบกับการขยายตัวเพิ่มขึ้นของสื่อสังคมทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการเสพย์เนื้อหามากขึ้น ในทุกสถานที่และโอกาสรวมไปถึงด้วยอุปกรณ์ที่หลากหลายมากขึ้นยิ่งกว่าในอดีตที่ผ่านมา
        นี่คือความท้าทายอย่างสำคัญสำหรับผู้ประกอบธุรกิจแพร่กระจายคลื่นและออกอากาศรายการโทรทัศน์ พวกเขาจำเป็นต้องเผชิญกับการเตรียมการและนำเอาเนื้อหาออกอากาศให้รวดเร็วกว่าเดิมในหลากหลายช่องทางมากขึ้น และสิ่งที่ท้าทายที่สุดก็คือการทำให้เนื้อหานั้นๆเหมาะสมที่สุด คำว่าเนื้อหาคือพระเจ้า (content is king) นั้นคือความจริงอย่างไม่ต้องสงสัยและโต้แย้งได้เลย แต่ทว่าผู้เชี่ยวชาญทางอุตสาหกรรมเทคโนโลยีได้ยืนยันว่าอุปกรณ์หรือการนำไปใช้งานคือพระเจ้า อย่างไรก็ดีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทั้งหมดทั้งปวงก่อให้เกิดทั้งตัวของเนื้อหาและการนำเสนอเนื้อหาด้วยช่องทางใหม่ๆ

        ความต้องการของผู้บริโภคสื่อคือการเข้าถึงเนื้อหาของข่าวสาร บันเทิงและกีฬาด้วยความรวดเร็วไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ที่ใดๆก็ตาม นั่นหมายความว่าพวกเขาเหล่านั้นติดตามและบริโภคเนื้อหาจากสื่อต่างๆในหลายช่องทางด้วยอุปกรณ์หลายชนิดเช่นจากเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องคอมพิวเตอร์ สมาร์โฟนหรืออุปกรณ์พกพาประเภทแทปเล็ท ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชนิดมีการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายที่แตกต่างกันด้วย เช่นผ่านสายเคเบิ้ล สายโทรศัพท์ WiFi  3G , 4G 
นอกจากมีจำนวนช่องรายการและเครื่องมือรับสื่อที่หลากหลายแล้ว  ผู้ให้บริการสื่อยังจำเป็นต้องแข่งขันกันเรื่องแหล่งของเนื้อหาทางเลือกอื่นๆ ประเภทโซเชียลเน็ตเวอร์ค เช่น facebook  youtube  ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถผลิตเนื้อหาได้เองด้วยทางเลือกที่แปรเปลี่ยนตามความคาดหวัง คุณภาพ ความแม่นยำ ความเชื่อถือ สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นความท้าทายของผู้ใช้ที่สามารถเป็นผู้รายงานข่าวหรือว่าสร้างสรรค์เนื้อหาด้วยเทคโนโลยีใกล้ตัวและมันคือปฏิบัติการทางวัฒนธรรมไปแล้ว
        เพื่อเป็นการสนองตอบความต้องการผู้ประกอบธุรกิจแพร่กระจายข่าวสารที่ต้องการเทคโนโลยีใหม่ๆอันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ระบบบริหารจัดการสื่อโทรทัศน์ในปัจจุบันสามารถนำมาหลอมรวมและเป็นไปอย่างอัตโนมัติจึงได้ถูกนำมาใช้  ด้วยการพัฒนาระบบประสานและเชื่อมต่อโปรแกรมประยุกต์ (application program interface) ทำให้สามารถหลอมรวมการสั่งการอุปกรณ์ต่างๆเข้าด้วยกันได้  ตัวอย่างเช่นในขณะที่เครื่องเซิฟเวอร์กำลังนำเข้าเนื้อหาอยู่นั้นมันก็สามารถสร้างข้อมูลชนิดที่มีรายละเอียดภาพน้อยกว่าประเภท low-resolution ไปเกือบจะทันทีด้วย และด้วยข้อมูลที่เป็นตัวแทน (proxy file) ชนิดนี้ก็สามารถชมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือว่านำไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงการตัดต่อได้ (ในขณะที่ข้อมูลกำลังถูกบันทึกอยู่) และยังสามารถกำหนดระบุข้อมูลอ้างอิงประกอบไปด้วย (metadata) ด้วยความสามารถที่จะหลอมรวมการทำงานทุกด้านของการบริหารจัดการ ตั้งแต่การบันทึกไปจนกระทั่งนำไปออกอากาศที่จำเป็นต้องแข่งขันกันกระทำได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

การบริหารจัดการข้อมูล
           จากในอดีตที่ผ่านมาการบริหารจัดการสื่อในสถานีโทรทัศน์เป็นเรื่องที่ยุ่งยากและมีความซับซ้อนมาก   และมีประสิทธิภาพแค่ปานกลางเท่านั้น ในขณะที่การนำเสนอระบบการทำงานโดยปราศจากเทปเมื่อสิบกว่าปีที่แล้วได้ก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ประกอบการเกี่ยวกับกระบวนการทำงานเป็นอย่างมาก จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาด้วยแรงผลักดันจากภายนอกก่อให้เกิดแนวคิดรูปแบบทางธุรกิจใหม่ขึ้นมา พวกเขาได้มีแนวคิดของกลยุทธ์การสร้างรายได้ทางเลือกขึ้นมา พวกเขาพิจารณา ระบบปฏิบัติการภายในเพื่อมองหาทางออกในการลดต้นทุนและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
         ในขณะเดียวกันผู้ให้บริการแพร่สัณญาญโทรทัศน์ยังคงมุ่งเน้นไปที่การถ่ายทอดข่าวสด การถ่ายทอดกีฬา หรือการผลิตรายการบันเทิง โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่ยังต้องมีการประเมินตามกฎเกณฑ์ของมนุษยชาติและความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีด้วย ผลก็คือก่อให้เกิดการบริหารจัดการที่กระทัดรัดปราดเปรียวและรองรับความจำเป็นและเงื่อนไขอื่นๆ เช่นการกระจายสัณญานแบบหลายช่องทาง (multi channel distribution) ระบบวิดีโอตามต้องการ (video on demand) ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ทและการนำส่งเนื้อหาอื่นๆได้
         ความสำคัญเป็นลำดับแรกของการบริหารจัดการก็คือการบริหารจัดการข้อมูลเนื้อหาของสื่อ ที่หมายถึงการบริหารจัดการตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งท้ายที่สุด ตั้งแต่กระบวนการนำเข้าเนื้อหาสื่อจนกระทั่งนำไปออกอากาศ  ในที่ใดๆก็ตามที่ข้อมูลสื่อแบบดิจิตัลถูกบรรจุอยู่ในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลใดๆ (ไม่ใช่ม้วนเทปดิจิตัลวิดีโอที่บันทึกข้อมูลแบบดิจิตัลเท่านั้น) การบริหารจัดการข้อมูลสื่อเป็นจำนวนมากๆย่อมเป็นการท้าทายมากกว่าการจัดการเชิงเทคนิคตามธรรมชาติ  ข้อจำกัดที่กีดขวางในเบื้องต้นก่อนที่จะได้รับโครงสร้างพื้นฐานของระบบนี้และสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากมันก็คือบุคคลากรและกระบวนการบริหารจัดการ
         องค์กรผู้ให้บริการแพร่กระจายเนื้อหาจำเป็นต้องใช้บุคคลากรนับร้อยที่มีทักษะเฉพาะในแต่ละส่วนของการบริหารจัดการย่อยเหล่านั้น การนำเอาวิธีการบริหารจัดการสื่อโทรทัศน์ชนิดแฟ้มข้อมูลมาใช้ย่อมเปิดโอกาสให้องค์กรนั้นๆเพิ่มพูนประสิทธิภาพ  เพิ่มความยืดหยุ่นในการสร้างสรรค์เนื้อหาสำหรับหลายช่องทางไปพร้อมกันได้ และยังมุ่งเน้นไปที่การก่อให้เกิดรูปแบบทางธุรกิจใหม่ๆด้วยจำนวนบุคคลากรเท่าเดิมแต่มีศักยภาพมากขึ้น
         ผลประโยชน์ของการทำงานแบบนี้ที่เห็นได้ในเบื้องต้นคือการหลอมรวมเอาผู้ใช้งานทั้งหมดไว้ด้วยกันให้ทำงานแต่ละภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ผู้ที่ใช้งานเหล่านี้ตั้งแต่ผู้รายงานข่าวนอกสถานที่  เจ้าหน้าที่ตัดต่อ  เจ้าหน้าที่กราฟฟิก  ผู้ผลิตและผู้กำกับรายการ  ในแต่ละส่วนย่อยเหล่านี้ให้สามารถเข้าถึงกระบวนการทำงานที่เคยตัดคล่อมกันและติดขัดในอดีตได้ทั่วถึงทุกจุด  การเปิดช่องทางให้เจ้าหน้าที่ได้เข้าถึงเนื้อหาเพื่อยกระดับของทรัพยากรนั้นเกื่ยวข้องกับเรื่องที่ว่าผู้ใช้งานคนไหนสามารถเข้าถึงเนื้อหารายการได้หรือไม่และทำไมถึงจำเป็นต้องเข้าถึงด้วย  อย่างไรก็ดีประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นเกิดจากความยากง่ายของการเข้าถึงทรัพยากรที่เป็นศูนย์กลางของทั้งกระบวนการผลิตรายการและเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆที่มีน้ำหนักพอด้วย   ประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานจะเกื่ยวข้องโดยตรงกับกฎกติกาของการบริหารและระบบความปลอดภัยของเครือข่าย
          การบริหารจัดการจะควบคุมการเข้าถึงเนื้อหาเพื่อ การอ่าน การเขียน การสำเนา การตัดต่อ การจัดเก็บเนื้อหารายการอันเป็นสินทรัพย์ขององค์กร ความสามารถของระบบที่มีทั้งข้อมูลที่เป็น high-resolution & proxy file ทำให้ลดความต้องการสำเนาและเคลื่อนย้ายข้อมูลขนาดใหญ่ลงได้ การบริหารจัดการเพื่อจัดเก็บข้อมูลจะช่วยตัดสินใจเรื่องสถานที่ของสินทรัพย์ว่าควรเก็บไว้ที่ใด เช่น online  near-line  offline และการควบคุมถึงรุ่น (version) และรูปแบบของเนื้อหา (format) ที่เป็นสินทรัพย์นั้น  ระบบของถังข้อมูลกลางที่สามารถแบ่งปันข้อมูลกันได้จะช่วยเพิ่มพูนความยืดหยุ่นในการทำงานและเท่ากับเป็นการลดเวลาในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างการนำไปใช้งานให้กับผู้เข้าถึงการใช้เพื่อการตัดต่อ  การสร้างสรรค์เนื้อหา  การกำหนดระบุเพื่อตรวจสอบรายการ  ทั้งหมดนี้ย่อมขึ้นอยู่กับความยากง่ายของการเข้าถึงเนื้อหาและการตรวจสอบอย่างทันเวลาตามที่กำหนดในกระบวนการทำงาน
         ในมุมมองของข้อมูลแบบดิจิตัลแล้วผู้ให้บริการแพร่กระจายเนื้อหารายการในปัจจุบัน สามารถทำให้ผู้บริโภคสามารถรับชมรายการในทุกช่องทางใดๆได้พร้อมกันไม่ว่าจะเป็นผ่านระบบสายอากาศ  เคเบิ้ล  อินเตอร์เน็ท  เครือข่ายโทรศัพท์ ไปยังอุปกรณ์ปลายทางที่หลากหลายได้ เช่น ทีวี คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน ทั้งนี้ด้วยการกำหนดให้กระบวนการบริหารจัดการสื่อผลิตเนื้อหาในหลายรูปแบบพร้อมกันเพื่อลดต้นทุนในการนำเอามาผลิตเนื้อหาซ้ำอีก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การถ่ายทอดสดนอกสถานที่(Outside Broadcasting)

Automation solution